สรุป Live: วิธีปั้นล้าน ด้วย AI ลงทุนในเมกะเทรนด์

19 กรกฎาคม 2567EventsLive

กลับมาอีกครั้งกับ Investor Exclusive จาก Jitta Wealth ประจำเดือนกรกฎาคม 2567 Live สดของคุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ​CEO และคุณอ้อ พรทิพย์ กองชุน CGO ของ Jitta Wealth กับ Live: วิธีปั้นล้าน ด้วย AI ลงทุนในเมกะเทรนด์

มาส่องที่มาที่ไปของการลงทุนเมกะเทรนด์ ธุรกิจไหนกำลังมา เมกะเทรนด์ไหนกำลังดี เตรียมเติบโตในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ใช้ AI ช่วยคว้าโอกาสแบบไม่ต้องเหนื่อยตามกระแสเองได้หรือไม่ จัดพอร์ตแบบไหนดีที่สุด

หากคุณสนใจอยากรับชม Live ของเราแบบสดๆ ในโอกาสต่อไปติดตามเราได้ที่ Facebook หรือ Youtube ของ Jitta Wealth ได้เลย

ดูวิดีโอย้อนหลัง

การเปลี่ยนแปลงจาก Old Economy สู่ New Economy 

คุณเผ่า: ช่วงนี้หลายๆ คนก็ลุ้นระทึกกับหุ้นไทย มีข่าวมาทำให้กังวลไปว่า ประเทศไทยจะเป็นไปในทิศทางไหน หลายหุ้นในประเทศไทยยังลงทุนได้หรือไม่ 

วันนี้ก็จะมาฉายภาพให้ดูว่า ไม่ใช่แค่หุ้นในไทยหรอก เพราะถ้าเรามองจริงๆ หุ้นไทยส่วนใหญ่ก็ค่อนข้างอิ่มตัว การเติบโตค่อนข้างน้อย แต่ก็อาจจะมีหุ้นที่เป็น Defensive มีปันผล ไม่หนีหายตายจากไปไหนง่ายๆ ก็อาจจะยังลงทุนได้ 

แต่ถ้าใครอยากลงทุนหุ้นกลุ่มเติบโตก็อาจจะต้องเริ่มมองหา หรือทำความเข้าใจกับอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์มากขึ้น ยิ่งในปัจจุบันเราสามารถลงทุนได้ทั่วโลก ยิ่งธุรกิจเมกะเทรนด์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีในไทย เราจะมามองหาโอกาสลงทุนอุตสาหกรรมเมกะเทรนด์เหล่านี้กัน 

คุณอ้อ: สำหรับใครที่ยังไม่เคยลงทุนในเมกะเทรนด์ วันนี้มีข้อมูลที่ครบถ้วนแน่นอน เรามาย้อนตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจเก่า (Old Economy) ก่อนเลย

คุณเผ่า: วันนี้จะโฟกัส 2 พาร์ทคือ Old Economy กับ New Economy ซึ่งตัวตัดแบ่งจริงๆ จะอยู่ในช่วงปี 2000 (2543) ที่อินเทอร์เน็ตกำลังมา ซึ่งธุรกิจที่อยู่มาจนถึงปัจจุบันก็สร้างมูลค่าไว้มากมาย ทำให้คนเชื่อมต่อหากันได้ การสร้างสินค้าและบริการ การทำการตลาดรูปแบบใหม่ๆ 

ยกตัวอย่าง Old Economy ในช่วงปี 2551 ถ้าเราไปดูท็อป 10 ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังเป็น Old Economy ค่อนข้างเยอะ เช่น Chevron Goldman Sachs Coca Cola ธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้โตได้ด้วย Capital Intensive หรือ Level Intensive ใช้คนกับเงินทุ่มเข้าไป โดยทำการตลาดขยายไปทีละประเทศ ธุรกิจที่ใช้เวลานานเป็น 50 ปี 100 ปี ในการเติบโต

แต่เมื่อมาถึง New Economy ก็เกิดเป็นธุรกิจยุคใหม่ขึ้นมาผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง Generation เพราะเวลาที่จะเกิด New Economy ต้องมี 2 อย่างคือ Disruptive Economy และ Changing Consumer Behavior 

เราจะเห็นว่าเด็กยุคใหม่โตมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ต แล้วหลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ยุคสมาร์ทโฟนในช่วงปี 2551 เพราะฉะนั้นแล้ว เขาสามารถเข้าถึงข้อมูล เข้าถึงคนอื่นๆ เข้าถึงสินค้าและบริการใหม่ๆ ได้เป็นจำนวนมาก 

ในอดีต จากที่ต้องมีต้นทุนเยอะๆ มักจะเป็นฝ่ายชนะ แต่พอมายุคใหม่ ใครมีนวัตกรรมที่ดีๆ ก็สามารถเอาชนะคนที่มีต้นทุนสูงๆ ได้ แม้ว่าในปัจจุบันในไทยยังมีรูปแบบเดิมๆ อยู่มากแต่ต่างประเทศ จะเห็นชัดเจนกว่า 

คุณเผ่า: จะเห็นได้ว่าในหลายๆ อุตสาหกรรม คนมาใหม่สามารถเอาชนะคนที่อยู่มาก่อนได้หมด เช่น Apple ก็สร้างตัว iPod ขึ้นมา ก็กลายเป็นครองตลาด Music Portable เลย แล้วก็สร้างสมาร์ทโฟนอย่าง iPhone มา ก็รวบ Market Share ช่วงหนึ่งเลย หรือว่าตัว Google เอง ก็ไปแย่งเม็ดเงินโฆษณาจากสื่อ Offline Media ต่างๆ มาไว้เอง หรือแม้กระทั่ง Booking.com ก็ไปรวบ OTA Travel Agency มาอยู่ที่ Online Travel Agency หมดเลย 

ถ้าย้อนกลับไปตอนยุค Old Economy 40% ของเงินที่เราจ่ายเพื่อสินค้าอันหนึ่ง มันไปอยู่ที่ค่าโฆษณา ค่ามาเก็ตติ้ง แต่ในยุคปัจจุบันมันไม่ใช่แล้ว เพราะว่ามันตัดคนกลางออกไป ตัดค่าโฆษณาต่างๆ ออกไป เข้าถึงลูกค้าได้โดยตรงมากขึ้น กดต้นทุนหลายๆ อย่างให้ต่ำลงไปด้วย 

คุณเผ่า: อย่าง NVIDIA คิดค้นนวัตกรรมชิปเพื่อเอามาเสริมกับเทคโนโลยี AI หุ้นขึ้นไปเยอะมาก แต่ว่ารายได้กำไรยังโต 100-200% อยู่เช่นกัน 

กลายเป็นว่าความต้องการของคนยุคใหม่ หรือธุรกิจในยุคใหม่ มันถูกย้ายไปสู่สิ่งที่เป็น New Economy หมดแล้ว 

New Economy กับการลงทุน

คุณเผ่า: เราจะมาลงรายละเอียดของคำว่า ‘เมกะเทรนด์’ กันอีกที แต่เมกะเทรนด์หมายความถึง เทรนด์ที่เกิดขึ้นและจะเติบโตต่อไปในอนาคต เวลาที่เราจะดูเทรนด์ในการลงทุนก็ควรเป็นอุตสาหกรรมที่ Basic Needs ยังเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนรูปแบบไป เช่นถ้ามาเทียบกันระหว่าง Old Economy และ New Economy ก็จะเห็นว่ามันเหมือนกันแค่เปลี่ยนรูปแบบไป แต่ความต้องการของคนยังเหมือนเดิม 

ตัวอย่าง Old Economy สู่ New Economy

ปั้นล้านด้วยธีมเมกะเทรนด์ 

คุณอ้อ: เราจะใช้ประโยชน์จากการเติบโตของเมกะเทรนด์เหล่านี้ในการลงทุนได้อย่างไร 

คุณเผ่า: ถ้ามองเรื่องของการลงทุน เรามีเงินอยู่ 1 ก้อน สิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในการลงทุนก็คือ เงินก้อนนี้ควรไปอยู่ในสิ่งที่สร้างกระแสเงินสด ทำให้เงินก้อนนี้เติบโตต่อไปได้ ถ้าคุณสามารถรู้ได้ว่าธุรกิจอะไรคือธุรกิจแห่งอนาคต แล้วคุณไปลงทุนเอาไว้ ก็จะสามารถสร้างกำไรได้ เทรนหนึ่งก็จะอยู่ประมาณ 20 ปี ถ้าเทรนด์ที่ยาวหน่อยจะอยู่ไปกว่า 50 ปี 

แสดงว่าถ้าเราลงทุนในระยะแรกๆ ของเทรนด์ก็จะเติบโตสูงได้ในระยะยาว 

คุณอ้อ: เราลองถอยกลับมาอีกนิดว่า แล้วเมกะเทรนด์คืออะไร 

คุณเผ่า: เมกะเทรนด์คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางธุรกิจที่กระทบกับตลาดในปัจจุบัน เพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ มีผลกระทบกับชีวิตของคนหมู่มาก และเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว มันยังมาแก้ปัญหาหรือความต้องการเดิมๆ อยู่แต่เปลี่ยนรูปแบบ

จับตา 4 เมกะเทรนด์มาแรงในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

คุณเผ่า: เริ่มที่อุตสาหกรรมแรก ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เราคงเห็นสื่อมากมายพูดถึงในช่วงนี้ ซึ่ง AI ก็คือ เทคโนโลยีที่สามารถทำให้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือต่างๆ จำลองการคิดและแก้ไขปัญหาเหมือนมนุษย์ได้ 

ยกตัวอย่างเช่น Jitta Wealth เองเราก็เอา AI มาบริหารจัดการเงิน มนุษย์ทำได้ แต่ AI ก็อาจจะทำได้ดีกว่า ได้ต่อเนื่องยาวนานกว่า ในต้นทุนที่ต่ำกว่า 

อย่างในสหรัฐฯ ก็มีการใช้ AI เข้ามาช่วยเทรดในสัดส่วนมากขึ้น 70% ในอุตสาหกรรมการผลิต AI ก็เข้ามาช่วยลดเวลาการผลิตสินค้าต่างๆ ได้เร็วมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต 

หลายธุรกิจเริ่มเอามาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ปริมาณการผลิตเป็นต้น เช่นการใช้ AI ในการทำงานต่างๆ ช่วยเราคิด เช่น ChatGPT Gemini เป็นต้น 

เทรนด์ AI ก็น่าจะไปได้อีกเยอะ เขาพูดกันว่า เรายังไม่รู้ว่า AI จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอะไรบ้าง โลกของเราไม่เคยมาถึงจุดนี้มาก่อน AI จะทำอะไรแทนเราได้มากขึ้น คนก็จะทำอะไรได้มากขึ้นและจะพัฒนามากขึ้นด้วย

พลังงานสะอาด (Clean Energy) ในภาพใหญ่ พลังงานสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสะอาด (Clean Tech) แต่พลังงานสะอาดถือว่าเป็นส่วนที่เป็นรูปเป็นร่างมากที่สุดแล้ว เพราะคนจำนวนมากเริ่มนำมาประยุกต์ใช้ 

คนเราต้องการพลังงานไฟฟ้าจำนวนมาก หรือแม้กระทั่ง AI เองก็ใช้พลังงาน พลังงานยุคเก่าที่เราใช้กันมาตลอดก็จะเริ่มหมดไป รวมไปถึงปัญหาการสร้างมลพิษต่างๆ ให้กับโลกด้วย 

พลังงานยุคใหม่ๆ จึงเป็น พลังงานสะอาดมากขึ้น เช่นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างที่เห็นได้ชัดอีกอย่างคือรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่คนเริ่มหันมาใช้กันมากขึ้น 

เวลาที่ธีมเมกะเทรนด์ต่างๆ จะเริ่มเข้าสู่ช่วงที่คนเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ราคาจะถูกลง ถูกกว่าอุตสาหกรรมดั้งเดิม สัดส่วนของพลังงานสะอาดเติบโตจาก 19% ในช่วงปี 2543 เป็น 30% ในปัจจุบัน 

