Jitta Wealth Journal - กูรูไทยเสียงแตก เงินบาทจะแข็งหรืออ่อนค่า

19 ตุลาคม 2564Jitta WealthJitta Wealth Journal

ยาหรือวัคซีน Covid-19 ทำราคาหุ้นดิ่ง

Jitta Wealth Journal ฉบับที่ 47 ประจำวันที่ 19 ตุลาคม 2564 มีประเด็นข่าวสารและสถานการณ์การลงทุนที่ทีมงานรวบรวมมาอัปเดต ดังนี้

  • ส่องมุมมองกูรู…ค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อน
  • ยารักษา Covid-19 ดีกว่าวัคซีนป้องกัน…หรือไม่
  • หุ้นเหมืองถ่านหินราคาพุ่ง รับคำสั่งซื้อจากจีน
  • จีนเดินหน้าทุ่มงบ 12,000 ล้านหยวน หนุนพลังงานสะอาด
  • แบงก์ชาติจีนมั่นใจ China Evergrande ควบคุมความเสี่ยงได้
  • อัตราการลาออกในสหรัฐฯ พุ่ง คนหวั่น Covid-19
  • Meituan โดนปรับ แต่ราคาหุ้นขึ้น
  • IMF เตือนอินเดียให้ระวังภาวะเงินเฟ้อเร่งตัว
  • ยุโรปลงทุนในเวียดนามกว่า 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ไปติดตามกันได้เลย


Jitta Wealth

Thematic Optimize พร้อมให้ลงทุนแล้ววันนี้

อยากลงทุนแบบ Thematic แต่ธีมเมกะเทรนด์มีให้เลือกมากมาย…ไม่รู้จะเลือกอะไรดี

#เลือกให้ถูก Thematic Optimize เลือกให้

ครั้งแรกในประเทศไทย AI ช่วยจัดพอร์ตธีมเมกะเทรนด์ให้คุณ
พิสูจน์จากทดสอบผลตอบแทนย้อนหลังสูงถึง 25%* ต่อปี

เปิดพอร์ต Thematic Optimize

*ผลตอบแทนทบต้นจากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 – 31 สิงหาคม 2564


Jitta Wealth

Exclusive Q&A with CEO เดือนตุลาคม

จบกันไปแล้วกับ Webinar ที่เปิดโอกาสให้คุณได้ส่งคำถามถึงคุณตราวุทธิ์ เกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่คุณสนใจ และสถานการณ์ลงทุนทั่วโลกที่คุณอยากทราบมุมมองของคุณตราวุทธิ์ หากใครที่พลาด Live นี้

ดูวิดีโอย้อนหลัง

อ่านสรุป Webinar


ส่องมุมมองกูรู…ค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อน

การลงทุนต่างประเทศ เชื่อว่า หลายๆ คนยังกังวลทิศทางค่าเงินบาทอยู่ เพราะค่าเงินอ่อนลง คุณคงไม่อยากลงทุน พอค่าเงินแข็งขึ้นมา หากรีรอว่า จะแข็งค่าต่ออีก คุณอาจจะเสียโอกาสก็ได้

อัตราแลกเปลี่ยนมีทิศทางเคลื่อนไหวตามอุปสงค์อุปทาน ช่วงไหนที่ไทยส่งออกได้ดี มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา มีการลงทุนทางตรงจากบริษัทต่างชาติ และมีเม็ดเงินไหลเข้ามาถือตราสารหนี้และหุ้นไทย ค่าเงินบาทจะมีแนวโน้มแข็งค่า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย บอกว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทที่กลับมาแข็งค่าที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์ ต้อนรับข่าวการเปิดประเทศ มาอยู่ที่ 33.16 บาท จากสัปดาห์แรกของเดือนที่ 33.86 บาท พร้อมทั้งมีแรงซื้อสุทธิในตราสารหนี้และหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติ 

กระแสการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว เริ่ม 1 พฤศจิกายนนี้ ทำให้ค่าเงินบาทไทยกลับมาแข็งขึ้น ก็คงต้องดูกันต่อไปว่า นักท่องเที่ยวเข้ามามากน้อยแค่ไหน ความต้องการเงินบาทเพิ่มขึ้นจากเดิมหรือไม่

ไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ธนาคารพาณิชย์ไทยยังเสียงแตก คาดการณ์ทิศทางค่าเงินบาทสิ้นปีนี้ (จาก 33.32 บาท ณ 18 ตุลาคม) มีทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า คาดการณ์ตามปัจจัยในและนอกประเทศ เช่น 

  • ธนาคารกสิกรไทย คาดแข็งค่าที่ 32.75 บาท
  • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย คาดแข็งค่าที่ 32.50 บาท 
  • ธนาคารกรุงไทย คาดแข็งค่าที่ 32.75-33.00 บาท
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต คาดอ่อนค่าที่ 33.00-33.50 บาท
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดอ่อนค่าที่ 32.50-33.80 บาท
  • ธนาคารกรุงเทพ คาดอ่อนค่าที่ 34.50 บาท

ฝั่งที่ประเมินว่า ค่าเงินบาทจะแข็งค่าต่อ ดูจากมาตรการเปิดประเทศ ตัวเลขการส่งออกที่ดีขึ้น และเม็ดเงินเข้าเก็งกำไรสินทรัพย์ในไทย รวมไปถึงการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คลายล็อกดาวน์

ฝั่งที่ประเมินว่า ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าต่อ หรืออาจจะผันผวน เพราะมองภาพใหญ่จากตลาดต่างประเทศ เช่น ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ราคาน้ำมันขาขึ้น และการลดวงเงิน QE ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน 

นี่คือ หลากหลายมุมมองเกี่ยวกับทิศทางค่าเงินบาท เป็นการคาดการณ์อนาคตจากปัจจัยเแวดล้อมในปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาระยะสั้นและมีโอกาสที่จะทายถูกหรือทายผิด

มุมมองของ Jitta Wealth อัตราแลกเปลี่ยน มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เป็นภาวะที่ควบคุมไม่ได้ ในรอบ 1 ปี ค่าเงินบาทมีทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า หากเป็นการลงทุนระยะสั้นๆ อัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นปัจจัยหลักที่ควรพิจารณา

แต่กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ออกแบบและพัฒนามาให้เป็นการลงทุนระยะยาว ลงทุนนานกว่า 3-5 ปี หรือเป็น 10 ปี ก็ได้ เพราะเราต้องการผลตอบแทนที่เติบโตสูงในระยะยาว

เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี พอร์ตคุณมีผลตอบแทน 100% แต่ขาดทุนค่าเงินไม่ถึง 10% เพราะผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาว จะสามารถชดเชยความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ โดยที่ไม่ต้องมีต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเลย

ภาวะที่คุณควบคุมได้ คือ เชื่อมั่นในสินทรัพย์ที่ลงทุน กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ


Jitta Wealth

‘ฟินเทค’ เมกะเทรนด์เปลี่ยนโลกการเงิน

ทำความรู้จัก ‘ฟินเทค’ เมกะเทรนด์ที่กำลังจะพลิกโฉมระบบการเงินแบบเดิมๆ ด้วยโลกดิจิทัล และโอกาสการลงทุนใน Thematic ETF ธีมฟินเทค ผลตอบแทนรวมย้อนหลัง 5 ปีโตกว่า 220%

อ่านต่อ


Jitta Wealth

10 บริษัทชั้นนำจาก Thematic ETF ธีมฟินเทค

ทำความรู้จัก 10 บริษัทที่มีโอกาสเติบโตในเมกะเทรนด์ฟินเทค (Fintech) ผ่าน Global X FinTech ETF (FINX) เป็น Thematic ETF ที่ Jitta Wealth เลือกมาเป็นตัวแทนธีมฟินเทคในกองทุนส่วนบุคคล Thematic

อ่านต่อ


ยารักษา Covid-19 ดีกว่าวัคซีนป้องกัน…หรือไม่

สัญญาณที่ดีในแวดวงการแพทย์และสาธารณสุขของโลก เมื่อยารักษา Covid-19 ชนิดรับประทานอย่าง Molnupiravir ที่พัฒนาโดย Merck พิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยลดอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตจาก Covid-19 ทุกสายพันธุ์ได้ถึง 50% 

ปัจจุบัน 3 ประเทศในเอเชียที่ประกอบไปด้วย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และมาเลเซียกำลังเร่งเจรจาซื้อยา Molnupiravir เนื่องจากหลายๆ ประเทศได้เรียนรู้แล้วว่า ไม่สามารถสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน Covid-19 ได้อย่างทันท่วงที เร่งตามไม่ทันประเทศที่รวยกว่า

ประเทศที่มาแรงที่สุดในเอเชียคือ สิงคโปร์ ล่าสุด Merck ผู้พัฒนายา Molnupiravir ได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลสิงคโปร์เป็นที่เรียบร้อย ว่าเมื่อตัวยาผ่านการอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน สิงคโปร์จะได้รับการส่งมอบยาในทันที 

สิงคโปร์เป็นประเทศที่รับมือกับการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้ดีมาโดยตลอด และเมื่อยา Molnupiravir ได้รับการอนุมัติเป็นที่เรียบร้อย จะเป็นอีก 1 ทางออกที่ช่วยแก้ปัญหาการแพร่ระบาด Covid-19 ได้อย่างยั่งยืน

ทั่วโลกกำลังจับตามองความคืบหน้าของยา Molnupiravir ซึ่งส่งผลให้หุ้น Merck มีราคาพุ่งแรง ในทางกลับกันบริษัทที่ผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 อย่าง Moderna BioNTech Pfizer และ Novavax ราคาหุ้นลดลงในช่วงที่ผ่านมา

เป็นเรื่องปกติ เมื่อมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมา สินค้าที่อยู่ในตลาดจะถูกเอามาเปรียบเทียบ ยารักษา Covid-19 เข้าถึงผู้ป่วยได้ง่าย เมื่อมีอาการแล้ว ส่วนวัคซีนที่ฉีดกันทั่วโลก คือการป้องกันโรค ราคาหุ้นขึ้นๆ ลงๆ จึงเกิดขึ้นได้

วัคซีน Covid-19 ยังเจอข่าวเกี่ยวกับประสิทธิภาพลดลง อย่าง Pfizer ได้ออกมาเปิดเผยว่าประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 จะลดลงจาก 88% เหลือเพียง 47% หลังฉีดวัคซีนได้เพียง 6 เดือน สหรัฐฯ จึงประเมินให้ฉีดบูสเตอร์โดส

ไม่ว่าจะเป็นยาหรือวัคซีน ล้วนแล้วแต่คิดค้นและพัฒนามาเพื่อต่อสู้กับโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ทำให้ทั้งโลกต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจมานานนับปี และหลายบริษัทยาประกอบไปด้วย Pfizer Roche และ Atea Pharmaceuticals กำลังเร่งผลิตยารักษา Covid-19 ชนิดรับประทาน เช่นเดียวกับ Molnupiravir เพื่อตอบสนองความต้องการของวงการสาธารณสุขทั่วโลก

ถึงแม้ว่าการพัฒนายารักษา Covid-19 ชนิดรับประทานจะส่งผลต่อราคาหุ้นบริษัทผู้พัฒนาวัคซีนอยู่บ้าง แต่ก็เป็นเพียงผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น เพราะแต่ละบริษัทในอุตสาหกรรมนี้ ไม่เคยหยุดยั้งที่จะวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อต่อสู้กับโรคร้ายปัจจุบันและอนาคต

หากรัฐบาลแต่ละประเทศต้องการจะเอาชนะ Covid-19 อย่างยั่งยืน จำเป็นต้องใช้ทั้งยาและวัคซีนควบคู่กันถึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรในประเทศ

นี่คือ ภาพระยะยาวของการลงทุนในธุรกิจบริการสุขภาพ รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์ มาช่วยให้การคิดค้นยา วัคซีน และวิธีการรักษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รักษาโรคร้ายได้ตรงจุด  

ระบบสาธารณสุขยังมีความจำเป็นสำหรับทุกคนบนโลก ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปแค่ไหน ทุกคนอยู่ในสังสารวัฏ เกิด แก่ เจ็บ และตาย ดังนั้นโอกาสการลงทุนในธีมเฮลท์แคร์ รวมไปถึงธีมธุรกิจต่อยอดอย่างจีโนมิกส์ ยังคงมีอนาคตอีกยาวไกลเลย


Jitta Wealth

รับมือตลาดการเงินโลกผันผวน ลงทุนเมกะเทรนด์อย่างไรให้พอร์ตปัง

เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 แม้ว่าภาพรวมตลาดหุ้นจะฟื้นตัวได้ดี แต่สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีส่วนทำให้ตลาดหุ้นผันผวน มีขึ้นมีลง ถ้าคุณอยากลงทุนเมกะเทรนด์อนาคตไกล ลองทำความเข้าใจเหตุการณ์เหล่านี้ดู

อ่านต่อ


Jitta Wealth

เจาะเทรนด์ปี 65 ธีมเมกะเทรนด์โลกมาแรงด้วย AI

วันอาทิตย์ที่ผ่านมา คุณตราวุทธิ์ได้มีโอกาส Live กับรายการถามทันที เพจถามอีก กับอิก ได้อัปเดตเมกะเทรนด์โลกผ่านการลงทุน Thematic ETF พร้อมเผยชื่อ 4 ธีมที่น่าลงทุนที่สุด จากการคัดสรรผ่าน AI ของ Jitta Wealth

ดูวิดีโอย้อนหลัง


สรุปสถานการณ์ที่น่าสนใจทั่วโลก

📌 วิกฤตพลังงานของจีนและปัญหาขาดแคลนถ่านหินในรอบหลายปี จนทางการจีนต้องสั่งให้เหมืองถ่านหินกว่า 70 แห่งในมองโกเลีย เพิ่มกำลังการผลิตถ่านหินเกือบ 100 ล้านตันเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่วิกฤตนี้ ส่งผลดีหนุนราคาหุ้นเหมืองในอินโดนีเซียและอินเดีย 

นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นถ่านหินในอินโดนีเซียและอินเดียกันอย่างคึกคัก ทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นนับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำหรับอินโดนีเซียส่งออกถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าคิดเป็น 40% ของปริมาณถ่านหินทั่วโลก

ความต้องการใช้พลังงานจะสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาวนี้ ส่งผลให้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ประเทศแถบยุโรปก็มีความต้องการถ่านหินเพิ่มขึ้น หลังจากประสบปัญหาราคาแก๊สที่ทะยานสูงขึ้น

ประเด็นลดการใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า เป็นความท้าทายของรัฐบาลจีนและหลายๆ ประเทศทั่วโลกในการวางแผนโครงสร้างพลังงาน เพราะกำลังผลิตไฟฟ้าที่ได้จากถ่านหินครอบคลุมปริมาณความต้องการมากกว่าพลังงานสะอาดอย่างลมและแสงอาทิตย์  

📌 จีนเดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น จีนเริ่มเปิดรับโครงการด้านพลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2573 

ทางการจีนได้สนับสนุนเงินกว่า 12,000 ล้านหยวน สำหรับโครงการลงทุนด้านพลังงานสะอาด เพื่อเป็นประเทศที่ไม่ปล่อยมลภาวะที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2603 

จีนเป็นประเทศที่ใช้พลังงานสะอาดมากที่สุดในโลก และมีเป้าหมายพัฒนาธุรกิจนี้ เพื่อขึ้นมาเป็นผู้นำโลก ปัจจุบันพลังงานสะอาดมีต้นทุนที่ถูกลงกว่าเดิม ทำให้หลายประเทศสามารถเข้าถึงได้ และช่วยลดมลภาวะของโลกได้ด้วย สำหรับจีน พลังงานสะอาดยังเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนเพื่ออนาคต

📌 ธนาคารกลางจีนมีมุมมองต่อ China Evergrande ว่า ความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ยังควบคุมได้ และภาคอสังหาริมทรัพย์จีนยังมีเสถียรภาพ 

แบงก์ชาติจีนมองว่า ปัญหาของ China Evergrande ถือเป็นปัญหาเฉพาะบริษัท ขณะที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังคงทรงตัว บริษัทอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ยังมีผลการดำเนินงานที่มั่นคง มีตัวชี้วัดทางการเงินที่ดี โดยรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในเกณฑ์ดี

China Evergrande ยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์ที่มีหนี้สินกว่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังมีการผิดนัดชำระหนี้จากการออกตราสารหนี้อีกครั้ง ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลว่าจะเกิดวิกฤตล้มละลายเหมือน Lehman Brothers

แม้ว่า กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ไม่ได้มีผลกระทบจาก China Evergrande โดยตรง แต่มีผลต่อความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นจีนและฮ่องกง ซึ่งทีมงานจะติดตามอย่างใกล้ชิด 

📌 กรมแรงงานของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า อัตราการลาออกเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นเป็น 4.3 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2543 ขณะที่จำนวนการจ้างงานในเดือนเดียวกันลดลงเหลือ 10.4 ล้านตำแหน่ง จาก 11.1 ล้านตำแหน่งในเดือนก่อนหน้า

คาดว่า อัตราการลาออกที่พุ่งขึ้นสูง เพราะผู้คนยังหวั่นใจกับเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเดือนสิงหาคม ทำให้ผู้คนตัดสินใจที่จะลาออกมากขึ้น โดยเฉพาะสายงานบริการ

นอกจากนี้การแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้นายจ้างจำนวนมากไม่สามารถเพิ่มเงินเดือนให้กับพนักงานได้ ทำให้พนักงานเลือกจะลาออกไปหาโอกาสที่ดีกว่าเดิม

ในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัว ตัวเลขการจ้างงานยังไม่นิ่ง และอัตราการว่างงานส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คงต้องใช้เวลาสักระยะ ตัวเลขเหล่านี้ Fed ใช้พิจารณาว่า จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายด้วย

📌 Meituan แอปพลิเคชันส่งอาหาร ถูกปรับเงินกว่า 534 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บทลงโทษการผูกขาดตลาด แต่ราคาหุ้นกลับพุ่งขึ้นพร้อมกับบริษัทบิ๊กเทคอื่นๆ ในจีน

โดยปกติ เมื่อเกิดข่าวร้ายขึ้น ราคาหุ้นส่วนใหญ่จะตกลง แต่กลับไม่ใช่กับ Meituan และหุ้นเทคโนโลยีอื่นๆ ของจีน สาเหตุ คือ ปัจจุบันราคาหุ้นเทคโนโลยีจีนปรับฐานลงมาแล้ว การกลับเข้าซื้อช่วงนี้ จะทำให้ได้หุ้นในราคาที่ถูก

อีกปัจจัยที่ช่วยให้ ราคาหุ้น Meituan และหุ้นเทคโนโลยีอื่นๆ พุ่งขึ้น เพราะการลงทุนเพิ่มของ Charlie Munger ที่เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัทใหญ่ของจีนอย่าง Alibaba เริ่มทำให้ผู้คนกลับมาสนใจในบริษัทเทคโนโลยีของจีนอีกครั้ง

การออกกฎระเบียบหรือบทลงโทษของทางการจีน ส่งผลต่อราคาหุ้นของบริษัทอยู่บ้าง แต่จะเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น แต่เหตุการณ์นี้สร้างโอกาสให้คุณได้ลงทุนหุ้นเทคโนโลยีจีนในราคาที่ถูกลง หากคุณต้องการลงทุนระยะยาว ธีมเทคโนโลยีจีนเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

📌กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนอินเดียให้ระวังอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว หลังเผชิญการแพร่ระบาดของ Covid-19 ถึง 2 ครั้ง

IMF ได้เตือนให้ทางการอินเดียทยอยใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อไม่เร่งตัวมากเกินไป ปัจจุบันคาดว่า เศรษฐกิจอินเดียจะเติบโต 9.5% ในปี 2564 รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมา 5.6% ด้วยเช่นกัน

เมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวจะตามมา เป็นประเด็นที่ธนาคารกลางทุกประเทศกำลังเฝ้าระวัง และเตรียมจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ สำหรับอินเดียเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตรวดเร็ว

📌สหภาพยุโรปลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้นกว่า 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าจะเจอกับวิกฤต Covid-19 ภายในประเทศ โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Shell Siemens และ Daimler 

ปัจจุบันยุโรปมีแผนจะเข้ามาลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งระยะกลางและยาว โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมไฮเทค ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของเวียดนาม

รัฐบาลเวียดนามพยายามดึงการลงทุนจากสหภาพยุโรปเพิ่มมากขึ้น โดยหลายเมืองเริ่มจัดหาที่ดินรอบนิคมอุตสาหกรรม เเละจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงพัฒนาทักษะในภาคการเกษตร การผลิต โลจิสติกส์ และปรับปรุงระบบต่างๆ ให้คล่องตัวมากขึ้น

วิกฤต Covid-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในเวียดนามชะลอช่วงระยะสั้นๆ แต่จะเห็นว่า เวียดนามยังเป็นที่สนใจจากนักลงทุนทั่วโลก และเม็ดเงินลงทุนทางตรงไหลเข้าประเทศมหาศาล นี่คือ ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้เวียดนามเติบโตในอีก 5-10 ปีข้างหน้า


นี่คือข่าวสารและสถานการณ์การลงทุนทั่วโลกที่ทีมงาน Jitta Wealth รวบรวมมาให้คุณได้ติดตามไปพร้อมกับเรา

ในช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกกำลังฟื้นตัว งบการเงินไม่ว่าจะเป็นหุ้นเมกะเทรนด์หรือหุ้นวัฏจักรเศรษฐกิจ เมื่อคุณภาพกิจการยังไปได้ดี มีความแข็งแกร่ง สุดท้ายราคาหุ้นก็จะกลับไปที่พื้นฐานของบริษัท ไม่อยู่ที่เดิมแน่นอน

ไม่ว่าทิศทางดอกเบี้ยและค่าเงินจะเป็นอย่างไร หากเป็นการลงทุนระยะยาว เริ่มต้นลงทุนได้ทุกช่วงเวลา

แล้วพบกันสัปดาห์หน้า


อ่าน Jitta Wealth Journal ย้อนหลัง

Jitta Wealth Journal – ลุ้นสภาคองเกรสไฟเขียวเพิ่มเพดานหนี้

Jitta Wealth Journal – หุ้นวัคซีนดิ่งลง กระทบธีมเฮลท์แคร์หรือไม่

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด