เดี๋ยวนี้ ใครๆ ก็พูดถึงการลงทุนในธีม (Thematic Investment) ใครๆ ก็ถามถึง ETF (Exchange Traded Fund) ที่มีนโยบายลงทุนเป็นธีม
นี่คือ เทรนด์ที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจอยู่ เพราะหากมองในภาพใหญ่ๆ Thematic Investment เป็นการลงทุนในธีมธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่คุณมองเห็นศักยภาพเติบโตในระยะยาว เรียกได้ว่า เป็น 10-20 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้นก็ได้
Thematic ETF จึงกลายเป็นอีก 1 ทางเลือกการลงทุน นอกเหนือจาก Stock Market ETF (อิงดัชนีตลาดหุ้น) หรือ Sector ETF (อิงดัชนีรายอุตสาหกรรม) และมีทั้งรูปแบบ Active ETF (ทำผลตอบแทนให้ชนะดัชนีอ้างอิง) และ Passive ETF (ทำผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง)
ปัจจุบันคุณมีสินทรัพย์การเงินให้เลือกลงทุนมากขึ้น และมีช่องทางการลงทุนใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย สินทรัพย์ที่ยังคงได้รับความนิยมมานานกว่า 1 ศตวรรษและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก คือ การลงทุนในหุ้น
นั่นก็เพราะเป็นสินทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ ผลตอบแทนมีในรูปแบบมูลค่าหุ้นและเงินปันผล ในกรณีที่กิจการนั้นมีงบการเงินที่แข็งแกร่งและเติบโตอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นรายตัวมีความเสี่ยงสูง และจำเป็นต้องกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้พอร์ตลงทุนมีความผันผวน และพึ่งพาการเติบโตจากหุ้นบริษัทเดียว
ขณะเดียวกัน การลงทุนในหุ้นรายตัวจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก ในกรณีหุ้นบริษัทนั้นมีมูลค่าสูง จึงเกิดทางเลือกสินทรัพย์การเงินอีกรูปแบบ ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงการลงทุนในหุ้นบริษัทที่ชื่นชอบ ผ่านการลงทุนใน ETF
ETF เริ่มมาจากนโยบายการลงทุนในรูปแบบกองทุนดัชนี หรืออีกอย่างว่า Passive Fund ทำผลตอบแทนให้ล้อไปกับดัชนีอ้างอิง และดัชนีกลุ่มแรกๆ คือ ดัชนีตลาดหุ้น กับ Stock Market ETF
กว่า 3 ทศวรรษ สินทรัพย์อย่าง ETF มีมิติการลงทุนหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนทั่วโลก เจาะลึกลงไปในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ มีดัชนีแยกย่อยลงมา และคงหลักการกระจายความเสี่ยงในอุตสาหกรรมนั้นๆ ด้วย ทำให้เกิด ETF รายอุตสาหกรรมอย่าง Sector ETF ขึ้น
Sector ETF จะโฟกัสลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ๆ และกระจายการลงทุนไปในบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้น เช่น พลังงาน การเงิน สาธารณูปโภค อสังหาริมทรัพย์ บริการสุขภาพ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ฯลฯ
แต่ความต้องการนักลงทุนทั่วโลกและเทรนด์การลงทุนเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จึงเกิดเทรนด์การลงทุนเฉพาะเจาะจงเข้าไปมากยิ่งขึ้น เช่น หุ้นกลุ่มพลังงานที่เจาะจงไปที่พลังงานสะอาด หรือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เจาะจงไปที่คลาวด์ โดยจะเป็นการลงทุนในหุ้นเมกะเทรนด์ที่มีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต
เทรนด์ Thematic Investment จึงถือกำเนิดขึ้นมา เป็นอีกทางเลือกให้กับคุณที่ต้องการสร้างพอร์ตลงทุนเติบโตตามธีมธุรกิจเมกะเทรนด์ของโลก หรือธีมที่เกิดขึ้นใหม่ๆ เป็น Thematic ETF สามารถลงทุนได้ในหลายๆ บริษัทที่อยู่ในธีมธุรกิจเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ได้
ธีมหุ่นยนต์และ AI จาก iShares Robotics and Artificial Intelligence Multisector ETF (IRBO) เต็มไปด้วยหลายๆ บริษัทจากกลุ่มการสื่อสาร อุตสาหกรรม IT และสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น บริษัท Vivendi บริษัท Kawasaki Heavy Industries บริษัท ZTE และบริษัท LG Electronics
ธีมเทคโนโลยี จาก iShares Exponential Technologies ETF (XT) ลงทุนในบริษัทจากกลุ่มบริการสุขภาพ IT พลังงาน อุตสาหกรรม และการสื่อสาร เช่น บริษัท Shanghai Junshi Biosciences บริษัท Citrix Systems บริษัท Subsea บริษัท Nabtesco และบริษัท Dish Network
ปัจจุบัน Thematic Investment มีธีมเกิดขึ้นมากมายกว่า 140 ธีม และมี Thematic ETF มากกว่า 7,600 กองทั่วโลก มีธีมเมกะเทรนด์ เช่น พลังงานสะอาด เกมและอีสปอร์ต คลาวด์ อีคอมเมิร์ซ เซมิคอนดักเตอร์ กัญชา ฯลฯ ที่เปิดโอกาสให้คุณได้ลงทุนในธีมที่ชื่นชอบ
ปัจจุบันการลงทุนใน Thematic ETF เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก สัดส่วนการลงทุนใน Thematic ETF ของสหรัฐอเมริกาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 27,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนเกิด Covid-19 เป็น 133,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564 โดย 3 เหตุผลที่ Thematic ETF ได้รับความสนใจล้นหลามมีดังนี้
ส่วนใหญ่จะใช้นโยบายการลงทุนแบบ Passive ETF ที่จะทำผลตอบแทนให้เป็นไปตามดัชนีอ้างอิง และ Thematic ETF มีลักษณะแบบเดียวกัน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายรวม (Total Expense Ratio) ต่ำ เพราะผู้จัดการกองทุนไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพอร์ตหรือซื้อขายหุ้นบ่อยครั้ง เพียงจัดพอร์ตลงทุนตามดัชนีอ้างอิง ซึ่งจะแตกต่างจาก Active ETF ที่จะทำผลตอบแทนชนะดัชนีอ้างอิง
หากคุณต้องการจะลงทุนในธีมเมกะเทรนด์ และตัดสินใจจัดพอร์ตลงทุนหุ้นรายตัวด้วยตัวเอง คุณอาจจะต้องใช้เงินก้อนใหญ่มากและลงทุนได้เพียง 2-3 บริษัทเท่านั้น สำหรับ Thematic ETF จะช่วยปลดล็อกข้อจำกัดนี้ได้ เพราะการลงทุนใน ETF เพียงกองเดียวเหมือนคุณได้ลงทุนหุ้นหลายๆ บริษัท เช่นเดียวกับธีมธุรกิจ คุณได้กระจายเงินลงทุนไปในบริษัทชั้นนำหลายสิบหลายร้อยบริษัทแล้ว
การลงทุนใน ETF เหมือนการกระจายความเสี่ยงไปในตัว เพราะถ้าหากมีบริษัทใดเกิดปัญหาขึ้นมา แล้วคุณลงทุนเอง อาจจะทำให้พอร์ตลงทุนเสียหายได้ แต่ ETF กองเดียว เหมือนคุณได้กระจายไข่ไก่ไว้ในตะกร้าหลายใบ บริษัทใดบริษัทหนึ่งมีปัญหา ภาพรวมของ ETF จะไม่ผันผวนมากนัก
อย่างไรก็ตามการลงทุนใน Thematic ETF มีความเสี่ยงมากกว่า Stock Market ETF คุณควรเข้าใจในธีมที่ชื่นชอบ ก่อนตัดสินใจลงทุน
การลงทุนใน Thematic ETF เป้าหมาย คือ ผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว โดยไม่คำนึงถึงความผันผวนในช่วงเริ่มต้นลงทุน เพราะหลายๆ ธีมเมกะเทรนด์ ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่โอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดด ต้องอาศัยเวลา ซึ่งจะเปลี่ยนโฉมธุรกิจนั้นๆ พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ
หากเลือกลงทุนในธีมอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หรือเป็นเมกะเทรนด์ที่คาดการณ์ว่า จะมีการเติบโตสูงมากๆ และเป็นสิ่งที่ผู้คนใช้กันเป็นปกติในอนาคต ความเสี่ยงที่คุณควรคำนึงถึงคือ ความผันผวนของราคา ETF และราคาหุ้นที่ ETF ลงทุน ยิ่งธุรกิจนั้นอยู่ในช่วงเริ่มต้น รายได้และกำไรยังไม่นิ่ง ผลตอบแทนรายปีและไตรมาสยังคงมีความไม่แน่นอนสูง
Thematic ETF เป็นเครื่องมือการเงิน เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนทั่วโลกที่มีความสนใจลงทุนเฉพาะธีมธุรกิจหรือเมกะเทรนด์ มั่นใจในโอกาสเติบโตระยะยาว 10-20 ปีข้างหน้า หรือนานกว่านั้น จึงเหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้สูง ไม่หวั่นไหวเมื่อมูลค่าพอร์ตลดลง และติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในธีมที่สนใจอยู่เสมอ
แน่นอนว่า คุณควรมีความเข้าใจในธรรมชาติของธีมที่เลือกลงทุน หรือคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามการลงทุนใน Thematic ETF จะช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์หุ้นรายบริษัท เพราะ ETF ได้กระจายการลงทุนทั้งธีมธุรกิจนั้นอยู่แล้ว
นอกจากนี้แนว Thematic Investment ยังเหมาะกับคนที่ต้องการลงทุนมากกว่า 1 ธีมด้วย เพราะ การลงทุนประมาณ 4-5 ธีม จะช่วยกระจายความเสี่ยงในพอร์ตลงทุนได้ดี ในกรณีที่ ETF ธีมใดธีมหนึ่งขาดทุน 20% หากพอร์ตคุณลงทุน 4 ธีม และธีมอื่นๆ ไม่ได้รับผลกระทบขาลง พอร์ตคุณจะขาดทุนเพียง 5% เท่านั้น แต่ถ้าคุณลงทุนเพียง 1 ธีม พอร์ตที่มีผลขาดทุนเต็มๆ 20% ดังนั้นการลงทุนหลายๆ ธีม จะบรรเทาความผันผวนและลดโอกาสขาดทุนหนักๆ ในพอร์ตลงทุนได้
ทีมงาน Jitta Wealth จะเฟ้นหาธีมเมกะเทรนด์ที่คาดว่าจะเติบโตในอนาคต นับถึงสิ้นปี 2564 เรามีให้คุณเลือกได้ถึง 16 ธีม แบ่งเป็น 4 ธีมตลาดหุ้นและ 12 ธีมธุรกิจ ในปีต่อๆ ไป ทีมงานยังคงศึกษาธีมใหม่ๆ และคัดเลือก Passive ETF ที่น่าสนใจมาให้คุณได้จัดพอร์ตลงทุน
สำหรับหลักการคัดสรร Thematic ETF ทีมงาน Jitta Wealth ตั้งไว้ 4 เกณฑ์ ได้แก่
Thematic ETF ที่ทีมงาน Jitta Wealth เฟ้นหามานั้น ควรมีราคาที่คุณสามารถเข้าถึงได้ มีค่าใช้จ่ายรวมที่ต่ำ รวมไปถึงมีมูลค่า AUM มากพอที่จะทำให้ Passive ETF สามารถเข้าลงทุนหุ้นตามดัชนีอ้างอิงได้มากยิ่งขึ้น เหมือนมีสภาพคล่องสูงในการจัดพอร์ตลงทุนตามดัชนีนั่นเอง
นี่คือ ตัวอย่าง 5 ธีมที่น่าสนใจ นโยบายการลงทุนของ Thematic ETF เหล่านี้เป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็นเมกะเทรนด์แห่งอนาคต
ปัจจุบันเทคโนโลยีการเงิน (Fintech) กำลังเติบโตและพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด กลายเป็นเทคโนโลยีที่ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงและใช้งานกันเป็นปกติ เริ่มมีระบบธนาคารในรูปแบบใหม่ๆ ที่ให้บริการผ่านระบบดิจิทัลเพียงอย่างเดียว (Digital Banking) และเริ่มกระจายไปในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซีที่หลายคนมองว่าจะกลายเป็นเงินดิจิทัลที่ใช้กันในอนาคต
FINX เป็น Passive ETF ให้ผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง Indxx Global FinTech Thematic Index ครอบคลุมมากกว่า 30 บริษัท เช่น การเงิน ประกัน การลงทุน การระดมทุน สินเชื่อต่างๆ รวมไปถึงพัฒนานวัตกรรมฟินเทคอื่นๆ
ETF | ค่าใช้จ่ายรวม | มูลค่า AUM | ราคา | ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี |
ฟินเทค (FINX) | 0.68% | US$ 1,017.9 ล้าน | 35.53 | -18.51% |
ระบบคลาวด์ (Cloud Computing) แทรกซึมอยู่ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้คนทั่วโลก ในยุคที่ข้อมูลมหาศาลได้ถ่ายโอนอยู่บนระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้บริษัททั่วโลกได้เลือกใช้ระบบคลาวด์มาจัดการข้อมูลต่างๆ ในองค์กร เพื่อให้สามารถเรียกข้อมูลมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันระบบคลาวด์ได้พัฒนารูปแบบบริการที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
WCLD เป็น Passive ETF ให้ผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง BVP Nasdaq Emerging Cloud Index รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมคลาวด์ที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยครอบคลุมบริษัทและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบคลาวด์
ETF | ค่าใช้จ่ายรวม | มูลค่า AUM | ราคา | ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี |
คลาวด์ (WCLD) | 0.45% | US$ 940.0 ล้าน | 44.48 | -17.99% |
เทคโนโลยีท่องเที่ยว (Travel Tech) คือแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปัจจุบันพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเริ่มเปลี่ยนแปลงไป และวางแผนการท่องเที่ยวผ่านโลกออนไลน์ เช่น การค้นหาทริป การจองตั๋วเครื่องบิน การจองที่พัก ทำให้ Travel Tech เป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก และจะเป็นส่วนสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอนาคตได้อย่างแน่นอน
AWAY เป็น Passive ETF ให้ผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง Prime Travel Technology Index ที่เน้นลงทุนในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวที่ให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์และแพลตฟอร์มดิจิทัลประมาณ 30 บริษัททั่วโลก
ETF | ค่าใช้จ่ายรวม | มูลค่า AUM | ราคา | ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี |
เทคโนโลยีท่องเที่ยว (AWAY) | 0.75% | US$ 247.7 ล้าน | 23.68 | -10.84% |
จีโนมิกส์ (Genomics) นวัตกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อรักษาโรคที่รักษายาก ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่จะปฏิวัติระบบสาธารณสุขทั่วโลก ในอนาคตการใช้นวัตกรรมจีโนมิกส์จะทำให้สามารถรักษาโรคที่รักษายากให้หายขาดได้ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ถุงลมโป่งพอง และความดันโลหิตสูง
IDNA เป็น Passive ETF ให้ผลตอบแทนตาม 2 ดัชนีอ้างอิง คือ NYSE Factset Global Genomics และ Immuno Biopharma Index ลงทุนมากกว่า 50 บริษัททั่วโลกที่มีชื่อเสียงนวัตกรรมด้านจีโนมิกส์ และจะเปลี่ยนอุตสาหกรรมบริการสุขภาพในอนาคต
ETF | ค่าใช้จ่ายรวม | มูลค่า AUM | ราคา | ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี |
จีโนมิกส์ (IDNA) | 0.47% | US$ 281.6 ล้าน | 37.38 | -26.06% |
จีนเป็นผู้นำโลกที่ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพลังงานระดับประเทศ จากการใช้พลังงานฟอสซิล ที่สร้างมลพิษและเป็นต้นกำเนิดของปัญหาโลกร้อน มาใช้พลังงานสะอาดในสัดส่วนที่มากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมพลังงานสะอาดภายในจีนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงมีนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลจีนที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดด้วย ทำให้ธีมพลังงานสะอาดจีนกลายมาเป็นเมกะเทรนด์ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลก
KGRN เป็น Passive ETF ให้ผลตอบแทนตามดัชนีอ้างอิง MSCI China IMI Environment 10/40 Index โดยรวบรวมบริษัทชั้นนำระดับโลกที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด
ETF | ค่าใช้จ่ายรวม | มูลค่า AUM | ราคา | ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี |
พลังงานสะอาดจีน (KGRN) | 0.79% | US$ 172.6 ล้าน | 43.43 | -8.35% |
ทั้งหมดนี้คือ 5 ธีมเมกะเทรนด์ ที่ทีมงาน Jitta Wealth รวบรวมข้อมูล พร้อมแชร์ไอเดียการจัดพอร์ตลงทุนด้วย Thematic ETF กระจายความเสี่ยงในหลายๆ ธีมและผลตอบแทนย้อนหลัง 2 ปี เพื่อเป็นแนวทางให้คุณด้วย
เนื่องด้วยความผันผวนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้ ราคา ETF หลายธีมปรับตัวลดลง และเป็นโอกาสในการเริ่มต้นลงทุนหรือเพิ่มทุนเพื่อเฉลี่ยต้นทุนได้ คุณจะได้ลงทุนใน ETF ที่มีราคาถูกและสร้างผลตอบแทนให้กับคุณที่มากขึ้นในระยะยาว นอกจากนี้คุณมีโอกาสได้ลงทุนในธีมที่ตัวเองชื่นชอบอีกด้วย
นอกจากนี้ Jitta Wealth ยังมี Passive ETF ที่น่าสนใจมากมาย ทั้งในรูปแบบ Stock Market ETF Sector ETF และ Thematic ETF เป็นทางเลือกให้กับคุณ ประกอบไปด้วย เทคโนโลยีท่องเที่ยว เทคโนโลยีจีน อีคอมเมิร์ซ และหุ่นยนต์ และAI ก็เป็นธีมเมกะเทรนด์ที่น่าจับตามองเช่นเดียวกัน
การลงทุนในธีม (Thematic Investment) เราได้ศึกษามาเป็นอย่างดี จะช่วยให้คุณมีความมั่นใจในโอกาสสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว และเป็นโอกาสที่คุณจะได้ลงทุนต่างประเทศโดยตรง เพื่อกระจายความเสี่ยงให้กับพอร์ตลงทุนของคุณ
Jitta Wealth เป็นผู้นำเทรนด์ (Trendsetter) ที่เพิ่มทางเลือก Thematic Investment ให้คุณ นับจนถึงสิ้นปี 2564 มีทั้งหมด 16 ธีม และในปีต่อๆ ไป เราจะเพิ่มธีมใหม่ๆ ที่เป็นเมกะเทรนด์อนาคตไกลมาให้คุณเลือกจัดพอร์ต เพื่อสร้างโอกาสเติบโตในระยะยาว
สำหรับกองทุนส่วนบุคคล Thematic มี 2 แผนการลงทุน คือ Thematic DIY ที่คุณศึกษา เลือกธีม และจัดพอร์ตเอง ได้สูงสุด 5 ธีม และ Thematic Optimize ที่มี AI วิเคราะห์และเลือกธีมจัดพอร์ตให้ 4 ธีม พร้อมปรับพอร์ตเปลี่ยนธีมให้ทุกไตรมาส
หากคุณสนใจลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล Thematic คุณสามารถเข้าไปศึกษาธีมทั้งหมดได้ที่ https://jittawealth.com/thematic/all หรือสอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ที่ Line ID: @JittaWealth
กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ซึ่งเป็น WealthTech แห่งแรกของไทยที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01
ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
16 ธีมจาก Thematic ปี 2564 ใครกำไร ใครขาดทุน
‘ธีม Travel Tech’ จะเป็นอย่างไร…เมื่อทั่วโลกกลับมาเดินทางได้อีกครั้ง