คุณอ้อ: อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เมกะเทรนด์นี้เติบโตขึ้นก็คือการตระหนักรู้ถึง Global Warming ด้วย เพื่อที่โลกของเราจะได้อยู่ไปนานๆ ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน 

คุณเผ่า: เมกะเทรนด์ต่อมาคือ คลาวด์ (Cloud) บริการเก็บข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์ต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างระบบแบบดั้งเดิม 

เบื้องหลังแอปต่างๆ คือคลาวด์หมด แสดงว่าเกือบทุกอย่างที่เราใช้กันอยู่คือคลาวด์โดยที่คุณอาจจะไม่รู้ตัว แล้วถ้าคนจำนวนมากบนโลก เข้าถึงโลกยุคดิจิทัลมากขึ้น สุดท้ายกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากๆ ก็คือคลาวด์ 

สุดท้ายคือ จีโนมิกซ์ (Genomics) เทรนด์เรื่องสุขภาพเป็นเทรนด์ที่อยู่กับเรามาตลอดอยู่แล้ว ใครๆ ก็อยากอายุยืน แต่การแพทย์ในอดีตไม่สามารถผลิตตัวอย่างเจาะเฉพาะรายคนได้ แต่จีโนมิกซ์จะทำให้มันเกิดขึ้นได้ 

จีโนมิกซ์คือการศึกษาเกี่ยวกับ DNA ของมนุษย์เพื่อช่วยให้เข้าใจโรคต่างๆ และสร้างยารักษาที่ตรงตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคนได้ 

จริงๆ คนเราเกิดมามี DNA ที่แตกต่างกัน เช่นการตรวจ DNA เพื่อดูความเสี่ยงการเกิดโรคและป้องกันได้อย่างถูกวิธี เทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นจากคนอยากที่จะวิเคราะห์ DNA ของเรา เมื่อก่อนแพงมาก เทคโนโลยีพัฒนา การประมวลผลก็ราคาถูกลง 

อยากลงทุนธีมเมกะเทรนด์ต้องนโยบาย Thematic 

คุณอ้อ: ถ้าสนใจในเมกะเทรนด์แล้วอยากลงทุน สามารถทำอย่างไรได้บ้าง 

คุณเผ่า: จริงๆ ต้องบอกว่าปัจจุบัน นวัตกรรมทางการเงินพัฒนามาเป็น ETF Exchange Traded Fund กองทุนที่ไปลิสต์ตลาดหุ้น แล้วคุณสามารถเลือกลงเมกะเทรนด์ผ่านทาง ETF ได้เลย แล้วเขาจะไปซื้อหุ้นที่อยู่ในเมกะเทรนด์นั้นๆ แล้ว ถ้าเราซื้อ ETF ไหนก็ตาม เขาก็จะไปซื้อบริษัทที่อยู่ในกลุ่มนั้นๆ ที่ถูกคัดมาแล้ว 

แต่จริงๆ จุดเสี่ยงของ Thematic คือ ความผันผวน ต่อให้คุณลงช่วง Early Majority ก็ตาม จะเห็นว่าจากภาพมันคือ Adoption Curve หมายความว่ามีผู้ใช้งานเรื่อยๆ มูลค่าทางเศรษฐกิจมันโตขึ้น แต่ราคาหุ้นบางทีอาจจะขึ้นและลงแรงมาก 

เพราะฉะนั้นบางทีถ้าเราลงเมกะเทรนด์บางอันไม่เป็น หรือเครียดๆ อาจจะทำให้เราขาดทุน และขายออกมา ถือยาวไม่ได้ก็ได้ แต่ถ้าคุณถือยาวไป เมกะเทรนด์จำนวนมากที่พูดถึงไป ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้คุณได้ 15-20% ต่อปีได้ คล้ายๆ กับการที่คุณลงทุนในดัชนี NASDAQ ตั้งแต่หลังปี 2000 สุดท้ายมันโตได้ถึง 15% ต่อปี 20 ปีทบต้น แต่ในระหว่างทางอาจจะแกว่งขึ้นลงเยอะมาก 

เมกะเทรนด์เอง ถ้าเราเลือกลงทุนเป็นอันๆ บางทีมันก็มีความเสี่ยง ใน Jitta Wealth เลยมีนโยบาย Thematic ที่มีเมกะเทรนด์ที่คัดมาแล้วว่าสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เงินกำลังไหลมา มีการเติบโตทาง Revenue ที่สูง นักลงทุนสามารถเลือกธีมมาลงทุนด้วยได้ นั่นคือ Thematic DIY หรือสามารถให้ AI เลือกให้ก็ดี คือ Thematic Optimize 

ขั้นตอนการคัดเลือก ETF ของ Thematic

คุณอ้อ: เล่าเรื่องเมกะเทรนด์ไปแล้ว และไปลง ETF ที่คุณเผ่าพูด แล้ว ETF ต่างจากหุ้นยังไง

คุณเผ่า: ETF มันจะไปซื้อหุ้นจำนวนมากไว้แล้ว เหมือนกองทุนเลย สมมติว่าเราอยากลง EV ผู้ประกอบการ EV มี 100 เจ้า ผ่านไปอีก 3 ปี เหลือไม่ถึง 10 เจ้า ถ้าเราไปเลือกเจ้าที่เจ๊ง เรารู้ว่าเมกะเทรนด์ธีมนี้กำลังมา แต่ถ้าเราไปเลือกเจ้าที่จะเจ๊ง เราก็เจ๊ง เซมิคอนดักเตอร์บางตัวก็ล่อแล่ ไม่ได้ดีทุกตัว เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเซฟที่สุด ถ้าเราไม่ได้เป็นนักวิเคราะห์ หรือมีเวลาที่จะดูหุ้นตลอด ให้ซื้อเป็น ETF ที่เป็นเมกะเทรนด์ดีกว่า 

เพราะว่าถ้าอุตสาหกรรมยังโต หุ้นบางตัวอาจจะเจ๊ง แต่เงินมันยังไหลเข้ามา เพราะฉะนั้น Market Share ของตัวที่เจ๊งมันจะไปเพิ่มให้ตัวที่ยังอยู่ต่อ ถ้าคุณซื้อหุ้นทุกตัวแบบนี้ ก็จะไม่มีปัญหา ตราบใดที่เงินยังวิ่งเข้ามาที่เทรนด์นี้ไปเรื่อยๆ เพราะมันกระจายความเสี่ยงด้วย

เพราะฉะนั้นขั้นแรกสุด Jitta Wealth จะเลือกเมกะเทรนด์ที่เป็นเมกะเทรนด์จริงๆ มาให้ลงทุนก่อน แล้วเลือก ETF ว่าต้องลงอะไร เพราะปัจจุบันมี ETF ให้เลือกหลายพันตัว มากกว่าตลาดหุ้นไทยอีก 

โดยเราจะวิเคราะห์และเลือกมาจากการดู AUM สูงสุดของเมกะเทรนด์นั้นๆ แล้วมาเรียงลำดับ เพราะยิ่ง AUM สูง ยิ่งมีความน่าเชื่อถือ อาจจะเปิดมานานแล้ว ได้ผลตอบแทนดี คนลงทุนเยอะ มีการบริหารจัดการพอร์ตอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว 

ต่อมาคือ ค่าใช้จ่ายที่จัดการ ETF ต้องต่ำ เพราะ ETF ก็เหมือนกองทุน จะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย และต่างๆ เพราะยิ่งต่ำ ผลตอบแทนเราก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งบางครั้ง ETF ลง Underlying Asset เดียวกัน เช่น กลุ่มคลาวด์เหมือนกัน บางตัวคิดค่าธรรมเนียม 0.2% อีกตัวคิด 2% ทั้งๆ ที่ลงในทรัพย์สินเหมือนๆ กัน เพราะฉะนั้นตรงนี้ Jitta Wealth จะเลือกให้ 

และสุดท้ายคือการดูเรื่องสภาพคล่อง ว่ามันซื้อขายได้ไหม สภาพคล่องต่ำมาก ซื้อขายไม่ได้ นักลงทุนไปลงทุนก็ไม่ดี เราก็จะเลือกตรงนี้มาให้นักลงทุนแล้ว

คุณอ้อ: Jitta Wealth ดูภาพรวมใน 3 เรื่องนี้ เพราะฉะนั้นนักลงทุนก็ไม่ต้องไปดู ETF เป็นร้อยตัวแล้วไปคัดเลือกเอง

คุณเผ่า: ซึ่งตรงนี้เราก็มีการรีวิวให้ทุกปี ถ้าเราไปเจอว่าอยู่ๆ มี ETF ในธีมนั้นๆ ที่ดีกว่าตัวเดิม เราก็แจ้งนักลงทุน แล้วเปลี่ยนให้เลย สมมติเช่น มีตัวหนึ่งผลตอบแทนดีมาก แต่ค่าธรรมเนียมสูงไป กับอีกตัวที่ผลตอบแทนพอใช้ แต่ค่าธรรมเนียมต่ำ เราก็อาจจะสับเปลี่ยนให้ เราก็คอยดูแลให้อยู่ 

คุณอ้อ: แต่ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้สามปัจจัยหลักที่เราได้พูดไป 

ซึ่งจริงๆ แล้วในเรื่องของความเสี่ยง อาจจะยิ่งน้อยลง เพราะเราซื้อ ETF ที่ตลาดอเมริกา เรื่องสภาพคล่องก็จะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร

เรามาดู ETF ที่เราเลือกมาแต่ละธีมดีกว่า จริงๆ ตอนนี้มีให้เลือกเยอะมากถึง 27 ธีม คัดมาจากธีมเด่นๆ มาให้นักลงทุน เพราะฉะนั้นสามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์ได้ มีทั้งสายลงทุนต่างประเทศ สายรักสุขภาพ สายเทคโนโลยี และสายพลังงานสะอาด 

ทีนี้เรามาดูกันว่า 4 ธีมที่คุณเผ่าบอกว่าน่าสนใจมีอะไรบ้าง 

อย่างอันแรกเราพูดถึง AI มีประมาณ 7 ธีม ซึ่งแต่ละธีมมันคือส่วนประกอบซึ่งกันและกันในการเป็นเทคโนโลยีที่เป็นเมกะเทรนด์ เพราะฉะนั้นเราเลยเอา ETF แต่ละตัวมาให้ ซึ่ง 7 ธีมนี้ เราเลือกมาแล้วตามสามปัจจัยที่คุณเผ่าพูดสักครู่ 

ถ้าเป็นพลังงานสะอาดมี 4 ธีมที่เราเลือกมา อันนี้ก็น่าสนใจเหมือนกัน มีทั้งพลังงานสะอาดธรรมดา พลังงานสะอาดจีน เพราะจีนทำพลังงานสะอาดเยอะที่สุดในโลก แล้วก็มีรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งหลายๆ คนก็เห็นถึงการเติบโต และสุดท้ายคือลิเธียมกับแบตเตอรี ซึ่งมันจะต้องถูกใช้อีกเยอะ 

แล้วก็มีเรื่องของจีโนมิกส์ แล้วก็คลาวด์ ที่เฉพาะเจาะจงมาเลย เรียกว่าเป็นธีมที่น่าสนใจใน 4 เมกะเทรนด์ที่เราคัดกรองมาให้จาก 27 ธีม

2 นโยบายการลงทุนธีมเมกะเทรนด์ของ Jitta Wealth 

คุณอ้อ: มาเริ่มกันที่นโยบาย Thematic DIY ชื่อก็บอกแล้วว่า Do It Yourself คุณสามารถเลือก ETF เมกะเทรนด์ที่เราเลือกให้แล้ว 27 ธีม ชอบธีมไหนก็เลือกเข้าพอร์ตได้เลย หลักการเป็นอย่างไรบ้าง

คุณเผ่า: คุณเลือกธีมเอง แต่สิ่งที่เทคโนโลยีของเราจะช่วยได้คือ การแบ่งเงิน การกระจายความเสี่ยง เช่นเมื่อคุณเลือกมา 5 ธีม ระบบก็จะแบ่งลงทุนธีมละ 20% แล้วหลังจากนั้นถ้ามีธีมใดธีมหนึ่งเปลี่ยนสัดส่วนอย่างน้อย 5% ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง เพื่อรักษาสมดุลของพอร์ต เพื่อลดความผันผวน พอร์ตเติบโตล้อไปกับธีมเมกะเทรนด์ 

คุณอ้อ: แต่ถ้าใครเลือกธีมไม่ได้ ไม่รู้จะลงอะไรดี ให้ AI จัดให้ได้ด้วย Thematic Optimize

คุณเผ่า: ด้วย AI ที่เราพัฒนามาเป็น 10 ปี เรามีงบการเงินของทุกบริษัททั่วโลก เวลาที่เราเลือกลงเมกะเทรนด์ ใน ETF เมกะเทรนด์ก็จะประกอบด้วยหลายๆ บริษัท ทีนี่ AI ก็จะไปอ่านหุ้นทั้งหมดใน ETF นั้นๆ ประมวลผลเพื่อดูว่า ธีมไหนรายได้กำลังเติบโต อุตสาหกรรมกำลังขยายตัว การเติบโตของ Market Cap ของอุตสาหกรรมเป็นอย่างไรเป็นต้น 

และหลังจากนั้นเราก็จะเอามาจัดอันดับ 4 ธีมที่ดีที่สุดในแต่ละช่วงเวลา และลงทุนให้ และระบบก็จะคอยปรับพอร์ตให้ทุกๆ 3 เดือนเช่นเมื่อมีธีมในพอร์ตมีอันดับที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเมื่อสัดส่วนธีมใดธีมหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 5% 

ผลตอบแทนเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี (YTD) ของ Thematic Optimize และ Thematic DIY 

พอร์ตจริง Thematic Optimize ของคุณเผ่า 

คุณอ้อ: มาดูตัวอย่างพอร์ต Thematic Optimize แรกๆ ของคุณเผ่า

คุณเผ่า: เราจะเห็นว่าช่วงปี 2565 พอร์ตก็ตกลงไปเยอะ แต่การ DCA มาเรื่อยๆ ปัจจุบันผลตอบแทนก็อยู่ที่ +43.14% (ณ วันที่ 16 ก.ค.67) เฉลี่ยแล้วก็อยู่ที่ 13-14% ต่อปี ทั้งๆ ที่ตอนตกตกลงไปเกือบ 30-40% เลย 

เพราะฉนั้นใครที่จะลงทุนใน Thematic Optimize ก็ต้องรับความผันผวนได้สูง เมกะเทรนด์เติบโตในอนาคตอยู่แล้ว แต่ระหว่างทางก็จะผันผวนมากเช่นกัน ถ้าใครเลือก Thematic Optimize สิ่งหนึ่งที่เราแนะนำเลยคือ การ DCA เพื่อลดความผันผวน 

DCA คืออะไร ประโยชน์ของการ DCA มีอะไรบ้าง 

ให้ Thematic Optimize เป็นพอร์ต Satellite 

คุณอ้อ: อีกเรื่องสำคัญที่มีผลกับผลตอบแทนของพอร์ตก็คือการจัดพอร์ต Live ครั้งก่อนเราพูดถึงการจัดพอร์ตแบบ Core & Satellite หลายคนก็ถามเข้ามาว่า ให้ Thematic Optimize มาจัดได้ไหม

คุณเผ่า: ขอย้อนถึงความหมายของการจัดพอร์ตแบบ Core & Satellite กันเล็กน้อย Core คือ พอร์ตหลัก พอร์ตที่เน้นสร้างผลตอบแทนระยะยาว แบบค่อยเป็นค่อยได้ สบายใจไม่หวือหวา 

ส่วน Satellite คือพอร์ตรอง เป็นพอร์ตที่เน้นคว้าโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น ในวิธีที่เสี่ยงมากขึ้น 

เพราะฉะนั้นใครที่รับความเสี่ยงได้สูงก็อาจจะเพิ่มสัดส่วนใน Satellite ได้มากขึ้น แต่จากที่เราบริหารจัดการพอร์ตลงทุนมาให้คนจำนวนหนึ่งก็พบว่า ตอนที่เริ่มต้นลงทุนเรารู้สึกว่าเราสามารถรับความเสี่ยงได้สูง มากกว่าความเป็นจริง 

แต่พอเป็นเงินลงทุนจริง เราอาจจะรับไม่ได้ขนาดนั้น เพราะมนุษย์ก็มีเรื่องของอารมณ์มาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว บางทีช่วงที่พอร์ตผันผวนมากๆ ก็ใจไม่ดี เพราะเงินหายไป 

เพราะฉะนั้นใครที่เพิ่งเริ่มลงทุนใหม่ๆ ก็อย่างเพิ่งไปมองเรื่องผลตอบแทนที่สูงก่อน เริ่มที่เราก่อนว่าเรารับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน เราต้องค่อยๆ เพิ่มความผันผวนที่รับได้ 

ถ้ามาดูการลงทุนแบบ Core & Satellite ด้วย Jitta Wealth เราก็จะแนะนำให้ Global ETF เป็น Core เพราะมีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ไว้อย่างดี พอร์ตมีความผันผวนที่ต่ำ 

ในส่วนของ Satellite พอร์ตที่เน้นการเติบโตในความเสี่ยงที่สูงขึ้น เราก็จะแนะนำ Thematic หรือ Jitta Ranking 

ตัวอย่างการจัดพอร์ต Core & Satellite    

ประโยชน์ของการจัดพอร์ต Core & Satellite 

คุณเผ่า: แล้วทำไมควรจัดพอร์ตแบบ Core & Satellite เรามีภาพที่จะบอกคุณถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนของการจัดสัดส่วนพอร์ตที่แตกต่างกัน 

เช่นถ้าคุณลงทุนอยู่ในสัดส่วน 80:20 ความผันผวนของคุณจะอยู่ที่ 4% หมายความว่า ถ้าตลาดตกประมาณ 15% ถ้าคุณลงทุน Thematic 20% พอร์ตของคุณมีโอกาสตกไปที่ 19% แต่ถ้าตลาดขึ้น 15% คุณอาจจะบวก 19% ด้วยเช่นกัน 

แต่ถ้าคุณลงทุนใน Thematic 100% ของพอร์ต ความผันผวนของคุณก็จะอยู่ที่ 18% 

เลยกลับมาว่า ใครที่อยากลงทุน Thematic Optimize ล้วนๆ อาจจะต้องถามตัวเองว่ารับความเสี่ยงได้สูงแค่ไหน เพราะดัชนีตลาดจะผันผวนอยู่ที่ +-20% หรืออาจจะได้สูงกว่า +-40% ได้เหมือนกัน 

ซึ่งการจัดพอร์ตแบบ Core & Satellite ในสัดส่วนที่ถูกต้องกับความเสี่ยงที่รับได้ ก็จะช่วยให้คุณลงทุนได้อย่างสบายใจขึ้น 

ถ้าใครฟังมาทั้งหมดแล้ว สนใจอยากเริ่มลงทุน มือใหม่ที่กำลังตัดสินใจอยู่อาจจะได้คำตอบแล้ว ก็สามารถเริ่มต้นลงทุนได้เลย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-460-8888 หรือ Line @JittaWealth ในช่วงเวลาทำการได้เลย


อ่านรีวิวพอร์ตลงทุน Jitta Wealth ของนักลงทุนอีกมากมายได้ที่ Facebook และ เว็บไซต์ของเรา


บทความที่เกี่ยวข้อง

DCA 10 ปี พอร์ตจะโตแค่ไหน 

จัดพอร์ต Core & Satellite ฉบับเริ่มต้น สไตล์ Jitta Wealth 

สรุป Live: หุ้นไทย ใจยังสู้ แนะทางรอดและทางเลือก


ผลการดำเนินงานในอดีตไม่การันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจความเสี่ยง นโยบาย เงื่อนไขผลตอบแทน ก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด