Jitta Wealth Journal - ลดวงเงิน QE ค่าเงินบาทจะแข็งหรืออ่อน

9 พฤศจิกายน 2564Jitta WealthJitta Wealth Journal

Microsoft Alibaba Tencent ลงสนาม Metaverse

Jitta Wealth Journal ฉบับที่ 50 ประจำวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 มีประเด็นข่าวสารและสถานการณ์การลงทุนที่ทีมงานรวบรวมมาอัปเดต ดังนี้

  • รับมือค่าเงินบาทผันผวน…ส่งท้ายปี
  • หุ้นเทคทั่วโลกเริ่มเคลื่อนไหว เร่งพัฒนา Metaverse
  • Pfizer เปิดตัวยาเม็ด Paxlovid รักษา Covid-19
  • อังกฤษรับรองยา Molunpiravir ของ Merck 
  • Elon Musk เตรียมขายหุ้น Tesla สัดส่วน 10%
  • Airbnb กำไรไตรมาสที่ 3 พุ่งขึ้น 280%
  • มูลค่าตลาดคลาวด์ทั่วโลกเฉียด 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2569
  • สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางจะลดต้นทุนธุรกรรมการเงินทั่วโลก
  • รัฐบาลอินเดียลดภาษีน้ำมัน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปี
  • จีนเร่ง RCEP สยายปีก ดันเศรษฐกิจใหญ่ 1 ใน 3 โลก

ไปติดตามกันได้เลย


Jitta Wealth

Thematic Optimize พร้อมให้ลงทุนแล้ววันนี้

ไม่รู้จะลงทุนกับธีมเมกะเทรนด์ไหนดี วางใจ AI ช่วยจัดการ 

#เลือกให้ถูก Thematic Optimize เลือกให้

ครั้งแรกในประเทศไทย AI ช่วยจัดพอร์ตด้วยเมกะเทรนด์น่าลงทุน
ทดสอบผลตอบแทนย้อนหลังสูงถึง 25%* ต่อปี

เปิดพอร์ต Thematic Optimize

*ผลตอบแทนทบต้นจากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 – 31 สิงหาคม 2564


รับมือค่าเงินบาทผันผวน…ส่งท้ายปี

สัปดาห์ที่แล้ว ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีความชัดเจนเรื่องไทม์ไลน์ลดวงเงิน QE หลังการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) โดยมีมติลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรและตราสารหนี้ เดือนละ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เดิม Fed ใช้วงเงินใน QE (มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ) อยู่ที่เดือนละ 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เดือนละ 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) เดือนละ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนมติใหม่ ได้แก่

  • เดือนพฤศจิกายน Fed จะลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างน้อยเดือนละ 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และตราสารหนี้ MBS อย่างน้อยเดือนละ 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป Fed จะลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างน้อยเดือนละ 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และถือครองตราสารหนี้ MBS อย่างน้อยเดือนละ 30,000 หมื่นล้านดอลลาร์

Fed คาดว่า จะยุติมาตรการ QE โดยสิ้นเชิงในกลางปี 2565 ให้เหตุผลว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความคืบหน้าอย่างมาก นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 แต่จะไม่ได้ดำเนินการอย่างตายตัว ปรับให้เข้ากับสถานการณ์และความจำเป็น

ส่วนทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของ Fed จะยังคงไว้ที่ 0.00-0.25% ไปจนกว่าภาวะตลาดแรงงานในสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะปกติ และตัวเลขเงินเฟ้อแตะระดับ 2% โดย Fed ใช้ดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (Core Personal Consumption Expenditure – PCE)

นี่คือ จุดเริ่มต้นของนโยบายการเงินตึงตัว หลังวิกฤต Covid-19 ที่ไม่มีความจำเป็นต้องอัดฉีดเม็ดเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจผ่านตลาดเงินตลาดทุน ปฏิกิริยาระยะสั้นที่เกิดขึ้น คือ ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกอยู่ในแดนบวก ส่วนผลตอบแทนพันธบัตรทั่วโลกปรับตัวลดลง หลังจากเห็นว่า ธนาคารกลางทั่วโลกยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย

ส่วนค่าเงินบาทในระยะนี้ จะมีความผันผวน สัปดาห์นี้ กูรูธนาคารพาณิชย์ไทย ทั้งธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารกรุงไทย มีแนวโน้มแข็งค่าในช่วง 33.00-33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไรระยะสั้นของทองคำ และการแข็งค่าตามสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค

แต่ค่าเงินบาทมีการซื้อขายอยู่ตลอดเวลา ผ่านการนำเข้าและส่งออก ฟากฝั่งผู้นำเข้ายังรอซื้อดอลลาร์สหรัฐตอนแข็งค่า ส่วนผู้ส่งออกก็รอซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐตอนอ่อนค่า ดังนั้นความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานในตลาด

นอกจากนี้ตลาดเงินตลาดทุนไทยอิงกับกระแสเงินทุนไหลเข้าผ่านตราสารหนี้และหุ้น เมื่อไทม์ไลน์ลดวงเงิน QE เริ่มชัดเจนขึ้น เม็ดเงินมีแนวโน้มไหลกลับไปประเทศต้นทางที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นกำลังฟื้นตัว มากกว่าตลาดหุ้นเกิดใหม่

แม้ว่าในระยะสั้นๆ 1-2 สัปดาห์ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า เมื่อปริมาณเม็ดเงินสะท้อนต่อมาตรการ QE จริงๆ ค่าเงินบาทอาจจะอ่อนค่า หรือผันผวนได้

สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ หากคุณพร้อมแล้ว สามารถเริ่มต้นลงทุนได้เลย เพราะการจับจังหวะเพื่อรอค่าเงินบาทแข็งต่อไป คุณอาจจะต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ถ้าไม่มั่นใจ ทยอยลงทุน แบ่งเงินเป็นก้อนๆ ได้

สำหรับสถานการณ์ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีผลต่อ Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ และหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ รวมไปถึง Thematic และ Global ETF วงรอบการลงทุนอยู่ในช่วงการฟื้นตัวจากวิกฤต และจะเป็นขาขึ้นไปอีก เพราะบริษัทส่วนใหญ่ ได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจที่เติบโตได้ดี

ตามสถิติ…ลงทุนช่วงหลังวิกฤต ผลตอบแทนจากพอร์ตจะเติบโตดี หากยังไม่เริ่ม…อาจจะเสียโอกาส


Jitta Wealth

‘Cloud Computing’ เมกะเทรนด์ที่กำลังดิสรัปผู้คนทั่วโลก 

‘Cloud Computing’ ถือเป็นเมกะเทรนด์ที่มีอิทธิพลต่อโลก และเบื้องหลังความสำเร็จของ Digital Disruption มาทำความเข้าใจถึงการเติบโตของเทคโนโลยีคลาวด์ และโอกาสในการลงทุนไปพร้อมกัน 

อ่านต่อ 


Jitta Wealth

ชี้เป้า 10 หุ้นเมกะเทรนด์ ‘Cloud Computing’ ที่น่าสนใจ

เมื่อคุณเห็นภาพแล้วว่า ‘Cloud Computing’ จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ได้อย่างไร สนใจที่จะลงทุน อยากรู้จักหุ้นธีมคลาวด์มากขึ้น Jitta Wealth ขอชี้เป้า 10 บริษัทคลาวด์ที่น่าสนใจใน WisdomTree Cloud Computing Fund (WCLD)

อ่านต่อ


หุ้นเทคทั่วโลกเริ่มเคลื่อนไหว เร่งพัฒนา Metaverse 

บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั่วโลก เตรียมเร่งเครื่องพัฒนา ‘ว่าที่เมกะเทรนด์’ อย่าง Metaverse ออกมาแข่งกัน โดยเริ่มจากบิ๊กเทคจีน ได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Metaverse เป็นจำนวนมาก 

บิ๊กเทคจีน ประกอบไปด้วย Baidu NetEase Alibaba และ Tencent เริ่มวางทิศทางบริษัท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี Metaverse ให้ออกมาแข่งกับทางสหรัฐฯ ให้เร็วที่สุด และเข้าถึงผู้ใช้งานได้มากที่สุดด้วย 

แต่ทางการจีนยังมีความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยี Metaverse ว่าอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ทำให้บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องออกแบบเทคโนโลยี ให้สอดคล้องต่อกฎข้อบังคับของจีนด้วย และเป็นไปได้ว่า เทคโนโลยี Metaverse จะจำกัดแค่เพียงผู้ใช้ชาวจีนเท่านั้น

นอกจากนี้บิ๊กเทคของสหรัฐฯ รวมไปถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกมอย่าง บริษัท Microsoft บริษัท Roblox บริษัท Unity Software และบริษัท Nvidia เริ่มออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเทคโนโลยี Metaverse แล้วเช่นเดียวกัน 

Microsoft เปิดตัวแรงและมีภาษีที่ดีใน Metaverse เพราะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อย่าง Xbox และเกมชื่อดังอย่าง Minecraft ที่สามารถนำมาปรับให้ตรงกับคอนเซ็ปต์ Metaverse โดยทางบริษัทมีเป้าหมายจะสร้าง ‘Metaverse ขององค์กร’ ที่เชื่อมโยงผู้คนให้เข้าถึงกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น 

Microsoft ได้ประกาศเปิดตัว Dynamics 365 Connected Spaces ซึ่งมีกำหนดการแสดงตัวอย่างครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2564 และจะช่วยให้องค์กรหลายแห่ง สามารถรวม Metaverse และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้อย่างสะดวก

ตัวผลิตภัณฑ์ Spaces จะเหมาะกับสภาพแวดล้อมการทำงานในทุกธุรกิจ และใช้งานง่ายสามารถเข้าถึงได้ทุกคน นอกจากนี้ Microsoft ยังตั้งเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมเกมให้ก้าวไปอีกขั้น ด้วยเทคโนโลยี Metaverse ซึ่งจะปรับมาใช้กับเกมต่างๆ ทำให้ผู้เล่นได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ในอนาคต

บริษัททางฝั่งญี่ปุ่นอย่าง Sony ได้ลงทุนเพิ่มอีก 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับบริษัท Epic Games เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อผู้เล่นในเกมต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คาดการณ์ว่าเป็น Metaverse ที่บริษัท Epic Games กำลังซุ่มพัฒนาอย่างลับๆ อยู่นั่นเอง 

จากการเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Facebook เป็น Meta Platforms และกระแส Metaverse ที่เป็นที่พูดถึงกันทั่วโลกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาหุ้น Facebook ปรับตัวเพิ่มขึ้น สร้างบิ๊กอิมแพ็กให้ทั่วโลกหันมาสนใจกับเทคโนโลยี Metaverse ที่อาจกลายมาเป็นเมกะเทรนด์ของโลกในอนาคต

อุตสาหกรรมเกมและ Metaverse มีความเกี่ยวข้องกันมาก เพราะหลายๆ บริษัทเกมตั้งเป้าว่า จะสร้างโลกเสมือนจริงให้สำเร็จ ในอนาคต Metaverse จะช่วยให้ผู้เล่นได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่มากขึ้น 

หากคุณสนใจใน Metaverse ธีมเกมและอีสปอร์ตในกองทุนส่วนบุคคล Thematic  เป็นทางเลือกที่ดี คุณสามารถเลือกลงทุนจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงได้สูงสุด 5 ธีม ผ่าน Thematic DIY จัดพอร์ตร่วมกับธีมตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้ เพราะหุ้นเมกะแคปในธีมเป็นบิ๊กเทคทั้งนั้น

หากต้องการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ โดยตรง คุณลงทุนได้ผ่าน Jitta Ranking ที่ใช้ AI คัดเลือกหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ที่มีโอกาสเติบโตระยะยาว บริษัทเหล่านี้ ไม่มองข้ามเทคโนโลยี Metaverse อย่างแน่นอน ถ้าเห็นภาพแล้วว่า…มันคือเมกะเทรนด์


เช็กลิสต์ 5 คุณสมบัติที่นักลงทุน Thematic DIY ควรมี 

นักลงทุนที่มีพอร์ต Thematic DIY อยู่แล้ว ผลตอบแทนยังดีอยู่ แต่ยังลังเลว่า 

ควรเปลี่ยนเป็น Thematic Optimize ดีหรือไม่  มาร่วมเช็กลิสต์ 5 คุณสมบัติที่นักลงทุน Thematic ควรมีก่อนตัดสินใจ 

อ่านต่อ 


Jitta Wealth

ศึกคนชน AI : Thematic DIY vs Thematic Optimize 

ระหว่าง Thematic DIY คุณเลือกธีมเอง กับ Thematic Optimize ใช้ AI เลือกธีมให้ เมื่อลงทุนจริงแล้วอะไรจะเกิดขึ้น ใครจะชนะใคร เพจ Fun Manager ได้ทำซีรีส์จัดพอร์ตท้าชน มนุษย์ กับ AI ตอนแรกให้คุณได้ติดตามกัน 

อ่านต่อ 


Jitta Wealth

ลงทุนให้ลูก ไม่ยากอย่างที่คิด

วันอังคารที่แล้ว คุณตราวุทธิ์ได้มีโอกาสพูดคุยเกี่ยวกับการลงทุนให้ลูกกับคุณเฟิร์น เจ้าของเพจลงทุนมัม ใครที่มีลูก และอยากเริ่มต้นลงทุน เพื่อเป็นต้นทุนชีวิตให้เขา ไม่มีคำว่าสาย ลองฟังมุมมองจากคุณตราวุทธิ์ พร้อมส่องพอร์ตลงทุนของน้องไอวี่และน้องมิล่า

ดู Live ย้อนหลัง


เทรนด์การลงทุนด้วย AI ตัวช่วยลงทุน สร้างพอร์ตแกร่ง

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามามีบทบาทในโลกของการลงทุน AI จะเลือกสินทรัพย์จากอัลกอริทึมที่มนุษย์พัฒนาขึ้นมา กลายเป็น Machine Learning ที่สามารถเรียนรู้และปรับปรุงให้มีความแม่นยำมากขึ้น เพื่อลดงานของมนุษย์นั่นเอง 

อ่านต่อ


สรุปสถานการณ์รอบโลก 

📌 Pfizer เปิดตัวยา Paxlovid ช่วยลดอัตราการเข้าโรงพยาบาล และเสียชีวิตจาก Covid-19 ได้เกือบ 90% จากการทดลองในผู้ใหญ่จำนวน 775 คน ผลปรากฎว่า มีผู้ป่วยที่กินยาน้อยกว่า 1% ที่ยังต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และไม่มีใครเสียชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว

หากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแลระหว่างประเทศอนุมัติให้ใช้ยา Paxlovid ก่อนยา Molnupiravir ของ Merck ที่พัฒนามาก่อน จะผลให้ Pfizer เป็นม้ามืดที่ช่วยเปลี่ยนแนวทางการรักษา Covid-19 ซึ่งหากดูจากประสิทธิภาพยา Paxlovid มีตัวเลขการทดลองที่ดีกว่า Molnupiravir สูงมาก

จากข่าวดังกล่าวทำให้หุ้น Pfizer พุ่งขึ้นถึง 10.13% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนหุ้น Merck Moderna และ BioNTech ตกลงมาเกือบ 30% ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะเมื่อมียาเม็ดชนิดรับประทานออกมาใหม่ มักจะส่งผลต่อราคาหุ้นที่ผลิตยาและวัคซีนในมีอยู่ในตลาด

📌 ยาเม็ดรักษา Covid-19 ของ Merck ได้รับการรับรองจากสหราชอาณาจักรเป็นแห่งแรกของโลก เพื่อใช้รักษากับประชาชนในประเทศ ขณะที่ยังอยู่ในกระบวนการยื่นขอรับรองจาก FDA ในสหรัฐฯ

ยา Molunpiravir ของ Merck ได้รับการทดลองแล้วว่าสามารถลดอาการป่วยจาก Covid-19 ได้โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยโรคอ้วน ผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เพื่อไม่ให้เกิดอาการป่วยที่รุนแรง 

หลายเดือนที่ผ่านมา มีข่าวดีเกี่ยวกับทางออกและการป้องกัน Covid-19 มาให้อัปเดตอยู่ตลอด โดยเฉพาะยารักษาและวัคซีนป้องกัน ก่อให้เกิดการแข่งขันด้านงานวิจัยและพัฒนา หนุนอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์และจีโนมิกส์ 

เมื่อโลกสามารถจัดการกับ Covid-19 ได้ ในอนาคตผู้คนจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ไม่ว่าจะเป็นยาหรือวัคซีน ล้วนมีความสำคัญ และเป็นที่ต้องการจากทั่วโลก นี่คือศักยภาพการเติบโตที่แท้จริงของธีมเฮลท์แคร์และจีโนมิกส์ 

📌 Elon Musk ทำโพลล์ใน Twitter ในหัวข้อ จะขายหุ้น Tesla ในสัดส่วน 10% ของตัวเองดีไหม? โดยเขาให้สัญญาว่า จะทำตามผลของโพลล์ ซึ่งผลโหวตคือ Musk ต้องขายหุ้น Tesla ตามที่ลั่นวาจาไว้

เหตุผลที่ CEO ของ Tesla ต้องการจะขายหุ้นสัดส่วน 10% เพราะต้องการจะจ่ายภาษี แต่เขาไม่ได้รับเงินเดือนและโบนัสจากบริษัท มีแต่หุ้น Tesla ที่เป็นค่าตอบแทนเท่านั้น จึงจำเป็นต้องขายหุ้น เพื่อนำเงินส่วนนั้นมาจ่ายภาษี

Musk ถือครองหุ้น Tesla ทั้งสิ้น 170.5 ล้านหุ้น หากเขาขายหุ้นไปในสัดส่วน 10% จะทำให้ได้เงินมาประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีผู้ใช้งาน Twitter กว่า 3.5 ล้านคน โดย 57.9% ของโพลล์ระบุว่า เห็นด้วยกับการขายหุ้นในครั้งนี้

Tesla ที่มีมาร์เก็ตแคปสูงถึง 1.227 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นหุ้นเมกะแคปที่ ETF ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เข้าลงทุนอยู่ หากคุณต้องการจะลงทุนใน Tesla ล้อไปกับศักยภาพในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ลงทุนใน Thematic DIY ธีมตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะทำให้คุณเข้าถึงการลงทุนในบริษัทชั้นนำของโลกได้

📌 Airbnb กำไรไตรมาสที่ 3 พุ่งขึ้น 280% ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมา มียอดการจองที่พักกว่า 79.7 ล้านคืน ทำให้บริษัทมีรายได้มากถึง 2,050 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

สำหรับไตรมาสที่ 4 คาดการณ์ว่า แนวโน้มการท่องเที่ยวและจองที่พักจะยังคงเพิ่มขึ้น จากสถานการณ์ Covid-19 ทั่วโลกที่เริ่มคลี่คลายในหลายประเทศ จะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง

จากงบการเงินล่าสุด ส่งผลให้ราคาหุ้น Airbnb พุ่งขึ้นกว่า 18.25% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา การท่องเที่ยวยังคงเป็นความต้องการของผู้คนทั่วโลก และด้วยเทคโนโลยีท่องเที่ยวที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ธีม Travel Tech ยังคงมีความน่าสนใจ และรอวันที่การท่องเที่ยวทั่วโลกจะกลับมา

📌 ReportLinker รายงานว่า มูลค่าตลาดคลาวด์ทั่วโลกจะเติบโตจาก 445,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 เป็น 947,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2569 คิดเป็นเติบโตต่อปีเฉลี่ย 16.3% 

เป็นผลมาจากการเปลี่ยนโฉมทางธุรกิจสู่โลกดิจิทัล เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกหันมาให้บริการโซลูชันดิจิทัลที่คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ 

หลังวิกฤต Covid-19 โลกก็เปลี่ยนไปมาก ในโลกธุรกิจมีการเปลี่ยนโฉมแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ ถือเป็นเมกะเทรนด์ที่น่าสนใจ เชื่อว่า ภาพการเติบโตในอนาคตจะชัดเจนขึ้นอย่างแน่นอน

📌 JPMorgan และ Oliver Wyman บอกว่า เงินดิจิทัลที่ออกโดยรัฐบาลกลาง (Central Bank Digital Currency – CBDC) จะช่วยบริษัทต่างๆ ลดต้นทุนในการทำธุรกรรมต่างประเทศได้ถึงปีละ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ปัจจุบันธนาคารต่างๆ ต้องพึ่งพาตัวแทนต่างประเทศหรือคนกลางในการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนมากและใช้เวลานาน ธนาคารกลางทั่วโลกจึงหาทางเปิดสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น 

ประเมินว่า การชำระเงิน CBDC จะเป็นอีกทางเลือกในการลดต้นทุน และแทบไม่มีความเสี่ยงเพราะเป็นสกุลเงินที่ออกโดยรัฐบาลกลางของประเทศต่างๆ 

หาก CBDC ของแต่ละประเทศมีมากขึ้นเรื่อยๆ ได้รับการยอมรับจากธนาคารกลาง หมายความว่า คริปโทเคอร์เรนซี จะเติบโตเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และจะเป็นผลดีกับธุรกิจฟินเทคทั่วโลกในอนาคต 

📌 รัฐบาลอินเดียลดภาษีน้ำมัน เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค หนุนอินเดียฟื้นตัวได้ดี หลังจากคลายล็อกดาวน์ โดยการลดภาษีน้ำมันเกิดขึ้นก่อนเข้าสู่เทศกาลดิวาลี ซึ่งเป็นเทศกาลที่สำคัญและกระตุ้นการใช้จ่ายในอินเดีย 

การใช้จ่ายของผู้บริโภคในอินเดียเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลคลายมาตรการล็อคดาวน์และยอดผู้ติดเชื้อ Covid-19 ลดลงอย่างต่อเนื่อง 

ทิศทางราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชนและค่าใช้จ่ายของบริษัทต่างๆ ตลอดจนเกษตรกร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจอินเดีย ดังนั้นการลดภาษีน้ำมันหวังสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศ

ภาพที่เห็นตอนนี้ คือ เศรษฐกิจอินเดียมีการเติบโตที่ดี ส่งผลต่องบการเงินของบริษัทในตลาดหุ้น และยังเป็นตลาดหุ้นเกิดใหม่ ธีมตลาดหุ้นอินเดียจึงมีความน่าสนใจและมีโอกาสเติบโตในระยะยาว

📌 ทางการจีนส่งสัญญาณพร้อมปรับลดภาษีนำเข้า ทันทีข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้ปี 2565 

จีนหวังว่า RCEP จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจหลายๆ ประเทศในเอเชียแปซิฟิก และต้องการให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด โดยยืนยันว่า 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ได้ลงสัตยาบันเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา 

RCEP จะถือเป็นเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็นสัดส่วน GDP สูงถึง 30% ของทั้งโลก และครอบคลุมตลาดประชากร 1 ใน 3 ของโลก นี่เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้จีนมีอำนาจต่อรองในตลาดโลกสูงขึ้น ทัดเทียมประเทศมหาอำนาจ

หากคุณมองเห็นโอกาสและศักยภาพของจีนในระยะ 10-20 ปีข้างหน้า การจัดพอร์ตลงทุนใน Jitta Ranking จีน และ Thematic ธีมตลาดหุ้นจีนและเทคโนโลยีจีน เป็นการสะสมต้นทุน เพื่อรอการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต


นี่คือข่าวสารและสถานการณ์การลงทุนทั่วโลกที่ทีมงาน Jitta Wealth รวบรวมมาให้คุณได้ติดตามไปพร้อมกับเรา

หลังจากคาดเดาไปต่างๆ นานา ว่า Fed จะเริ่มลดวงเงินทำ QE เมื่อไร มาวันนี้…ทั้งโลกรู้แล้วว่าจากนี้ไปอีก 8 เดือนข้างหน้า ตลาดการเงินการลงทุนโลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน 

อย่างแรก คือ กระแสเงินทุนย่อมเปลี่ยนทิศทางเข้าหาสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนดีกว่าในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว อย่างที่สอง คือ อัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลกจะมีความผันผวนในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ค่าเงินบาทมีแข็งมีอ่อนได้

หากคุณมั่นใจในสินทรัพย์ที่ลงทุน และมีการเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ ต้นทุนค่าเงินบาทอ่อน…ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจเลย

แล้วพบกันสัปดาห์หน้า


อ่าน Jitta Wealth Journal ย้อนหลัง

Jitta Wealth Journal – บริษัทเซมิคอนดักเตอร์หนาว เมื่อบิ๊กเทคลุยทำชิปเอง 

Jitta Wealth Journal – หุ้นเทคไหน เกาะกระแส Metaverse 

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด