Jitta Wealth Journal - บริษัทเซมิคอนดักเตอร์หนาว เมื่อบิ๊กเทคลุยทำชิปเอง

26 ตุลาคม 2564Jitta WealthJitta Wealth Journal

Metaverse อนาคตเมกะเทรนด์ใหม่?

Jitta Wealth Journal ฉบับที่ 48 ประจำวันที่ 26 ตุลาคม 2564 มีประเด็นข่าวสารและสถานการณ์การลงทุนที่ทีมงานรวบรวมมาอัปเดต ดังนี้

  • บริษัทเทคหันมาพัฒนาชิปเอง ไม่หวังพึ่งซัปพลายเออร์อีกต่อไป
  • Metaverse คืออะไร ทำไมบิ๊กเทคถึงให้ความสำคัญ
  • สิงคโปร์เริ่มเปิดประเทศ โอกาสของหุ้นเทคท่องเที่ยว
  • Xiaomi ลงทุนก้อนใหญ่ พัฒนารถยนต์ไฟฟ้า หวังตีตลาดจีน
  • รัฐบาลอินเดียมั่นใจ GDP ในปี 2565 โต 10.5%
  • Tesla ทำรายได้สูงสุด นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
  • Covid-19 ฉุด GDP เวียดนามปี 2564 โตต่ำกว่าที่คาดไว้

ไปติดตามกันได้เลย


Jitta Wealth

Thematic Optimize พร้อมให้ลงทุนแล้ววันนี้

ไม่รู้จะลงทุนกับธีมเมกะเทรนด์ไหนดี วางใจ AI ช่วยจัดการ 

#เลือกให้ถูก Thematic Optimize เลือกให้

ครั้งแรกในประเทศไทย AI ช่วยจัดพอร์ตด้วยเมกะเทรนด์น่าลงทุน
ทดสอบผลตอบแทนย้อนหลังสูงถึง 25%* ต่อปี

เปิดพอร์ต Thematic Optimize

*ผลตอบแทนทบต้นจากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 – 31 สิงหาคม 2564


บิ๊กเทคพัฒนาชิปเอง ไม่ง้อบริษัทเซมิคอนดักเตอร์

ชิป เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น สมาร์ตโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และรถยนต์ 

ตั้งแต่มีการระบาดของ Covid-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา ชิปก็มีความต้องการสูงขึ้น จากภาคครัวเรือนที่ต้องทำงานที่บ้าน ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ และภาคธุรกิจที่ต้องปรับตัวเป็นดิจิทัล

รายได้รวมของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ในปี 2563 อยู่ที่ 425,960 ล้านดอลลาร์ โตกว่าปี 2562 ถึง 3% นำโดยผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง บริษัท Intel บริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing (TSMC) บริษัท Qualcomm บริษัท Nvidia บริษัท SK Hynix บริษัท Samsung และบริษัท Broadcom 

วิกฤตชิปคาดแคลน เริ่มเป็นประเด็นมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เพราะเป็นชิ้นส่วนสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ใช้ระบบประมวลผลคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต แต่โรงงานผลิตชิปทั่วโลกไม่สามารถผลิตได้มากตามความต้องการ 

เพื่อลดการพึ่งพาเซมิคอนดักเตอร์จากซัปพลายเออร์ เหล่าบิ๊กเทคจึงเริ่มพัฒนาและผลิตชิปใช้เอง ไม่ว่าจะเป็น Apple Amazon Facebook และ Baidu นักวิเคราะห์จาก Accenture ยังมองว่า บริษัทเหล่านี้ต้องการผลิตชิปเฉพาะตัวเพื่อใช้กับสินค้าของตน แทนที่จะใช้ชิปแบบเดียวกันกับคู่แข่ง 

Amazon และ Google เปลี่ยนจากจ้างผู้ผลิตชื่อดังอย่าง Intel และ Advanced Micro Devices (AMD) ผลิตชิปให้ มาเป็นพัฒนาและผลิตชิปของตัวเอง เพื่อสร้างความได้เปรียบในสินค้าและบริการ แม้แต่เสิร์ชเอนจินยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Baidu ก็เพิ่งเพิ่มทุนตั้งบริษัทสำหรับพัฒนาชิปโดยเฉพาะ

ล่าสุด Alibaba ได้เปิดตัวชิปที่เคลมว่า ล้ำหน้าที่สุดในจีน ชิปขนาด 5 นาโนเมตร ชื่อว่า Yitian 710 นี้ใช้สถาปัตยกรรมไมโครจากบริษัท Arm ในเครือ SoftBank และจะถูกนำไปใช้กับเซิร์ฟเวอร์ของ Alibaba ในอนาคตอันใกล้ เพื่อประมวลผล AI และเก็บข้อมูล โดยยังไม่มีแผนจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ 

นอกจากนี้ Alibaba ยังมองว่าคลาวด์คอมพิวติง (Cloud Computing) จะมีแนวโน้มเติบโตได้ดีในอนาคต การเปิดตัวชิปเซิร์ฟเวอร์ใหม่นี้ จึงช่วยกระตุ้นธุรกิจคลาวด์ และท้าทายคู่แข่งอย่าง Amazon และ Microsoft ด้วย

แน่นอนว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบต่อบริษัทเซมิคอนดักเตอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเสียลูกค้ารายใหญ่ไป รายได้ก็อาจจะหายไปด้วย แต่ไม่ได้แปลว่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จะล่มสลาย ในอนาคตหากสามารถพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็มีโอกาสสร้างรายได้ทดแทนในส่วนที่ขาดหายไปนี้ได้

นี่คือเรื่องปกติของวงการเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากคุณเป็นหนึ่งคนที่อยากลงทุนธุรกิจกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ในช่วงที่ผ่านมา วันนี้อาจจะต้องถามตัวเองว่า คุณสามารถวิเคราะห์อนาคตของกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ได้เฉียบแค่ไหน มั่นใจแค่ไหนว่าธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์จะเติบโตไปอีก 10-20 ปี

หากคุณมองว่าธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์เป็นเมกะเทรนด์ที่จะอยู่ยงคงกระพันไปอย่างน้อย 10 ปี ก็สามารถโฟกัสลงทุนเฉพาะธุรกิจกลุ่มนี้ และฝ่าผ่านความผันผวนระยะสั้นที่จะต้องเผชิญไปอย่างไม่ต้องกังวลอะไรมากนัก

แต่ถ้าไม่มั่นใจ คุณอาจจะเลือกกระจายความเสี่ยงโดยการลงทุนธีมเทคโนโลยีกับ Thematic DIY ที่กระจายลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีหลากหลาย ทั้งบิ๊กเทคที่หันมาผลิตชิปเอง และผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ดั้งเดิม เงินไหลจากกระเป๋าขวาเข้ากระเป๋าซ้าย ไม่ได้เสียหายอะไรมาก

หรือถ้าเลือกธีมไม่ได้ ก็ให้ Thematic Optimize ใช้ AI ช่วยจัดการให้เลย ไม่ต้องคิดมากว่าจะเลือกลงทุนธีมอะไรดี ควรเปลี่ยนธีมเมื่อไหร่ ต้องปรับพอร์ตตอนไหน

แต่ก่อนที่จะตัดสินใจ ควรถามตัวเองให้มั่นใจก่อนว่ารับความผันผวนระดับสูงได้ เพราะแม้จะกระจายความเสี่ยงอย่างไร สุดท้ายก็เป็นการลงทุนในหุ้น 100% มีความผันผวนระยะสั้นที่ไม่สามารถควบคุมได้อยู่ดี


Jitta Wealth

ผ่าไส้ใน AI ของ Thematic Optimize คิดจากอะไร แม่นยำแค่ไหน

ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ AI ของ Thematic Optimize มีหลักการคิดจากอะไร และคำนวณแม่นยำแค่ไหน จึงทำผลตอบแทน Back Test ได้ที่ 25% ต่อปี

 อ่านต่อ  


Jitta Wealth

อัปเดตผลตอบแทน Global ETF เติบโตเกือบ 10% ใน 9 เดือนแรก 

Global ETF พอร์ตสูตรสำเร็จที่มีคอนเซ็ปต์ ‘สร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด ในความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด’ ผ่านมา 9 เดือนแรกของปี 2564 ให้ผลตอบแทนเท่าไหร่บ้าง

 อ่านต่อ  


Metaverse คืออะไร จะเป็นเมกะเทรนด์ใหม่หรือไม่

Metaverse กำลังถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก เมื่อ Mark Zuckerberg CEO ของ Facebook เตรียมเปลี่ยนชื่อบริษัท ซึ่งแหล่งข่าวบอกว่าภายในสัปดาห์นี้ เพื่อเปิดรับเทคโนโลยี Metaverse ที่กำลังเข้ามามีบทบาทโลกเทคโนโลยี

Metaverse เป็นโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ที่คุณสามารถสร้างร่างอวตารเข้าไปสวมบทบาทที่อยากเป็น ทำกิจกรรมที่อยากทำร่วมกับผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะทำงาน เรียน ปาร์ตี้ ประชุมสัมมนา หรือแม้กระทั่งแสดงคอนเสิร์ต และคาดว่าจะมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ 

แม้ Metaverse จะยังเป็นเพียงแนวคิดที่ต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีอีกมาก แต่หลายบริษัทเทคโนโลยีก็เริ่มแอบซุ่มพัฒนากันไปแล้ว อย่าง Facebook ที่ก่อนหน้านี้ทุ่มเงินมหาศาลจ้างคนเพิ่มถึง 10,000 คน เพิ่มกำลังพัฒนา Metaverse ขึ้น 2 เท่า เพื่อเข็นโครงการ Metaverse ออกมาภายใน 5-10 ปี 

โดย Facebook มองเห็นโอกาสที่จะเชื่อมผู้คนทั่วโลกผ่านเทคโนโลยีนี้ ที่ผ่านมาได้พัฒนาอุปกรณ์หูฟัง Oculus เพื่อเสริมการใช้งาน Metaverse รวมไปถึงพัฒนาแอปพลิเคชัน VR หลายตัวสำหรับการสังสรรค์ การเข้าสังคม และการทำงาน

แม้ชื่อใหม่ของ Facebook จะยังเป็นความลับ แต่เราก็เห็นได้ถึงความทะเยอทะยานของบริษัทที่ต้องการเป็นมากกว่าผู้ให้บริการโซเชียลเน็ตเวิร์ก พยายามวางรากฐานพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาให้ผู้ใช้งานทั่วโลกอยู่เสมอ 

หาก Facebook ทำโครงการ Metaverse สำเร็จ และเข้าถึงผู้ใช้ทั่วโลกได้ ก็จะทำให้เทคโนโลยีนี้เป็นโลกเสมือนจริงที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก

นอกจาก Facebook ที่หันมาสนใจ Metaverse อย่างจริงจังแล้ว ก็ยังมีบริษัทเทคโนโลยีชื่อดังอีกหลายเจ้าที่กำลังค้นคว้าพัฒนา Metaverse อยู่ ได้แก่ Nvidia Autodesk และ Shopify รวมถึงมีกระแสข่าวว่า บิ๊กเทคอย่าง Amazon และ Google รวมไปถึง Tencent จากจีน ต่างหันสปอตไลต์มาสู่การพัฒนาโลกเสมือนจริงเช่นเดียวกัน

อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีบทบาทกับชีวิตเรามาก แถมยังเป็นขุมพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศใหญ่ๆ อย่างสหรัฐฯ​ และจีนด้วย อัตราการเติบโตที่พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด มาพร้อมกับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง มองยังไงก็เป็นเมกะเทรนด์ที่แรงไม่ตกจริงๆ

ถ้าคุณสนใจลงทุนเมกะเทรนด์เทคโนโลยี ลงทุนบริษัทอย่าง Facebook Tencent Amazon แล้วละก็ ธีมเทคโนโลยี ธีมเทคโนโลยีจีน ธีมตลาดหุ้นสหรัฐฯ และธีมตลาดหุ้นจีน มีให้ลงทุนอยู่แล้วผ่าน ETF กับ Thematic DIY และ Thematic Optimize 

แต่ถ้าสนใจเป็นหุ้นรายตัว สามารถเลือกเป็น Jitta Ranking สหรัฐฯ จีน หรือหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ก็ได้

ส่วนธีม Metaverse ทีมงาน Jitta Wealth กำลังจับตามองอยู่ หลังจากศึกษาโอกาส ความเป็นไปได้ และเห็นภาพการเติบโตชัดเจนมากขึ้น ก็อาจจะได้รับเลือกเข้ามาเป็นธีมใหม่ให้ทุกคนลงทุนกัน


Jitta Wealth

เทรนด์ ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’ ดิสรัปบัตรเครดิต เสริมทัพธีม ‘ฟินเทค’ โตแกร่ง 

เทคโนโลยีการเงิน (Fintech) เข้ามามีบทบาทให้โลกการเงินนั้นใหม่และใหญ่กว่าเดิม แทรกซึมเข้าไปในวิถีชีวิตและพฤติกรรมของผู้คน ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’ เป็นเทรนด์ของฟินเทคที่เตรียมดิสรัปบัตรเครดิต อยากรู้ว่า มีอิทธิพลอย่างไร

อ่านต่อ 


Jitta Wealth

จัดพอร์ต ‘หุ้นเมกะแคป’ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เกาะเทรนด์เศรษฐกิจฟื้น

คุณอยากเป็นเจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกบ้างไหม บริษัทเหล่านี้เป็น ‘หุ้นเมกะแคป’ ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่กำลังเติบโตต่อหลังเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว มาดูกันว่า 8 บริษัทยักษ์ใหญ่…มีอะไรบ้าง 

 อ่านต่อ 


Jitta Wealth

Jitta Wealth ปั้นพอร์ตโตด้วย ‘หุ้นเทคโนโลยี’ เมกะเทรนด์  ขับเคลื่อนโลกอนาคต

อิทธิพลการใช้เทคโนโลยีเข้ามายึดโยงเศรษฐกิจและธุรกิจทั่วโลก แทรกซึมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ พร้อมดิสรัปอุตสาหกรรมอื่นๆ ผลักดันให้ ‘หุ้นเทคโนโลยี’ ทรงพลังมากขึ้น ถึงเวลาที่ต้องจัดพอร์ตลงทุน คว้าโอกาสผลตอบแทนดี เติบโตในระยะยาว 

 อ่านต่อ  


สรุปสถานการณ์ทั่วโลก 

📌 สิงคโปร์เริ่มเปิดพรมแดนประเทศ 19 ตุลาคมนี้ พร้อมใช้ชีวิตแบบ New Normal โดยนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าสิงคโปร์โดยไม่ต้องกักตัว ต้องได้รับวัคซีนครบ ผ่านการตรวจ Covid-19 และเดินทางมาจากอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ก อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ เท่านั้น 

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก การเปิดประเทศของสิงคโปร์ครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ที่ดีของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอาเซียน และธีมเทคโนโลยีท่องเที่ยว

📌 Xiaomi มีแผนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ทำหุ้นพุ่งกว่า 5% คาดว่าจะผลิตได้ในปี 2567 และต้องต่อสู้กับคู่แข่งสัญชาติเดียวกันอย่าง Nio Xpeng และ BYD รวมไปถึงยักษ์ใหญ่อย่าง Tesla ด้วย

แม้ว่าช่วงนี้รัฐบาลจีนจะดูเป็นปฏิปักษ์กับบริษัทเทคโนโลยี ยื่นมือเข้ามาจัดระเบียบในหลายๆ ด้าน ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนผันผวนหนัก แต่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของจีนก็ขยายตัวเพราะการสนับสนุนของรัฐบาลจีน เป็น 1 ดาวเด่นของธีมพลังงานสะอาดจีนด้วย

📌 NITI Aayog สำนักวิจัยเศรษฐกิจของรัฐบาลอินเดีย คาดว่า เศรษฐกิจอินเดียจะเติบโต 10.5% ในปี 2565 จากเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากและการเติบโตภาคการส่งออก ทำให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้รวดเร็ว หลังจากทรุดหนักจากการแพร่ระบาดของ Covid-19  

ปี 2564 เป็นปีทองของการลงทุนในตลาดหุ้นอินเดียจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวม หรือ ETF ธีมตลาดหุ้นอินเดีย ต่างสร้างผลตอบแทนสูง

อินเดียมีทิศทางการเติบโตอย่างชัดเจน เพราะรัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่จริงจัง จนได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างประเทศ แม้ว่ามีแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังเป็นประเทศที่น่าสนใจลงทุนมากในระยะยาว

📌รายได้ Tesla ไตรมาส 3 ปี 2564 สูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท โดยทำรายได้มากกว่า 13,757 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 39.16% รวมไปถึงกำไรสุทธิที่สูงถึง 1,618 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 388.82% เป็นผลมาจากยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น 

ปัจจุบัน Tesla ตีตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้ทั่วโลก ทำให้บริษัทมีต้นทุนการผลิตต่ำลงและสามารถสร้างกำไรได้มากขึ้น ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดสูงกว่า 900,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

เนื่องจาก Tesla เป็นหุ้นเมกะแคปที่ขับเคลื่อนดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ เหมือนบิ๊กเทค เมื่อหุ้นขึ้นหรือลงที ก็ลากดัชนี S&P500 ตามไปด้วย นี่จึงเป็นข่าวดีให้ใจกระชุ่มกระชวยเล็กๆ สำหรับคนที่ลงทุนตลาดหุ้นสหรัฐฯ อยู่ ไม่ว่าจะเป็นฝั่ง Global ETF หรือ Thematic ก็ตาม

📌นายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวว่า การเติบโตของประเทศเวียดนามในปี 2564 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันอยู่ 3-3.5% จากเดิมที่ประเมินไว้ 6% เนื่องจากผลกระทบจาก Covid-19 

หน่วยงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล รายงานว่า GDP ของเวียดนามเติบโตเพียง 1.42% ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตามเวียดนามคงเป้าการเติบโตเศรษฐกิจในปีหน้าเอาไว้ที่ 6-6.5% โดยมีมาตรการป้องกัน Covid-19 อย่างเข้มงวด รวมไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

ตลาดหุ้นเวียดนามปี 2564 ทำนิวไฮได้หลายครั้ง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ Covid-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ดัชนี VNI ช่วงนี้ยังเคลื่อนไหวเบาบาง ไม่ได้ดิ่งลงตามเศรษฐกิจของประเทศ ภาพต่อไป คือ รอให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมา

เวียดนามยังเป็นโอกาสลงทุนอยู่ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ตามปัจจัยพื้นฐานเชิงบวกของประเทศ เช่น เศรษฐกิจ การลงทุน การบริโภค และภาคธุรกิจ ดังนั้นตลาดหุ้นเวียดนามยังคงมีอนาคตอีกยาวไกล


นี่คือข่าวสารและสถานการณ์การลงทุนทั่วโลกที่ทีมงาน Jitta Wealth รวบรวมมาให้คุณได้ติดตามไปพร้อมกับเรา

สัปดาห์ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเทคโนโลยียังเป็นประเด็นมาแรงอยู่ ทั้งข่าวการพัฒนาผลิตชิปของบิ๊กเทคจากจีนอย่าง Alibaba เป็นเรื่องราวที่ต่อเนื่องมาจากวิกฤตขาดแคลนชิปทั่วโลก จนบริษัทเทคโนโลยีต่างพยายามยืนด้วยตัวเอง พัฒนาชิปเฉพาะทางเพื่อผลิตภัณฑ์ของตัวเอง และเป็นการรักษาส่วนแบ่งตลาดกับคู่แข่งไปด้วย 

แสดงให้เห็นว่า โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน Facebook กำลังจะเปลี่ยนชื่อรับธุรกิจใหม่ บิ๊กเทคต้องผลิตชิปของตัวเอง การปรับตัวเกิดขึ้นตลอดเวลาในโลกดิจิทัล แต่โดยรวมแล้ว บริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกไม่เคยหยุดอยู่กับที่ และจะยังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

แล้วพบกันสัปดาห์หน้า


อ่าน Jitta Wealth Journal ย้อนหลัง

Jitta Wealth Journal – กูรูไทยเสียงแตก เงินบาทจะแข็งหรืออ่อนค่า 

Jitta Wealth Journal – ลุ้นสภาคองเกรสไฟเขียวเพิ่มเพดานหนี้ 

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด