สรุป Live เปิดโลก VI เลือกลงทุนประเทศไหนดี

5 เมษายน 2567Investor ExclusiveLive

Investor Exclusive ของ Jitta Wealth ประจำเดือนเมษายน 2567 Live สดของคุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO และคุณอ้อ พรทิพย์ กองชุน CGO ของ Jitta Wealth กับ Live เปิดโลก VI เลือกลงทุนประเทศไหนดี มาส่องข้อมูลทั่วโลก ตลาดไหนรุ่ง ตลาดไหนร่วง พร้อมแนะวิธีจัดพอร์ตลงทุน หาโอกาสลงทุนใหม่ๆ จากตลาดที่กำลังพลิกฟื้น

หากคุณสนใจอยากรับชม Live ของเราแบบสดๆ ในโอกาสต่อไปติดตามเราได้ที่ Facebook หรือ Youtube ของ Jitta Wealth ได้เลย

ดูวิดีโอย้อนหลัง

3 ปัจจัยหลักการลงทุน VI 

คุณเผ่า: หลักการ VI ในแบบของผมคือ การมองที่มูลค่าของสิ่งที่จะซื้อ ไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นก็ได้ แต่เวลาที่คุณอยากจะทำกำไรจากอะไรสักอย่าง เรามองหาของคุณภาพและคุณซื้อมันได้ในราคาที่ต่ำกว่าระดับของคุณภาพหรือมูลค่า สุดท้ายวันหนึ่งเราก็จะกำไรไปเรื่อยๆ เอง เพราะสุดท้ายของที่มันดี ระยะยาวมันจะเป็นของที่มีแต่คนอยากได้ 

ซึ่งจริงๆ ก็เหมือนกับหลักการ “ลงทุนในธุรกิจที่ดีในราคาที่เหมาะสม” ของปู่ Warren Buffett ครับ

คุณอ้อ: ซึ่ง Jitta Wealth ก็ใช้หลักการของคุณปู่ค่อนข้างเยอะในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ของ Jitta และ Jitta Wealth 

คุณเผ่า: นักลงทุนหลายคนได้อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับคุณปู่ เช่นในจดหมายประจำปีของคุณปู่ มีหนังสือมากมายหลายเล่มที่คนมาบอกเล่าเรื่องราว หลักการการลงทุนของคุณปู่ ซึ่งผมก็เชื่อว่า ถ้าเราลงทุนระยะยาวตามแนวทางของคุณปู่สุดท้ายพอร์ตก็จะเติบโต 

แต่สิ่งที่ยากคือ คนจำนวนมากไม่สามารถทำตามหลักการเหล่านั้นได้ เช่นไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้ดี ไม่มีวินัยในการลงทุน การดูหุ้น ดูงบการเงินและการปรับพอร์ต จุดนี้ทำให้เราเห็นว่า ‘เทคโนโลยีสามารถมาช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้’ ในการวิเคราะห์หุ้น วิเคราะห์คุณภาพ ความถูกแพงของราคาหุ้น ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง 

คุณอ้อ: แล้วอะไรคือ การลงทุน VI ในแบบฉบับของ Jitta Wealth 

คุณเผ่า: หลักๆ คือการซื้อของที่ต่ำกว่ามูลค่า ซึ่งคำว่า ‘ต่ำกว่ามูลค่า’ เราต้องมองที่คุณภาพของทรัพย์สินด้วย ยกตัวอย่าง ถ้าคุณอ้อจะซื้อของสักชิ้น คุณอ้อจะเลือกซื้อจากอะไร 

คุณอ้อ: คุณภาพตอบโจทย์ในสิ่งที่เราต้องการหรือไม่ ราคาคุ้มค่ามั้ย 

คุณเผ่า: จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าคุณจะซื้ออะไรก็แล้วแต่ในโลกใบนี้ คุณต้องรู้ก่อนว่าคุณอยากจะได้อะไร คุณภาพแบบไหน แล้วถึงไปดูราคา สมมติคุณอ้อรู้แล้วว่าจะซื้อ MacBook Pro เมื่อคุณอ้อไปดูที่ Apple Store ราคาจะอยู่ที่ 50,000 บาท แล้วอยู่ๆ เพื่อนคุณอ้อบอก เขาเพิ่งซื้อมาเมื่อ 3 วันก่อนแล้วซื้อผิดรุ่น ไม่ค่อยได้ใช้แล้วขายให้ในราคา 35,000 บาท มันก็ถือว่าเป็นราคาที่ถูกมาก 

คุณอ้อ: ใช่ เพราะระยะเวลา 3 วันก็ไม่มีอะไรเสื่อมภาพไป คุณภาพของก็ยังได้ ราคายังถูกอีก ก็รีบซื้อ 

คุณเผ่า: เพราะคุณรู้แล้วว่าของคุณภาพแบบนี้ มีมูลค่า 50,000 บาท แต่มีคนมาขายในราคา 35,000 บาท แต่ในทางกลับกันของราคา 50,000 บาท แต่มีคนมาบอกว่า ขอขาย 70,000 บาท คุณจะซื้อมั้ย

คุณอ้อ: เราก็จะรู้สึกว่าราคามันไม่สมเหตุสมผล คุณภาพดีแต่ราคาแพง เราก็ไม่ควรซื้อ 

คุณเผ่า: ซึ่งเขาบอกกันว่า ที่เดียวที่คนจะยอมซื้อของแพงมีที่เดียวคือ ตลาดหุ้น

ยกตัวอย่างเช่นตอนหุ้นตก ทุกคนก็จะกลัว ไม่กล้าซื้อ แต่พอหุ้นบางตัวราคาขึ้นไปเรื่อยๆ คนก็อยากซื้อ นั้นหมายความว่าคนเริ่มใช้อารมณ์ในการซื้อขายหุ้น เป็นเพราะคนส่วนใหญ่ไม่สามารถประเมินพื้นฐานบริษัท อัตราการเติบโต และราคาที่เหมาะสมได้ หรือเราอาจจะไม่มีอะไรให้ยึดเหนี่ยวจึงมีโอกาสที่เราจะทำอะไรไปตามอารมณ์ได้ เช่น ‘หุ้นตกรีบขาย’ เป็นต้น 

คุณเผ่า: Warren Buffett เคยพูดไว้ประมาณว่า ตลาดหุ้นเป็นที่ที่คุณมองเห็นราคา แต่ไม่รู้มูลค่าที่แท้จริง ซึ่งนักลงทุนที่ดีคือนักลงทุนที่รู้มูลค่าที่แท้จริงของสิ่งที่จะซื้อหรือขาย

ถ้าเราจะลงทุนแบบ VI ได้ เวลาเราประเมิน เราจะดูพื้นฐานบริษัท และการเติบโตก่อน พื้นฐานบริษัทเราจะดูว่าบริษัทนี้มั่นคงหรือไม่ ซึ่งคำว่ามั่นคงคือ โอกาสที่ธุรกิจจะไปต่อไม่ได้มีอยู่แค่ไหน งบการเงิน มีหนี้สิ้นอย่างไร มีรายได้ มีกำไรกระแสเงินสดที่ดี 

ยกตัวอย่างเช่นช่วงโควิด ธุรกิจที่หุ้นตก นักลงทุน VI ก็จะเข้าไปดูก่อนว่า แล้วบริษัทไหนจะไปเจ๊งกับวิกฤตินี้ ยังไปต่อได้หรือไม่ก็ก็ต้องมาดูที่พื้นฐาน ที่แสดงถึงความมั่นคง ก็มีโอกาสรอดจากวิกฤติ ไม่เจ๊งแล้ว ก็ต้องดูการเติบโตว่า รายได้ยังเติบโตอยู่หรือไม่ ธุรกิจนั้นยังไปได้ต่อเนื่อง 

เช่นธุรกิจอาหาร หุ้น Apple ที่ Buffett คิดว่าไม่ไปไหนแน่นอน อีกอย่างคือการขึ้นราคาสินค้าไปตามเงินเฟ้อได้ แสดงว่ารายได้จะเติบโตต่อไปเรื่อยๆ 

เมื่อเรารู้พื้นฐานบริษัทแล้ว มีโอกาสเติบโตแล้ว เราก็จะสามารถประเมินราคาเหมาะสมได้ ก็จะทำให้เราตัดสินใจได้ ว่าหุ้นถูกหรือหุ้นแพง 

คุณเผ่า: ซึ่งนอกจากราคาถูกแล้ว Margin of safety ก็สำคัญ เช่นเราอาจจะประเมินราคาได้ถูกต้องครบถ้วน เช่นเราคำนวณราคาได้ 10 บาท ถ้าคุณซื้อตอนที่หุ้นราคา 10 บาทเป๊ะๆ คุณคำนวณพลาดไปเล็กน้อยคุณอาจจะขาดทุนได้ แต่ถ้าคุณซื้อในช่วงราคา 6-8 บาท ถ้าคุณคำนวณผิดพลาดไปบ้าง คุณก็จะกำไรอยู่ดี 

วิธีคิดนี่ไม่ใช่แค่ตลาดหุ้น แต่ก็ใช้กับสินทรัพย์อื่นๆ ได้ด้วย

คุณอ้อ: ตลาดหุ้นมันยากเพราะไม่มีใครมาบอกราคากลางให้คุณได้เปรียบเทียบความถูกแพงได้ง่ายๆ  

ซึ่งราคาหุ้นที่เหมาะสมสามารถดูได้ที่ Jitta.com ได้ฟรีกว่า 28 ตลาดหุ้นทั่วโลก 

ย้อนดูผลตอบแทนดัชนีตลาดหุ้นย้อนหลัง 10 ปี

คุณเผ่า: ปัจจุบันโลกการลงทุนเหมือนโลกที่กว้างใหญ่ ถ้าเราลองมาย้อนดูผลตอบแทนดัชนีตลาดหุ้นประเทศต่างๆ ย้อนหลัง 10 ปี จะเห็นว่า 

  • CSI 300 TR ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี +6.32% ต่อปี 
  • HSI TR ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี +0.57% ต่อปี 
  • TOPIX TRI ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี +8.47% ต่อปี
  • SET TRI ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี +4.03% ต่อปี 
  • S&P 500 TRI ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี +12.03% ต่อปี 
  • VNI TR ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี +11.02% ต่อปี 

แล้วเราลองมาดูตารางผลตอบแทนดัชนีตลาดหุ้นย้อนหลัง 10 ปี แทนที่เราจะหาว่าหุ้นตัวไหนถูกหรือแพงอย่างเดียว เราลองมองภาพใหญ่ว่า ปีนี้ตลาดหุ้นประเทศไหนถูกแพง เราควรจะลงทุนตลาดหุ้นไหนแล้วมีโอกาส คุณก็จะสร้างผลตอบแทนได้ดี 

มันเป็นสิ่งที่ผมตื่นเต้นมากๆ เพราะถ้าเรามีวิธีวิเคราะห์หลักการที่ดีและดูรายประเทศได้ คุณจะเห็นโอกาสมหาศาล หลักการคิดเหมือนหาหุ้นดีราคาถูก ถ้าเราจะเปลี่ยนเป็นประเทศ เราจะมองว่าเศรษฐกิจดี พื้นฐานดี ราคาหุ้นถูก แล้วคุณก็จะสามารถเลือกลงทุนรายประเทศได้ดีมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ Jitta ทำอยู่ข้างหลังบ้าน 

จากข้อมูลที่ว่า Jitta Ranking ทำผลตอบแทนได้ดีมากๆ ช่วงหลังวิกฤติ เช่นหลังวิกฤติโควิด หลังวิกฤติเงินเฟ้อสหรัฐฯ เพราะมันเป็นช่วงที่หุ้นดีๆ ถูกเทขาย ตลาดมีแต่หุ้นราคาถูก โอกาสที่จะทำกำไรได้เลยสูงมาก

บทพิสูจน์ Jitta Ranking หลังวิกฤติ

คุณเผ่า: Jitta Ranking ระยะยาวเราทำผลตอบแทนได้ดีอยู่แล้ว แต่คนที่ได้ผลตอบแทนสูงๆ มักจะลงทุนในช่วงวิกฤติพอดี เช่นลงในช่วงวิกฤติ Covid-19 หรือวิกฤติเงินเฟ้อ 

จากผลตอบแทนหลังวิกฤติก็จุดประกายไอเดียให้กับเราว่า ในเมื่อเรามีอัลกอริทึมที่ซื้อหุ้นดีราคาถูกได้แล้ว แล้วถ้าเราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ประเทศไหนมันน่าลงทุนตอนนี้ ประเทศไหนที่มีหุ้นดี ราคาถูกอยู่เยอะในตลาดหุ้น แล้วเราไปลงทุนในตลาดหุ้นนั้นๆ เราก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ อย่างในรูปนี้

คุณอ้อ: หมายความว่าเราจะได้เลือกลงทุนในช่วงวิกฤติของประเทศนั้นๆ แต่กำลังจะดีขึ้นในเร็ววัน

ยกตัวอย่างหาตลาดหุ้นน่าลงทุน 

คุณเผ่า: ยกตัวอย่างตลาดหุ้นจีนที่เราแนะนำไปตั้งแต่ปลายปีที่เราเห็นว่ามันเป็นโอกาสที่ดี 

  • ผลตอบแทน YTD ของดัชนี CSI 300 +4.46% 
  • จากจำนวนกองทุนจีนในประเทศไทยกว่า 121 กองทุน ผลตอบแทน YTD สูงสุดอยู่ที่ +12.95% ผลตอบแทน YTD ตำ่สุดอยู่ที่ -11.78% คิดออกมาเป็นผลตอบแทน YTD เฉลี่ย -1.30% 
  • จากจำนวน 121 กองทุน ชนะดัชนีไปเพียง 15 กองเท่านั้น 

เราลองมาดูว่า 5 อันดับแรกผลตอบแทนกองทุนจีน และ 5 อันดับสุดท้ายของผลตอบแทนกองทุนจีน เป็นอย่างไรกันบ้าง 

คุณเผ่า: แล้วเราลองมาทายกันว่า Jitta Ranking หุ้นจีน จะทำผลตอบแทนเป็นอย่างไรบ้าง 

  • ผลตอบแทนเฉลี่ย YTD ของ Jitta Ranking หุ้นจีน ทำผลตอบแทนอยู่ที่ +14.2%
  • ผลตอบแทนเฉลี่ย YTD ของ Jitta Ranking หุ้นเทคโนโลยีจีน ทำผลตอบแทนอยู่ที่ +14.96%

ถือว่าเราทำผลตอบแทนชนะดัชนีไปหลายเท่า ซึ่งอย่างที่บอกว่า นี่คือการลงทุนในช่วงวิกฤติ และนี่คือผลตอบแทนแค่ 3 เดือน เราอาจจะยังวัดอะไรไม่ได้ อาจจะต้องมาดูสิ้นปีกันอีกทีว่า Jitta Ranking หุ้นจีน และ Jitta Ranking หุ้นเทคโนโลยีจีน จะเติบโตไปอย่างไร แต่ถือว่าใน 3 เดือนนี้ Jitta Ranking หุ้นจีน ทำได้ดีมาก 

แต่ถ้าไปดูตามสถิติในช่วงหลังวิกฤติทั้งตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตลาดหุ้นเวียดนามที่เราทำมา ถ้าหุ้นจีนยังขึ้นต่อไป ดัชนีจีนบวกต่อไป +10-20% Jitta Ranking หุ้นจีนก็มีโอกาสขึ้นไปแตะ +30% ได้

คุณเผ่า: คำถามที่หลายคนอาจจะสงสัยคือ แล้วอะไรคือแนวคิดที่ทำให้ Jitta Wealth รู้ว่าตลาดหุ้นไหนลงทุนในช่วงวิกฤติ แล้วจะเติบโตไปได้

การหาโอกาสและทางเลือกในการลงทุนระยะยาว

คุณเผ่า: วิธีคิดที่ Jitta ใช้เลือกว่าเราจะลงทุนตลาดหุ้นไหน มีที่มาอย่างไร คอนเซปต์จะคล้ายกับการเลือกหุ้น คือดูหุ้นที่พื้นฐานดี และความถูกแพงของธุรกิจ ซึ่งในเรื่องของหุ้นเรามีพูดไว้ในไลฟ์ครั้งก่อนๆ หรือใน Jitta 101 ก็มีอธิบายไว้แล้ว 

ส่วนในกรณีที่เราจะดูว่าตลาดหุ้นไหนน่าลงทุน ก็ดูว่าในแต่ละตลาดมีหุ้นที่พื้นฐานดีมากๆ เป็นอย่างไร โดยเลือกธุรกิจที่ดีที่สุดในแต่ละประเทศมา 50 ตัวเพราะเป็นเหมือนตัวแทนตลาดประเทศนั้นๆ แล้วดูว่าใน 50 ตัว มีจำนวนหุ้นถูกและหุ้นแพงมากน้อยแค่ไหน 

หากหุ้นถูกมีเยอะกว่า แน่นอนว่าประเทศนี้น่าลงทุน 

คุณอ้อ: เพราะเรามอง 2 มุมไม่ใช่แค่ราคาถูก แต่ต้องเป็นธุรกิจที่ดีด้วย 

คุณเผ่า: สินทรัพย์ที่คุณภาพดี ราคามันไม่ควรจะถูกเพราะ ของดีคนมักจะแย่งกันซื้อ แต่ไม่ใช่กับหุ้น เพราะหุ้นที่พรีเมียมมากๆ คนกลัวเลยขายทิ้ง ทำให้ราคาถูก 

ยกตัวอย่างหุ้น Google 

หุ้น Google ที่คนทั้งโลกรู้อยู่แล้วว่าเป็นธุรกิจที่ดีมาก มีรายได้ที่เติบโตมั่นคงจากหลากหลายช่องทาง เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่มีความพรีเมียมสูง เพราะเติบโตตลอด มีกระแสเงินสดที่ดี เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในตัวแทนเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้เลย

ซึ่งหุ้นที่มีพื้นฐานดีแบบ Google เมื่อมาดูความถูกแพง โดยใช้หนึ่งในตัวชี้วัดอย่าง P/E (Price to Earnings Ratio) จะเห็นว่าในอดีต P/E ย้อนหลังของหุ้น Google สูงมาก ต่ำสุดอยู่ที่ 23.9 เท่า และสูงสุด 58.5 เท่า 

แต่ในปี 2565 ที่เราเคยบอกไว้ว่าหุ้นสหรัฐฯ ถูกมากๆ P/E หุ้น Google เหลือเพียง 19.4 เท่า โดยที่ธุรกิจยังแข็งแรงเติบโตดีอยู่ แต่กลับขายถูกที่สุดในรอบ 10 ปี จากปัจจัยอื่นๆ ที่มากระทบและทำให้นักลงทุนกลัว

นี่จึงเป็นข้อสรุปที่ได้ว่าหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงเวลานั้นเป็นตลาดหุ้นที่ราคาถูก เพราะขนาดหุ้นระดับท็อปในประเทศราคาตกลงมาได้แบบไม่มีเหตุผล เป็นวิธีการเปรียบเทียบว่าตลาดไหนน่าลงทุน จากสัดส่วนหุ้นถูกต่อหุ้นแพง จากจำนวนหุ้นคุณภาพระดับท็อปของประเทศนั้นๆ

คุณอ้อ: หุ้น Google ในปีนั้นราคาตกลงมามาก ก็ควรจะซื้อเพราะธุรกิจเติบโตอยู่

คุณเผ่า: ถ้าจะขายต้องรอให้ธุรกิจแย่ไม่ใช่ราคาหุ้นตก กลับกัน แต่คนมักจะขายเวลาที่หุ้นตก ซึ่งจริงๆ ถ้าหุ้นตกแต่ธุรกิจยังเติบโตขึ้นคุณก็ควรซื้อ   

และจากกรณีหุ้นสหรัฐฯ ที่เราได้ยกตัวอย่างหุ้น Google ปี 2565 ในจำนวนหุ้นคุณภาพดีที่สุด 50 ตัวพบว่ามีหุ้นที่ราคาถูกมากถึง 36 ตัว คิดเป็นอัตราส่วน 2.57 เท่า

ซึ่งจากอัตราส่วนแสดงให้เห็นว่าถ้าเราไปลงทุนในประเทศที่มีหุ้นถูกมากกว่าหุ้นแพง โอกาสที่เราจะลงทุนแล้วได้กำไรก็จะมีสูงกว่า 

และด้วยวิธีคิดแบบนี้เมื่อเรานำข้อมูลของแต่ละประเทศมาเรียงกัน ก็จะทำให้ทราบเลยว่าประเทศไหนมีแต้มต่อเยอะกว่า คือไปลงทุนแล้วมีโอกาสเจอหุ้นดีราคาถูกเยอะกว่า ก็สามารถทำผลตอบแทนได้ดีกว่า

อย่างเช่นเมื่อปี 2566 ที่เราแนะนำให้ลงทุน Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากมีจำนวนหุ้นดีราคาถูกเยอะมากๆ ทำให้ผลตอบแทนที่ออกมา Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ 42.39% ในขณะที่ดัชนี S&P 500 +24.20% 

ซึ่งไม่ใช่แค่เฉพาะ Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมาเยอะ แต่ Global ETF และ ธีมสหรัฐฯ ใน Thematic ก็ปรับบวกขึ้นมาเหมือนกัน เพราะโดยภาพรวมตลาดหุ้นมันถูก

ตลาดหุ้นที่น่าสนใจปี 2567

คุณอ้อ: นอกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ แล้วมีตลาดไหนที่น่าสนใจอีกบ้าง

คุณเผ่า: จากที่เราเคยแนะนำเมื่อปลายปีที่แล้ว และทำผลงานได้ดีในปลายปีนี้ นั้นก็คือจีน เพราะราคาถูกลงมากๆ เมื่อใช้ข้อมูลแบบเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ในปี 2565 มีอัตราส่วนหุ้นถูกต่อหุ้นแพง 2.57 เท่า ทำให้ในปีต่อมาตลาดหุ้นกลับตัวและ Jitta Ranking ก็ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม

แต่ตลาดหุ้นจีนในปี 2566 อัตราส่วนหุ้นถูกต่อหุ้นแพง สูงถึง 7.33 เท่า เท่ากับว่าในจำนวนหุ้นที่คุณภาพดีมากๆ 50 ตัว ที่คัดจากหลายๆ ธุรกิจ หลายๆ อุตสาหกรรมของประเทศจีน มีหุ้นราคาถูกถึง 44 ตัว

ซึ่งจากความเสี่ยงที่มีอยู่ทุกตลาดหุ้น ความน่าสนใจของตลาดหุ้นจีนคือมีโอกาสที่สูงมาก ที่คุณจะได้ผลตอบแทนที่ดี เพราะต่อให้คุณสุ่มลงทุนในหุ้นคุณภาพดี 50 ตัว มีโอกาสสูงมากที่คุณจะได้หุ้นราคาถูก

สะท้อนออกมาที่ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 2567 (YTD) Jitta Ranking หุ้นจีน +14.2% ในขณะที่ CSI300 +4.46% แม้หุ้นหลายตัวจะราคาปรับตัวขึ้นมา แต่โดยภาพรวมดัชนียังบวกขึ้นมาไม่มาก หลักจากที่ตกลงไปเยอะ เรียกได้ว่ายังไปต่อได้อีกไกล

ถัดมาอีกตลาดที่เราแนะนำก็คือ ตลาดหุ้นฮ่องกง เป็นอีกตลาดที่น่าสนใจ อัตราส่วนหุ้นถูกต่อหุ้นแพง ณ สิ้นปี 2566 อยู่ที่ 6.14 เท่า หุ้นถูก 43 หุ้น หุ้นแพง 7 หุ้น จากที่เราได้พูดไปในไลฟ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ หุ้นคุณภาพดีในตลาดฮ่องกง ยังถือว่าถูกมากๆ

เห็นได้ว่า ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 2567 (YTD) Jitta Ranking หุ้นฮ่องกง +6.87% ในขณะที่ดัชนี HSI ยัง -1.47% ซึ่งก็ต้องดูกันอีกยาวๆ ว่าสิ้นปีนี้ จนถึงปีหน้าจะเป็นอย่างไร

คุณอ้อ: จริงๆ น่าสนใจทั้ง 2 ตลาด ทั้งจีนและฮ่องกง 

คุณเผ่า: ถามว่ายังลงทุนหุ้นจีนได้ไหม ก็ต้องกลับมาเรื่องเดิมเวลาเลือกหุ้น ซึ่งก็เหมือนกับการเลือกประเทศ 

เวลาดูตลาดหุ้นเราต้องดู 2 อย่าง คือคุณภาพ ในมุมนี้คือ Productivity กรณีของบริษัทคือนำสินทรัพย์เปลี่ยนเป็นรายได้ เปลี่ยนเป็นกำไรได้แค่ไหน และไปดูมูลค่า ที่ก็ต้องเติบโตขึ้นตาม Productivity 

ในเชิงประเทศก็เหมือนกัน อย่างเช่นประเทศจีน Productivity ก็คือ GDP ในประเทศที่เติบโตมาเรื่อยๆ ปัจจุบันก็เป็นอันดับ 2 ของโลก แต่พอกลับไปดูตลาดหุ้นกลายเป็นว่าสวนทาง ซึ่งไม่สมเหตุสมผล และเหตุการณ์แบบนี้จะเป็นไปได้ไม่นาน 

ตรงกับหลักการ VI ที่คุณภาพยังโตไปเรื่อยๆ แต่ราคาลดต่ำลงจนถึงจุดนึงที่ความเสี่ยงมันคุ้มค่าที่จะลงทุน คือมีโอกาสที่หุ้นจะขึ้น มากกว่าตกเพิ่ม

นี่เป็นวิธีคิดอีกแบบหนึ่ง ซึ่งคล้ายกับวิธีคิดของ Jitta ที่เราแสดงให้ดู แต่ในแง่การลงทุน วิธีคิดของ Jitta จะตอบโจทย์ในด้านการลงทุนมากกว่าเพราะ เราเจาะจงที่หุ้นคุณภาพดี 50 อันดับแรกของตลาดเลย และในขณะที่บริษัทที่ดีมากๆ ทำผลงานได้ดีแต่ราคากลับสวนทาง กลายเป็นอะไรที่ไม่สมเหตุสมผลมากๆ กลายเป็นโอกาสดีที่น่าลงทุน 

กระจายความเสี่ยง สร้างล้านแรกด้วย ETF 

คุณอ้อ: แล้วถ้าเรายังเลือกไม่ได้อีกว่าจะลงตลาดหุ้นอะไร อยากลงไปหมดทุกอย่างมีวิธีไหนมั้ยที่เราจะลงทุนได้ทั่วโลก เพราะ Jitta Ranking ลงทุนขั้นต่ำที่ 500,000 บาท ถ้าลงทั้งหมดอาจจะต้องใช้ทุนค่อนข้างเยอะ 

คุณเผ่า: งั้นเรามาเริ่มต้นด้วยการสร้างล้านแรกกันก่อน 

ทางทีมงาน Jitta Wealth เคยทำข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเงินล้านแรกด้วย Global ETF และ Thematic Optimize เอาไว้ให้แล้วคุณสามารถวางแผนที่เหมาะสมได้เลย 

Q&A 

มีงบลงทุนเพียงประเทศเดียว ลงทุนในสหรัฐฯ อยู่ สนใจจีนและฮ่องกง ทำอย่างไรดี

ถ้ามีงบลงทุนเพียงประเทศเดียว ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีเศรษฐกิจที่เติบโตได้ มั่นคง แต่ fund flow อาจจะสูง และสำหรับตลาดหุ้นจีน ที่หุ้นถูก ผลตอบแทนสูง แต่อาจจะมีความเสี่ยงด้านการเมือง คาดเดาอนาคตยาก 

ถ้าจะให้ดีก็ควรกระจายความเสี่ยงด้วยการถือหุ้นสหรัฐฯ กับหุ้นจีน คู่กันเลย แต่ถ้าต้องเลือกจริงๆ จะเลือกถือหุ้นสหรัฐฯ เนื่องจากปลอดภัย และมั่นคงกว่า เหมาะแก่การลงทุนระยะยาว หรือไม่อย่างนั้นคือลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ไปก่อน และเก็บเงินเพิ่มเพื่อลงทุนในหุ้นจีนในเวลาต่อมา เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง และได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด

การ DCA พอร์ต Thematic DIY สม่ำเสมอ จะมีการ trim พอร์ตหรือไม่ อย่างไร

จริงๆ แล้ว การลงทุนในพอร์ต Thematic DIY และนักลงทุนสามารถเลือกธีมที่ชอบได้ 4 ธีม เงินที่ลงทุนจะถูกกระจายไปในแต่ละธีมอย่างเท่าๆ กันคือ 25% แต่ถ้ามีบางธีมที่ราคาเกิน 25% ระบบจะ trim เงินออกมากระจายให้ธีมอื่นๆ และปรับสัดส่วนให้แต่ละธีมมีเงินเท่าๆ กัน

ซึ่งในการ DCA ทุกเดือนนั้น ระบบก็จะทำเหมือนเดิม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจังหวะที่นักลงทุน DCA มา แล้วมีธีมใดธีมหนึ่งราคาขึ้นไปเกิน 25% และอีกธีมใดธีมหนึ่งราคาตกไปน้อยกว่า 25% เงินที่นักลงทุนเติมมาก็จะถูกนำไปกระจายเติมตัวที่สูงนิดเดียว และเติมตัวที่ราคาตกมากหน่อย

เพราะฉะนั้น แม้ว่าคุณจะ DCA ในพอร์ต Thematic DIY ระบบก็จะทำการ trim พอร์ตให้คุณโดยอัตโนมัติอย่างชาญฉลาด

การปรับพอร์ตทุก 3 เดือนของ Jitta Wealth กับการปรับพอร์ตทุกไตรมาสตามงบประมาณออก ผลลัพธ์ต่างกันอย่างไร

จริงๆ ผลลัพธ์ในภาพใหญ่ไม่ได้ต่างกันมาก แม้ทฤษฎีคือการปรับพอร์ตหลังงบประมาณออกจะได้ผลดีที่สุด แต่ในทางปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากแต่ละแห่งออกงบประมาณ และปิดงบประมาณไม่พร้อมกัน เป็นเรื่องยากถ้าจะปรับตามนั้น

ซึ่งถ้าอยากลงทุนให้มีประสิทธิภาพที่สุด ต้องใช้หลักการ DCA อย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้คุณได้ซื้อหุ้นทุกเดือนและไ้ด้รับผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งปี โดยไม่ต้องคาดการณ์ว่าควรจะปรับพอร์ตตอนไหน

DCA ใช้เงินแค่ไหนดี แล้วตอนไหนถึงจะเหมาะสม

คำตอบที่ดีที่สุดคือ DCA ด้วยจำนวนเงินและเวลาที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน คุณจะ DCA เมื่อไหร่ก็ได้ ตามที่คุณสะดวก เท่าไหร่ก็ได้ ตามที่คุณไม่เดือดร้อน และสิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ การหาเงินมา DCA ได้อย่างไร และตัวคุณจะสามารถ DCA ได้อีกนานแค่ไหน

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด