'AI ของ Jitta Wealth' เลือกให้ ทำไมพอร์ตยังติดลบ

16 ธันวาคม 2564Jitta RankingJitta WealthOptimizeThematic

พอร์ตลงทุนที่ AI ของ Jitta Wealth เลือกให้ ตอนมีกำไร คุณก็รู้สึกดีใจ และคิดว่า มาถูกทางแล้ว แต่เวลาพอร์ตติดลบ คุณคงมีคำถามว่า…AI เลือกให้ ทำไมยังขาดทุน 

แล้วคุณยังมั่นใจในการทำงานของ AI ที่ Jitta Wealth พัฒนาได้อยู่หรือไม่ รวมไปถึงพอร์ตที่ติดลบ จะพลิกกลับมามีกำไรได้เมื่อไร 

จริงๆ แล้ว AI ของเรายังทำงานตามหน้าที่ตามปกติ คัดเลือกสินทรัพย์ ไม่ว่าจะหุ้นหรือ ETF ไปตามอัลกอริทึมที่ Jitta Wealth ออกแบบและพัฒนามาให้เฟ้นหา ‘หุ้นดีราคาถูก’ ของ Jitta Ranking หรือ ‘ธีมที่น่าลงทุนที่สุด’ ของ Thematic Optimize

แต่ปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของ AI คือ ข่าวสารและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรายวัน อย่าว่าแต่ AI เลย…คุณเองก็คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ได้

บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจหลักการทำงานของ AI ของ Jitta Wealth ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ตลาดหุ้นผันผวน และกดดันราคาหุ้นและ ETF ทั่วโลก

ที่สำคัญ คือ คุณจะรับมือพอร์ตลงทุนที่ติดลบได้อย่างไร

AI ของ Jitta Wealth เลือกจัดพอร์ตอย่างไร 

Jitta Wealth นำเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเลือกสินทรัพย์ทางการเงินและจัดพอร์ตลงทุน เพื่อลดภาระในการศึกษาหุ้นและ ETF (Exchange Traded Fund) ด้วยตัวเอง

สมองคนมีขีดจำกัด…แต่สมองกลมีพื้นที่ได้ไม่จำกัด ดังนั้นมนุษย์สามารถออกแบบและพัฒนาอัลกอริทึมใน AI เพื่อรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังของหุ้นและ ETF ได้เป็นแสนๆ ล้านๆ สินทรัพย์ทั่วโลก 

ไม่เพียงเท่านั้น AI ไม่มีอารมณ์และอคติเข้ามาเกี่ยวข้อง จะเลือกหุ้นและ ETF จากข้อมูลและตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์นั้นๆ นี่คือเหตุผลแรกที่ว่า เมื่อมีข่าวสารหรือเกิดเหตุการณ์ที่กดดันดัชนีตลาดหุ้น รวมไปถึงราคาหุ้น และ ETF ในทันทีทันใด ซึ่งเป็นปัจจัยที่อัลกอริทึมของ AI ควบคุมไม่ได้

Jitta Wealth ใช้เทคโนโลยี AI ผ่านกองทุนส่วนบุคคล Jitta Ranking และแผนการลงทุน Thematic Optimize รวมทั้งใช้เทคโนโลยีลงทุนอัตโนมัติ (Automated Investing) เพื่อเสริมการทำงานของ AI ผ่านการรีวิวและปรับพอร์ตทุก 3 เดือนอย่างมีวินัย

AI ของ Jitta Ranking ทำงานอย่างไร

เป็นการต่อยอดมาจากแพลตฟอร์มวิเคราะห์หุ้น Jitta โดยออกแบบและพัฒนาอัลกอริทึมมาสแกนงบการเงินย้อนหลัง 10 ปี และนำผลวิเคราะห์หุ้นจากตลาดหุ้นแต่ละประเทศ มาจัดอันดับตามคอนเซปต์ ‘หุ้นดีราคาถูก’ ตรงกับสไตล์การลงทุนของ Warren Buffett ที่ว่า ‘Buy a wonderful company at a fair price’ (ลงทุนในธุรกิจที่ยอดเยี่ยมในราคาที่เหมาะสม)

AI ของ Jitta Ranking ทำงานโดยจะดูจาก 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่ 

  1. คุณภาพของธุรกิจ อัลกอริทึมสแกนงบการเงินและผลประกอบการย้อนหลัง 10 ปี ประเมินศักยภาพของธุรกิจจากผลงานในอดีต
  2. มูลค่าที่เหมาะสมของธุรกิจ  AI วิเคราะห์ราคาหุ้นที่แท้จริง ซึ่งมาจากการทำงานของอัลกอริทึม
  3. โอกาสเติบโตของธุรกิจ AI ประเมินศักยภาพของธุรกิจ ในด้านมูลค่ากิจการและงบการเงินในอนาคต

จากนั้น AI ของ Jitta Ranking จะจัดอันดับ ‘หุ้นดีราคาถูก’ และระบบของ Jitta Wealth จะเลือกหุ้นให้คุณตามการจัดอันดับในวันที่เริ่มลงทุน และจัดพอร์ตลงทุนหุ้นแต่ละตัวในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ตั้งแต่ 5-30 บริษัท เพื่อกระจายความเสี่ยง 

นอกจากนี้ เทคโนโลยีลงทุนอัตโนมัติ จะทำหน้าที่รีวิวหุ้นและปรับพอร์ตทุก 3 เดือน นับจากวันที่เริ่มลงทุน โดยซื้อขายหุ้นตามอันดับที่ AI ของ Jitta Ranking อัปเดตในเวลานั้น หลักการของเทคโนโลยีลงทุนอัตโนมัติ คือ

  • หุ้นในพอร์ตมีตัวไหนหลุดอันดับต้นๆ ของ Jitta Ranking จะถูกขายออก และซื้อหุ้นที่ติดอันดับใหม่เข้ามาแทน 
  • หุ้นในพอร์ตที่ยังติดอันดับต้นๆ ของ Jitta Ranking จะถูกซื้อเพิ่มหรือขายออก เพื่อปรับสัดส่วนหุ้นแต่ละบริษัทในพอร์ตให้ใกล้เคียงกัน

AI ของ Thematic Optimize ทำงานอย่างไร

เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี AI มาจัดพอร์ต Thematic ETF โดยวิเคราะห์เลือก ‘ธีมที่น่าลงทุนที่สุด’ แล้วกระจายลงทุน 4 ธีมในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน 

AI ของ Thematic Optimize ถูกออกแบบมาให้พิจารณาและจัดอันดับความน่าลงทุนของทุกธีมที่กองทุนส่วนบุคคล Thematic เปิดให้ลงทุน โดยทำงานตาม 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่

  1. การเติบโตของบริษัทใน ETF ความแข็งแกร่งของงบการเงิน และประเมินแนวโน้มการเติบโตของรายได้
  2. ผลตอบแทนย้อนหลังของ ETF ความเคลื่อนไหวของราคาในช่วงที่ผ่านมา และผลตอบแทนรายไตรมาส 
  3. ความผันผวนของ ETF จากค่าสถิติต่างๆ ของ ETF เช่น Standard Deviation – SD (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และค่าความผันผวนต่อปี (Annualised Volatility) ถ้าค่าความผันผวนสูง โอกาสที่ผลตอบแทนและราคาของ ETF ในอนาคตจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็สูงตามไปด้วย มีความไม่แน่นอนสูง หมายถึง ‘ความเสี่ยง’ นั่นเอง

AI ของ Thematic Optimize เป็นการต่อยอดความสำเร็จจาก AI ของ Jitta Ranking ซึ่งจะมีการจัดอันดับธีมที่น่าลงทุนที่สุด และเลือก ETF นั้นมาจัดพอร์ต 4 ธีมให้คุณในวันที่เริ่มลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ยง

แน่นอนว่า เทคโนโลยีลงทุนอัตโนมัติยังมีบทบาทสำคัญในแผนการลงทุน Thematic Optimize โดยจะทำหน้าที่รีวิว ETF และปรับพอร์ตทุก 3 เดือน นับจากวันที่เริ่มลงทุน โดยซื้อขาย ETF ตามอันดับที่ AI ของ Thematic Optimize อัปเดตในเวลานั้น หลักการของเทคโนโลยีลงทุนอัตโนมัติ  คือ

  • ETF ในพอร์ตหลุดจาก 4 อันดับแรกจะถูกขายออก และซื้อ ETF ธีมที่ติดอันดับใหม่เข้ามาแทน 
  • ETF ในพอร์ตที่ยังอยู่ใน 4 อันดับแรกจะทำการซื้อเพิ่มหรือขายออก เพื่อปรับสัดส่วน ETF ทั้ง 4 ธีมในพอร์ตให้ใกล้เคียงกัน
Jitta Wealth

AI ของ Jitta Wealth รับมือกับความเสี่ยงอย่างไร

AI ของเราถูกออกแบบมาเพื่อวิเคราะห์คุณภาพและประเมินโอกาสเติบโตของหุ้นและ ETF โดยใช้ข้อมูลและตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง

แต่ปัจจัยที่นอกเหนือการทำงานของ AI และอัลกอริทึม คือ ข่าวสารและสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอบวัน หากส่งผลในแง่ลบ กดดันราคาหุ้นและ ETF ซึ่งเป็นอารมณ์ของตลาดหุ้น ย่อมส่งผลให้พอร์ต Jitta Ranking และ Thematic Optimize ติดลบได้เช่นเดียวกัน

และมันคือ…ธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของตลาดหุ้นทั่วโลก เป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่สมองกลของ AI ก็คาดการณ์ไม่ได้ สมองคนของนักลงทุนที่เก่งฉกาจ หรือของคุณเองก็ประเมินไม่ได้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งเป็นความเสี่ยงจากการลงทุนนั่นเอง โดยสามารถแบ่งเป็นความเสี่ยงได้ 2 ประเภท ได้แก่

ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) 

เป็นความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ตลาดหุ้น และอุตสาหกรรมในภาพใหญ่ เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้จากการกระจายความเสี่ยงในพอร์ต

ตัวอย่างความเสี่ยงที่เป็นระบบ ได้แก่ นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก ราคาน้ำมันดิบลดลง Covid-19 สายพันธุ์โอไมครอน หรือชิปขาดแคลนทั่วโลก

เหตุการณ์ล่าสุด คือ การประกาศพบเชื้อ Covid-19 สายพันธุ์ใหม่ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงทันที เกิดจากแรงเทขายทำกำไรของนักลงทุน นักวิเคราะห์ต่างคาดว่า จะส่งผลให้ตลาดหุ้นผันผวนทั่วโลก 

ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อ และนโยบายการเงินของ Fed ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีตอบสนองแต่ข่าวสารแตกต่างกัน

Systematic Risk เหล่านี้ จะทำให้พอร์ต Jitta Ranking และ Thematic ติดลบได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง นี่คือ ธรรมชาติของตลาดหุ้นและการลงทุน ถึงจะคาดการณ์ไม่ได้ แต่ AI ของ Jitta Wealth มีการเรียนรู้และวิธีรับมือกับความเสี่ยงที่เป็นระบบอยู่ในตัว

เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กดดันดัชนีตลาดและราคาหุ้น หน้าที่ของ AI คือ เรียนรู้จากผลกระทบเหล่านั้น ผ่านงบการเงินที่อัปเดตทุกไตรมาส เพื่อดูศักยภาพของบริษัทในภาวะวิกฤต จัดอันดับ ‘หุ้นดีราคาถูก’ หรือ ‘ธีมที่น่าลงทุนที่สุด’ เมื่อถึงรอบการรีวิวและปรับพอร์ต คุณจะได้ลงทุนในหุ้นและ ETF ที่มีโอกาสเติบโตอยู่เสมอ

ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) 

เป็นความเสี่ยงที่เกิดเฉพาะตัวกับธุรกิจ หรือบริษัทนั้นๆ โดยสามารถลดความเสี่ยงลงได้ด้วยการจัดพอร์ตลงทุนให้กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ซึ่ง AI ถูกออกแบบมาให้กระจายความเสี่ยงอยู่แล้ว ผ่าน 5-30 บริษัทใน Jitta Ranking และ 4 ธีมใน Thematic Optimize

ตัวอย่างความเสี่ยงไม่เป็นระบบ เช่น การผัดนัดชำระหนี้เงินกู้และบอนด์ของ China Evergrande มูลค่ากว่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน

โอกาสที่ AI ของ Jitta Ranking จะเผชิญ Unsystematic Risk มีน้อยมาก เนื่องจากอัลกอริทึมจะสแกนบริษัทที่มีงบการเงินและกระแสสดย้อนหลัง 10 ปีที่มีความแข็งแกร่ง และจัดอันดับ ‘หุ้นดีราคาถูก’ ดังนั้นหากบริษัทไหนมีงบการเงินไม่ดี AI จะจัดอันดับให้อยู่ท้ายๆ ขณะที่พอร์ตลงทุนของคุณจะมีหุ้นดีๆ อยู่ตลอดเวลา

แต่ Unsystematic Risk สำหรับ AI ของ Thematic Optimize มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่ผลกระทบทางตรงน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งของ ETF มีรายได้และกำไรลดลง หรือเผชิญวิกฤตเฉพาะกิจการ ทั้งนี้ ETF แต่ละธีมกระจายความเสี่ยงในหุ้นหลายสิบหลายร้อยบริษัท สัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่มีปัญหาจะไม่สูงมาก และถ้ามีหุ้นนั้นยังมีปัญหาอยู่ ETF และดัชนีอ้างอิงจะลดสัดส่วนหุ้นนั้นลงมา หรือตัดหุ้นนั้นออกจากพอร์ตและดัชนีอ้างอิง

กรณีของ China Evergrande ที่อยู่ในธีมตลาดหุ้นจีน มีสัดส่วนการลงทุนเพียง 0.02% ของ iShares MSCI China ETF (MCHI) หากบริษัทยังไม่สามารถชำระหนี้ได้และยังมีสถานะการเงินที่ไม่มั่นคง ในอนาคต MCHI และดัชนีอ้างอิง MSCI China Index จะลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น China Evergrande ลง

จะเห็นได้ว่า ความเสี่ยงที่จะกระทบพอร์ตลงทุน Jitta Ranking และ Thematic Optimize โดยตรง คือ ความเสี่ยงที่เป็นระบบ เพราะเป็นผลกระทบที่กดดันตลาดหุ้น เกิดจากปัจจัยมหภาค ซึ่งส่งผลกระทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้นและดัชนีตลาด 

ส่วนความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ เป็นความเสี่ยงที่อยู่ในการควบคุมผ่าน AI ของ Jitta Wealth นอกจากนี้การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) ผ่านการจัดพอร์ต ‘หุ้นดีราคาถูก’ 5-30 บริษัทใน Jitta Ranking หรือ ‘ธีมที่น่าลงทุนที่สุด’ 4 ธีมใน Thematic Optimize รวมไปถึงการปรับพอร์ตอัตโนมัติทุก 3 เดือน จะช่วยลดความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบในพอร์ตลงทุนได้ 

ข่าวสารและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรายวันเป็นธรรมชาติในโลกของการลงทุน เหมือนมรสุม ฝนตก และแดดออก ถ้ามีน้ำท่วม ถือว่าเป็นวิกฤตนานขึ้น ดังนั้นคาดการณ์ได้ยาก ต่อให้เดา ก็มีโอกาสแม่นหรือไม่แม่นเช่นเดียวกัน

แต่ AI ของ Jitta Wealth ทำงานและอัปเดตทุกวัน เปรียบเหมือนที่กำบังพายุ ร่มกันฝน แว่นตากันแดด และเรือลอยอยู่ในน้ำท่วมใหญ่ ที่จะพาพอร์ตคุณฝ่าภัยธรรมชาติเหล่านี้ นั่นหมายความว่า AI ของเรามีการเรียนรู้ตลอดเวลา วิเคราะห์จากข้อมูลและตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง ไม่เหวี่ยงตามข่าวสาร สถานการณ์ และอารมณ์ของตลาดหุ้น ดังนั้นอันดับหุ้นของ Jitta Ranking และอันดับ ETF ของ Thematic Optimize เปลี่ยนแปลงได้ทุกวันเช่นเดียวกัน

ส่วนเทคโนโลยีลงทุนอัตโนมัติจะเป็นอีก 1 ด่าน ที่ช่วยบรรเทาความผันผวนให้พอร์ตลงทุนได้ ผ่านการรีวิวและปรับพอร์ตอัตโนมัติทุก 3 เดือน ตามสินทรัพย์ที่ AI ของเราวิเคราะห์และคัดสรรให้  

ดังนั้นเมื่อความเสี่ยงต่างๆ เริ่มส่งผลต่อรายได้ของบริษัท ราคาหุ้นและ ETF เป็นทิศทางขาลง รวมไปถึงโอกาสในการเติบโตของสินทรัพย์นั้นๆ ลดลง สุดท้ายแล้ว AI ของ Jitta Wealth ก็จะวิเคราะห์และประเมินศักยภาพของ ‘หุ้นดีราคาถูก’ หรือ ‘ธีมที่น่าลงทุนที่สุด’ รวมไปถึงปรับอันดับหุ้นและ ETF ให้สอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ดี

นอกจากนี้ AI ของเราจะจำลองผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี 5 ปี และ 10 ปี หรือการทำ Back Test คุณจะสังเกตได้ว่า บางปีก็ขาดทุน บางปีก็กำไร ซึ่งเกิดจากปัจจัยด้านข่าวสารและสถานการณ์ต่างๆ และสร้างแรงกดดันระยะสั้น แต่ Jitta Wealth มุ่งเน้นพัฒนา AI ให้มองผลตอบแทนทบต้นระยะยาวมากกว่า โดยคุณสามารถดูผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี ดังนี้

Jitta Wealth
Jitta Wealth

คุณจะเห็นว่า หากดูที่ผลตอบแทนระยะยาว พอร์ตลงทุนของคุณยังมีกำไรอยู่ดี ถ้าเป้าหมายของ Jitta Wealth เป็นพอร์ตลงทุนระยะสั้น เก็งกำไรจากราคาขึ้นลงของหุ้นและ ETF สามารถพัฒนา AI ให้ไปตามเป้าหมายนั้นได้เช่นเดียวกัน แต่อาจจะทำผลตอบแทนสูงๆ ได้ในปีแรก และปีต่อไปพอร์ตลงทุนอาจจะติดลบ หรือไม่สามารถสร้างผลตอบแทนทบต้นระยะยาว ซึ่งไม่ใช่ความยั่งยืนของการลงทุน

ไม่เพียงเท่านั้น Jitta Wealth ออกแบบให้ AI ฉลาดมากขึ้นและสร้างผลตอบแทนให้ดียิ่งขึ้น เพราะนอกจากผลตอบแทน Back Test ที่อัปเดตทุกๆ ปี เรายังมีผลตอบแทนแบบ Forward Test และการเรียนรู้จากผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงในพอร์ตลงทุน เป็นหน้าที่ของ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างรูปแบบใหม่ๆ ในการหาผลตอบแทนให้ดียิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต

วิธีรับมือเมื่อพอร์ตลงทุนติดลบ 

อ่านมาถึงตรงนี้ คุณคงเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า AI ของเราทำงานอย่างไร ทำไมพอร์ตที่ AI เลือกหุ้นและ ETF ให้ยังติดลบได้ เพราะมีปัจจัยภายนอกอื่นๆ ซึ่งเป็นข่าวสารและสถานการณ์เศรษฐกิจรายวัน แม้จะอยู่นอกเหนือการควบคุม แต่ AI ของ Jitta Wealth จะรับมือกับความเสี่ยงได้ จากการเรียนรู้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และปรับพอร์ตลงทุนอย่างเหมาะสม

ดังนั้นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น บางเคสสร้างความผันผวนให้ตลาดหุ้นในระยะสั้น แต่หลักการลงทุนระยะยาวของ Jitta Wealth ยังเหมือนเดิม เพราะหุ้นและ ETF ที่ AI ของเราวิเคราะห์ให้ เลือกให้ อยู่บนพื้นฐานของ ‘หุ้นดีราคาถูก’ หรือ ‘ธีมที่น่าลงทุนที่สุด’ และคุณจะมั่นใจได้ว่า แต่ละบริษัทจะมีรายได้เติบโตในระยะยาว หรือธีมธุรกิจนั้นๆ เป็นเมกะเทรนด์ที่จะเป็นขาขึ้นในอีก 10-20 ปีข้างหน้า 

แต่ช่วงที่พอร์ตติดลบ คุณจะรับมืออย่างไรได้บ้าง เรามีวิธีรับมือให้กับคุณ 2 ทางเลือก ได้แก่ 

  1. เพิ่มทุนเพื่อเฉลี่ยต้นทุนในพอร์ต คว้าโอกาสราคาหุ้นและ ETF ช่วงขาลง

วิธีนี้สำหรับคนที่ยังมั่นใจในพอร์ตลงทุน เชื่อมั่นในสินทรัพย์และโอกาสเติบโตระยะยาว มองว่า ข่าวสารเชิงลบที่เกิดขึ้นสร้างความผันผวนระยะสั้น เพราะราคาหุ้นและ ETF เคลื่อนไหวรายวัน สุดท้ายเมื่อวิกฤตนั้นมีทางออกที่ดี หรือตลาดหุ้นตอบรับกระแสข่าวนั้นๆ มานานพอแล้ว ราคาหุ้นและดัชนีตลาดจะกลับเข้าสู่พื้นฐานเดิม

ดังนั้นคุณสามารถเพิ่มทุนเข้ามาได้ เพื่อบรรเทาความผันผวนในพอร์ต และทำให้คุณได้ถัวเฉลี่ยต้นทุนในช่วงที่หุ้นและ ETF มีราคาถูกอีกด้วย 

  1. รอดูสถานการณ์และประเมินศักยภาพของตลาดหุ้นและธุรกิจ

แนวทางนี้สำหรับคนที่ยังไม่มั่นใจและอยากประเมินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนว่า สินทรัพย์ที่เลือกลงทุนไว้ ยังมีความแข็งแกร่งอยู่หรือไม่ ถ้าลงทุนต่อจะเสียโอกาสหรือเปล่า คุณสามารถพิจารณาไตร่ตรอง หรือทำความเข้าใจแนวทางการลงทุนได้อีกครั้ง ทั้งแผน Jitta Ranking และ Thematic Optimize 

กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth เป็นการลงทุนระยะยาวตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพื่อเติบโตไปกับหุ้นคุณค่า และธีมเมกะเทรนด์แห่งอนาคต หากพอร์ตติดลบ มีความผันผวนขาลง หากคุณเชื่อมั่นใจสินทรัพย์ที่ลงทุน คุณจะไม่หวั่นไหว ผลตอบแทนทบต้นในระยะยาวจากพอร์ตลงทุนของคุณจะเป็นบทพิสูจน์ประสิทธิภาพการทำงาน AI ที่เราพัฒนาขึ้นมา

การลงทุนใน ‘หุ้น’ และ ‘ETF’ ธีมธุรกิจ เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่มีความเสี่ยงสูง เป็นธรรมชาติที่จะเผชิญกับความผันผวนที่เกิดจากข่าวสารและสถานการณ์รายวัน ซึ่งจะแลกมากับผลตอบแทนที่สูงขึ้น ส่วนหน้าที่ของ AI ออกแบบมา เพื่อดูแลให้พอร์ตไม่ติดลบหนักๆ ผ่านการวิเคราะห์และคัดเลือกสินทรัพย์ที่น่าลงทุนที่สุดในช่วงเวลานั้น

หากคุณมั่นใจใน AI ของ Jitta Wealth ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้คุณลงทุนใน ‘หุ้นดีราคาถูก’ หรือ ‘ธีมที่น่าลงทุนที่สุด’ ได้อย่างสบายใจ ให้แผนการลงทุน Jitta Ranking และ Thematic Optimize เป็นอีก 1 ทางเลือกของคุณ ที่จะทำให้พอร์ตลงทุนเติบโตอย่างมีหลักการ มีวินัย และมีผลตอบแทนทบต้นในระยะยาว 

คุณสามารถเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชัน Jitta Wealth ได้ ลองเข้ามาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ หรือ สอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ที่ Line ID: @JittaWealth


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้บุกเบิกสตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยรายแรก ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


ทำความเข้าใจ Jitta และ Jitta Wealth มากขึ้น

ผ่าไส้ใน AI ของ Thematic Optimize คิดจากอะไร แม่นยำแค่ไหน

Jitta เป็นใคร ทำไมใครๆ ก็ลงทุนกับ Jitta Wealth

กองทุนส่วนบุคคลคืออะไร ทำไม Jitta Wealth ถึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด