‘การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน’ เป็นประโยคที่คุณต้องพบเจออยู่เสมอ
คุณจะรู้ดีว่า สินทรัพย์ที่มี ‘ความเสี่ยงสูง’ ย่อมมีโอกาสที่จะได้ ‘ผลตอบแทนสูง’ เช่นเดียวกัน ตามวลีที่บอกว่า High Risk High Return
แต่เราจะขอเพิ่มอีก 1 คำ เป็น High Risk High Expected Return เพราะสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง หากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีคุณภาพ ก็ไม่สร้างผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน
แน่นอนว่า เมื่อตั้งใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว คุณคาดหวังผลตอบแทนที่สูง แต่ปัจจัยเสริมที่จะช่วยให้คุณได้ผลตอบแทนสูงตามที่คาดหวังไว้ คือ ความเข้าใจในโลกการลงทุนและสินทรัพย์ต่างๆ และสำคัญที่สุด คือ การกระจายความเสี่ยง
ดังนั้นก่อนจะเริ่มต้นจัดพอร์ตลงทุน คุณควรรู้จักสินทรัพย์ที่คุณสนใจ ทำความเข้าใจความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพราะถ้าคุณไม่รู้จักสินทรัพย์ที่อยู่ในพอร์ตเลย เมื่อเผชิญความผันผวน คุณอาจจะไม่เข้าใจที่มาที่ไปและรับมือไม่ถูก เมื่อมูลค่าพอร์ตลดลง
ขอเพียงแค่คุณรู้จักสินทรัพย์ เข้าใจโลกการลงทุน และมองเป้าหมายระยะยาว ความผันผวนต่างๆ ที่เกิดขึ้น คือ ลมฝน พายุ หรือมรสุมที่พัดผ่านมาและผ่านไป
บทความนี้ ทีมงาน Jitta Wealth รวบรวมผลตอบแทนย้อนหลังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ และไฮไลต์ความผันผวน จุดขาดทุนสูงสุด และจุดผลตอบแทนสูงสุดของ 16 ธีมที่ Jitta Wealth เปิดให้ ‘ลงทุน Thematic’
วัดจากสถิติผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลกที่ NYU Stern School of Business เก็บข้อมูลในช่วงปี 2533-2564 หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุดในระยะยาว แต่ก็มาพร้อมกับความผันผวนที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน
ข้อมูลที่เอามาเปรียบเทียบ คือ ดัชนี S&P500 (รวมเงินปันผล) ตั๋วเงินคลัง (3 เดือน) พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หุ้นกู้เอกชนชั้นดี (Investment Grade) และอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 100 ดอลลาร์สหรัฐ
จากภาพผลตอบแทนของสินทรัพย์การเงินประเภทต่างๆ ในรอบ 32 ปี จะเห็นได้ว่า
คุณคงมองเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นแล้วว่า สินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูง ย่อมมาพร้อมความผันผวนและความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย แต่ถ้าสินทรัพย์นั้น มีคุณภาพดี มีความแข็งแกร่ง และมีโอกาสเติบโต ในระยะยาวจะสร้างผลตอบแทนที่สูงให้คุณเอง
คุณอาจจะมีคำถามต่อว่า ลงทุน Thematic ของ Jitta Wealth มีความผันผวนและความเสี่ยงสูงอย่างไร และการลงทุนในธีมแบบไหนเหมาะสมกับความเสี่ยงที่คุณรับได้
ความผันผวนในที่นี้ คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SD เป็นตัวเลขที่นักลงทุนทั่วโลกนิยมใช้วัดระดับความผันผวนของสินทรัพย์
จากค่า SD ของสินทรัพย์แต่ละประเภทไม่เหมือนกัน หุ้น รวมไปถึง ETF (Exchange Traded Fund) ที่ลงทุนในหุ้น จะมีค่า SD ที่สูง ข้อมูลเพิ่มเติมจากผลตอบแทนสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ในช่วงปี 2533-2564 ของ NYU Stern School of Business คุณจะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ถึงความผันผวนของสินทรัพย์การเงินในสหรัฐฯ
ในระยะเวลา 32 ปีที่ผ่านมา ดัชนี S&P500 มีค่า SD สูงที่สุด ขณะที่สินทรัพย์อื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า ค่า SD ก็ต่ำเช่นเดียวกัน นั่นหมายความว่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีความสัมพันธ์และแปรผันตามกันกับผลตอบแทนด้วย
ทีมงาน Jitta Wealth เจาะลึกข้อมูลความผันผวนของ Thematic ทั้ง 16 ธีมที่เปิดให้ลงทุน ณ สิ้นปี 2564 โดยเปรียบเทียบกับค่า SD ของดัชนี S&P500 ในช่วงเวลาเดียวกัน นับตั้งแต่วันจัดตั้ง Passive ETF ซึ่งจะแตกต่างกัน ไปจนถึง 19 มกราคม 2565
จากกราฟแท่ง คุณจะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ถึงความผันผวนระหว่างดัชนี S&P500 และ 16 ธีมของกองทุนส่วนบุคคล Thematic สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้
คุณอาจจะมีคำถามต่อว่า ค่า SD ที่สูงมาก จะทำให้ ETF แต่ละธีมมีโอกาสขาดทุนหรือติดลบมากขนาดไหน โดยทีมงาน Jitta Wealth ได้รวบรวมข้อมูลย้อนหลัง เพื่อวัดจุดขาดทุนสูงสุดในอดีต (Maximum Drawdown)
คุณจะพบว่า ค่า Maximum Drawdown มีความสัมพันธ์กับค่า SD อย่างมีนัยสำคัญ โดยส่วนใหญ่แล้วธีมที่มีค่า SD สูงจะมีจุดขาดทุนสูงสุดสูงตามไปด้วย ตัวเลขเหล่านี้จะทำให้คุณตัดสินใจเลือกธีมได้เหมาะกับความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้
จากค่า Maximum Drawdown ความหมาย คือ โอกาสขาดทุนสูงสุดในอดีตในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของการลงทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น คุณจะเห็นว่า ธีมกัญชามีจุดขาดทุนสูงสุด -77.35% หนักที่สุดใน 16 ธีม เพราะหุ้นใน ETF ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ รายได้และผลประกอบการยังไม่นิ่ง รวมทั้งปัจจัยการปลดล็อกให้กัญชาใช้ได้อย่างถูกกฎหมายทั่วโลก เป็นความท้าทายของหุ้นใน ETF ธีมกัญชา
จากค่า SD และ Maximum Drawdown ที่เป็นตัวเลขสะท้อนความเสี่ยงของราคา ETF ในกองทุนส่วนบุคคล Thematic สะท้อนโอกาสที่มูลค่าพอร์ตลงทุนของคุณจะผันผวนได้ตลอดเวลา
แต่ตัวเลขเหล่านี้ ไม่ได้บอกว่า ทั้ง 16 ธีมเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีโอกาสเติบโต เพราะการสร้างความมั่งคั่งในโลกการลงทุน สินทรัพย์ที่คุณเลือกจัดพอร์ต ควรสร้างผลตอบแทนทบต้นได้ในระยะยาว ตัวเลขที่จะบอกโอกาสการเติบโตได้ คือ จุดกำไรสูงสุด (Maximum Return)
ทีมงาน Jitta Wealth ได้รวบรวมข้อมูลสถิติย้อนหลังจุดทำกำไรสูงสุด ทั้ง 16 ธีม เพื่อให้คุณเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น ถึงโอกาสเติบโตของแต่ละ ETF ในช่วงที่ผ่านมา
คุณจะเห็นได้ว่า ค่า Maximum Return ของแต่ละธีมในอดีต มีการเติบโตสูงมาก เมื่อเทียบกับค่า Maximum Drawdown แล้ว จุดกำไรสูงสุดสามารถชดเชยจุดขาดทุนสูงสุดได้เลย หากคุณลงทุนในธีมนั้นๆ นานพอที่จะเผชิญแรงกดดันในโลกการลงทุนหลายๆ วัฏจักร นี่คือ หลักการลงทุนระยะยาว
ในช่วงที่ผ่านมา ธีมตลาดหุ้นเวียดนามมีจุดทำกำไรน้อยที่สุด +123.99% ส่วนธีมบริการสุขภาพมีจุดทำกำไรมากที่สุด +620.32% สะท้อนว่า Passive ETF ทั้ง 16 ธีมที่ทีมงาน Jitta Wealth คัดสรรมาให้เลือกลงทุนนั้น เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ มีโอกาสเติบโตในระยะยาว ตอบโจทย์ High Risk High Expected Return
Risk ทำความเข้าใจจากค่า SD และ Maximum Drawdown ส่วน Expected Return ดูจากตัวเลข Maximum Profit ในช่วงเวลาเดียวกัน ที่สามารถชดเชยจุดขาดทุนสูงสุด สร้างผลตอบแทนทบต้นในระยะยาว
ลงทุน Thematic เป็นการสร้างความมั่งคั่งตามเมกะเทรนด์ของโลก ธีมที่คัดสรรมาทั้งหมด 16 ธีม มีศักยภาพการเติบโตในอนาคต มีโอกาสสร้างกำไรให้คุณได้ในระยะยาว แต่สิ่งที่คุณต้องเผชิญ คือ ความผันผวนของตลาดหุ้น และความเสี่ยงรายธีมอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ
หากคุณมีเป้าหมายลงทุนระยะยาว พอร์ตลงทุนในธีมเมกะเทรนด์ต่างๆ จะเป็นกุญแจสำคัญในการดึงศักยภาพการเติบโตของธีมและสร้างผลตอบแทนที่ดีให้คุณ
นอกจากการทำความเข้าใจ ค่า SD จุดขาดทุนสูงสุด และจุดกำไรสูงสุดแล้ว จัดพอร์ตลงทุนตามธีมที่คุณชื่นชอบ ยังมีอีกวิธี คือ การจัดพอร์ตลงทุนตามค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) จะช่วยลดความผันผวนในพอร์ตให้น้อยลงกว่าเดิม และทำให้พอร์ตของคุณได้กระจายความเสี่ยงได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
สำหรับการจัดพอร์ตลงทุนด้วยค่า Correlation จะเหมาะสำหรับแผน Thematic DIY ที่ให้คุณเลือกจัดพอร์ต ETF ได้เองสูงสุด 5 ธีม คุณสามารถใช้ข้อมูลและตัวเลขต่างๆ มาวิเคราะห์และจัดพอร์ตได้เลย
ส่วนแผน Thematic Optimize เป็นการใช้ AI ของ Jitta Wealth มาช่วยวิเคราะห์และเลือกธีมที่น่าลงทุนที่สุดให้ 4 ธีม ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์จากการเติบโตของรายได้บริษัท ผลตอบแทนที่ผ่านมา และความผันผวนจากค่า SD
สำหรับการจัดพอร์ต Thematic DIY ด้วยค่า Correlation จะช่วยบรรเทาความกังวลของคุณว่า คุณกระจายความเสี่ยงได้ดีพอหรือยัง เพราะการเลือกธีมด้วยค่า Correlation ซึ่งช่วยเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ในที่นี้ คือ ETF 2 กอง โดยจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.0 ถึง +1.0 โดยสามารถทำความเข้าใจได้อย่างง่ายๆ ว่า
สำหรับการเปรียบเทียบค่า Correlation เราได้คำนวณตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับ ETF ทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ค่า Correlation ในแต่ละธีม ‘เป็นบวก’ ทั้งหมด เนื่องจากทุกธีมเป็นสินทรัพย์ประเภทเดียวกันคือ Passive ETF ที่ลงทุนในหุ้น การเคลื่อนไหวของราคาจึงไปในทิศทางเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม คุณจะพบว่า แต่ละธีมมีค่า Correlation เทียบกับอีกธีมที่ความแตกต่างกันมาก หมายถึง ถ้าธีมใดธีมหนึ่งมีราคาขึ้นๆ ลงๆ อีกธีมราคาอาจจะไม่ได้เคลื่อนไหวตามกัน นี่คือ จุดสำคัญในการเลือกธีมจัดพอร์ต เพื่อกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับค่า Correlation ของ 16 ธีมในกองทุนส่วนบุคคล Thematic มีดังนี้
จากภาพทั้งหมด 16 ธีมจะเห็นได้ว่าค่า Correlation โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.9 แสดงให้เห็นว่าหลายๆ ธีมมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง เพราะลงทุนในธุรกิจเมกะเทรนด์ ที่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
การจัดพอร์ตด้วยค่า Correlation ที่เราคำนวณมาให้สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
เพียงเท่านี้จะทำให้คุณได้ ‘ลงทุน Thematic’ 4 ธีม และยิ่งคุณเลือกธีมที่มีค่า Correlation หลากหลาย มูลค่าของพอร์ตลงทุนโดยรวมจะไม่ผันผวนมากจนเกินไป และจะช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตลงทุนของคุณได้อย่างเหมาะสม ซึ่งไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็น 4 ธีมเสมอไป คุณสามารถจัดพอร์ต 2 ธีม 3 ธีม หรือ 5 ธีม ก็ได้ตามความต้องการของคุณ
อย่างไรก็ตามการจัดพอร์ตด้วยค่า Correlation จำเป็นต้องจัดพอร์ตมากกว่า 1 ธีมขึ้นไป เพื่อให้เกิดการกระจายความเสี่ยงในพอร์ต โดยทีมงาน Jitta Wealth จะอัปเดตค่า Correlation ใน Thematic ทุกปี เนื่องจากราคา ETF และเทรนด์การลงทุนเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ทั้งหมดนี้ คือ เคล็ด (ไม่) ลับ ลงทุน Thematic อย่างไร ท่ามกลางความผันผวน โดยเน้นไปที่การจัดพอร์ตลงทุนในแผน Thematic DIY ให้คุณได้เข้าใจสินทรัพย์ รู้จักความเสี่ยง รวมไปถึงวิธีการคัดเลือกธีมเข้าพอร์ต ซึ่งจะทำให้พอร์ตลงทุนไม่ผันผวนมาก และสร้างผลตอบแทนที่ดีตามความเสี่ยงที่คุณรับได้ในระยะยาว นี่คือ High Risk High Expected Return
หากคุณมีความสนใจ ‘ลงทุน Thematic’ ตามธีมเมกะเทรนด์ที่ Jitta Wealth คัดสรรมาให้คุณ โดยคุณสามารถเลือกจัดพอร์ตเองสูงสุด 5 ธีมตามแผน Thematic DIY หรือให้ AI ของ Jitta Wealth วิเคราะห์และเลือกธีมจัดพอร์ตให้ตามแผน Thematic Optimize คุณศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://jittawealth.com/thematic/ หรือสอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ที่ Line ID: @JittaWealth
กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้บุกเบิกสตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยรายแรก ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01
ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
16 ธีมจาก Thematic ปี 2564 ใครกำไร ใครขาดทุน
‘AI ของ Jitta Wealth’ เลือกให้ ทำไมพอร์ตยังติดลบ