Jitta Wealth Journal - เงินบาทแข็งค่าต่อ หนุนลงทุนต่างประเทศ

16 พฤศจิกายน 2564Jitta WealthJitta Wealth Journal

ลุ้น China Evergrande จ่ายดอกเบี้ยคืน

Jitta Wealth Journal ฉบับที่ 51 ประจำวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 มีความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นทั่วโลกและข่าวสารต่างๆ มาอัปเดตให้คุณ ดังนี้

  • เงินทุนไหลเข้า เงินบาทยังแข็งค่าต่อ
  • ภาวะเงินเฟ้อพุ่งทั่วโลก จับตาดอกเบี้ยขาขึ้น
  • China Evergrande จ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้คืน
  • เงินสะพัดชอปปิงวันคนโสด หนุนอีคอมเมิร์ซโต
  • JD.com เพิ่มการลงทุน เตรียมบุกยุโรปและเวียดนาม
  • Goldman Sachs คาดตลาดหุ้นจีนโตปี 2565
  • Meta จับมือกับ Microsoft พัฒนาระบบทำงานในองค์กร
  • Google มาร์เก็ตแคปทะลุ 2 ล้านล้าน
  • BioNTech รายได้พุ่งเกือบ 100 เท่า
  • หุ้น Johnson & Johnson ขึ้น หนุนปรับธุรกิจ

ไปติดตามกันได้เลย


Jitta Wealth

ส่งต่อความสุข…ชวนเพื่อน ‘ลงทุนกัน รับขวัญปีใหม่’

มอบโอกาสลงทุนให้คนที่คุณรัก รับรางวัลสำหรับทุกการแบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นเครดิตค่าธรรมเนียมสูงสุด 1,500 บาท และของขวัญคอลเล็กชันพิเศษจาก Jitta Wealth ได้แก่ เสื้อยืด Jitta สีดำรุ่นคลาสสิกและกระเป๋า ‘น้องเสือนอนกิน’

พร้อมสิทธิ์ลุ้นรับเงินลงทุนรวม 200,000 บาท เพียงแนะนำเพื่อนเปิดบัญชีลงทุนกับ Jitta Wealth ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน ถึง 25 ธันวาคม 2564 นี้เท่านั้น

อ่านรายละเอียดกิจกรรม


Jitta Wealth

Thematic Optimize พร้อมให้ลงทุนแล้ววันนี้

ไม่รู้จะลงทุนกับธีมเมกะเทรนด์ไหนดี วางใจ AI ช่วยจัดการ 

#เลือกให้ถูก Thematic Optimize เลือกให้

ครั้งแรกในประเทศไทย AI ช่วยจัดพอร์ตด้วยเมกะเทรนด์น่าลงทุน
ทดสอบผลตอบแทนย้อนหลังสูงถึง 25%* ต่อปี

เปิดพอร์ต Thematic Optimize

*ผลตอบแทนทบต้นจากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 – 31 สิงหาคม 2564


เงินทุนไหลเข้า เงินบาทยังแข็งค่าต่อ 

สัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือนที่ 32.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับทิศทางเงินทุนไหลเข้า โดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิพันธบัตรไทยประมาณ 47,600 ล้านบาท ช่วงวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า แนวโน้มเงินบาทแข็งค่ามีอานิสงส์จากแรงขายเงินดอลลาร์สหรัฐของกลุ่มผู้ส่งออกตามจังหวะการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลก

กูรูจากธนาคารพาณิชย์ประเมินทิศทางค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ไว้ที่ 32.50-33.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ (ธนาคารกสิกรไทย) โดยธนาคารกรุงไทยรายว่า เปิดสัปดาห์ยังแข็งค่าต่อที่ 32.74 บาท

ปัจจัยที่มีผลต่อทิศทางอัตราแลกเปลี่ยน คือ ตัวเลข GDP ไทยไตรมาสที่ 3 และความกังวลของตลาดการเงินการลงทุนต่อตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ และภาวะเงินเฟ้อพุ่งทั่วโลก

ความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะแข็งค่าหรืออ่อนค่า จริงๆ แล้วไม่ได้มีผลมากนักต่อการจับจังหวะลงทุนต่างประเทศเลย เพราะในรอบ 1 ปี ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวขึ้นๆ ลงๆ ตามอุปสงค์และอุปทานทั่วโลกอยู่แล้ว

การทยอยลงทุนเป็นช่วงๆ หรือ DCA (Dollar Cost Averaging) จะช่วยให้คุณเฉลี่ยต้นทุน และเอาชนะความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนได้ แต่ในช่วงที่เงินบาทจะยังแข็งค่าในระยะสั้น…เป็นโอกาสที่คุณเริ่มลงทุนต่างประเทศหรือเพิ่มทุน เพื่อเฉลี่ยต้นทุนได้


ภาวะเงินเฟ้อพุ่งทั่วโลก จับตาดอกเบี้ยขาขึ้น

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดในรอบ 31 ปี โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 6.2% จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว มากกว่านักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ 5.9%

ราคาสินค้าต่างๆ ในสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะราคาน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นถึง 6.1% ในระยะเวลาสั้นๆ จากสถานการณ์ดังกล่าวเป็นไปได้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ 

ด้านรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ Janet Yellen บอกว่า ภาวะเงินเฟ้อพุ่งแรงๆ จะอยู่ไม่เกินปี 2565 และมั่นใจว่า ปัญหาสินค้าราคาพุ่งสูงจากภาวะเงินเฟ้อ จะไม่เกิดซ้ำรอยแบบปี 2513 ด้านประธานาธิบดี Joe Biden ประกาศชัดว่า การจัดการปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในเวลานี้ ถือเป็นภารกิจสำคัญลำดับแรกของรัฐบาล

ไม่ใช่แค่สหรัฐฯ ที่มีภาวะเงินเฟ้อเร่งตัว อีกฟากฝั่งอย่างจีน รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 13.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ขณะที่ดัชนี CPI ในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 1.5% เป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนที่ดัชนีขยับขึ้น

สิ่งที่นักวิเคราะห์กังวลในภาวะเงินเฟ้อเร่งตัว คือ ต้นทุนราคาของผู้ผลิตจะถูกถ่ายโอนไปให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายแบกรับภาระ หากสินค้าคงคลังหมดลง และต้องสั่งซื้อสินค้าทุนเข้ามาใหม่ รวมทั้งปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนส่งผลต่อต้นทุนราคาที่สูงขึ้น

ประเมินกันว่า ปัญหาเงินเฟ้อในจีนมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เพราะต้นทุนราคาพลังงาน โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กระทรวงพาณิชย์จีนมีคำสั่งส่งตรงถึงรัฐบาลท้องถิ่น เตือนประชาชนให้เก็บตุนอาหารและข้าวของเครื่องใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน เนื่องจากปัญหาอากาศเลวร้าย การขาดแคลนพลังงาน และการแพร่ระบาด Covid-19 จะกระทบต่อซัปพลายในตลาด

ผลที่ตามมาจากภาวะเงินเฟ้อเร่งตัว ไม่ว่าจะมาจากอุปทาน (Cost Push) หรืออุปสงค์ (Demand Pull) ล้วนเป็นปัจจัยให้ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น เพื่อบรรเทาความร้อนแรง

แต่ไม่ว่าการตัดสินใจของธนาคารกลางจะเป็นไปในทิศทางไหน ล้วนเป็นสิ่งที่คุณคาดการณ์ไม่ได้ ในวันที่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลต่อความเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นและตราสารหนี้ในระยะสั้นอย่างแน่นอน


Positioning

FinTech vs TechFin ความต่างขั้วที่มาบรรจบกันเพื่อเปลี่ยนโลกการเงิน

FinTech เทคโนโลยีการเงิน กับ TechFin การเงินที่ใช้เทคโนโลยี แตกต่างกันอย่างไร อะไรคือนวัตกรรมการเงิน อะไรคือการต่อยอดด้วยเทคโนโลยี แล้วโอกาสลงทุนในธีมธุรกิจนี้อยู่ตรงไหน

อ่านต่อ


Fintech ไทย

Live: Fintech ไทยไขเทรนด์ Fintech โลก 

ครั้งแรกของ 3 ผู้นำสตาร์ตอัปฟินเทคสัญชาติไทย ไขทุกประเด็นในอุตสาหกรรมฟินเทคในไทยและทั่วโลก ปูพื้นฐาน ไปจนถึงทิศทางการเติบโตในอนาคต ให้เข้าใจกันแบบทะลุปรุโปร่งว่า ทำไมธีมฟินเทคถึงเป็นเมกะเทรนด์อนาคตไกล

พบกันวันพุธที่ 17 พ.ย. 2564 เวลา 19.00 น.

กด ‘Going’ เพื่อรับการแจ้งเตือน


สถานการณ์จากจีน

China Evergrande จ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้คืน

China Evergrande เริ่มกลับมาทยอยจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ลงทุนหุ้นกู้ของบริษัทแล้ว มีแนวโน้มที่จะรอดพ้นสถานะผู้ผิดนัดชำระหนี้ไปได้อย่างหวุดหวิด ส่งผลให้วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีนจะมีทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ราคาหุ้นกู้ของ China Evergrande ขยับขึ้นจากระดับต่ำสุด 

อย่างไรก็ตามทางการจีนยังคงเรียกร้องให้ Hui Ka Yan ผู้ก่อตั้งบริษัทช่วยปลดภาระหนี้สินของ China Evergrande ด้วยทรัพย์สินส่วนตัว

ที่ผ่านมาทางการจีนพยายามอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตภาคอสังหาริมทรัพย์และการผิดนัดชำระหนี้ของ China Evergrande และทางการจีนพยายามช่วยกันแก้ปัญหา เพื่อทำให้ตลาดกลับมาสู่สภาวะปกติอีกครั้ง

แม้ว่า China Evergrande ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุนใน Jitta Ranking และ Thematic แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีผลกระทบต่อตลาดหุ้น ภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคการเงิน รวมไปถึงภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพราะเป็นบริษัทรายใหญ่อันดับ 2 ของจีน 

ด้วยแนวทางกำกับดูแลของทางการจีน จะไม่ปล่อยให้วิกฤตส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง จนทำให้เสาใดเสาหนึ่งล้มลงไป สุดท้ายแล้วทางการจีนต้องเข้ามาจัดการปมปัญหา เพื่อไม่ให้กระทบต่อเศรษฐกิจจีนในอนาคต

เงินสะพัดชอปปิงวันคนโสด หนุนอีคอมเมิร์ซโต

ผู้บริโภคชาวจีนทำยอดใช้จ่ายในช่วงเทศกาลคนโสดมากกว่า 139,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึงแม้ว่าในช่วงที่ Covid-19 กลับมาระบาดอีกครั้ง ทำให้ใช้จ่ายจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับภาวะปกติ  

ด้วยยอดใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทำให้หุ้นอีคอมเมิร์ซอย่าง Alibaba และ JD.com พุ่งขึ้น 2-5% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และวันคนโสดกลายมาเป็นเทศกาลชอปปิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเอาชนะ Black Friday และ Cyber Monday ของสหรัฐฯ ได้

JD.com เพิ่มการลงทุนในต่างประเทศ

JD.com เตรียมแผนเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศ เป็นพยายามเข้าถึงผู้ใช้งานจากต่างประเทศ แต่การขยายการลงทุนของ JD.com ยังไม่มากเท่า Alibaba และอีคอมเมิร์ซจากจีนกำลังจะท้าทายยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon 

แผนการขยายการลงทุนเป็นยุทธศาสตร์ของ JD.com โดยจะเข้าไปลงทุนเองหรือหาพาร์ตเนอร์เพื่อลงทุนร่วมกัน เป็นการลงทุนผ่านการขยายคลังสินค้า พัฒนาระบบโลจิสติกส์ และสร้างห่วงโซ่อุปทาน มุ่งเป้าหมายตลาดใหม่ๆ อย่างยุโรปและเวียดนาม 

แม้ว่าปี 2564 หุ้นอีคอมเมิร์ซหลายตัวมีราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่อย่าลืมว่าพฤติกรรมผู้ใช้งานเปลี่ยนไปแล้ว ต่อให้ Covid-19 จบลง ผู้คนทั่วโลกยังคงใช้บริการอีคอมเมิร์ซอยู่ดี นี่ต่างหาก คือ ศักยภาพเติบโตในระยะยาวของธีมอีคอมเมิร์ซ

คาดตลาดหุ้นจีนฟื้นชัดปี 2565

Goldman Sachs หนุนลงทุนตลาดหุ้นจีน เชื่อในศักยภาพเติบโต หลังจากทางการจีนเริ่มผ่อนคลายการตรวจสอบและปราบปราม คาดว่า ตลาดหุ้นจีนจะกลับมาเติบโตถึง 16% ในอีก 1 ปีข้างหน้า

ทางการจีนเริ่มใช้แนวทางการกำกับดูแลนุ่มนวลมากขึ้นกับหุ้นเทคโนโลยีจีน รวมไปถึงหุ้นในกลุ่มอื่นๆ โดยจะช่วยลดแรงกดดันต่อตลาดหุ้นจีน เพื่อให้กลับมาอยู่ในภาวะปกติ และข่าวนี้ทำให้ดัชนี Hang Seng (HSI) และ Hang Seng Tech (HSTECH) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2% และ 0.9% ตามลำดับในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

เศรษฐกิจจีนมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแรง เอื้อต่อการเติบโตในระยะยาว ช่วงที่ตลาดหุ้นขาลงเกิดจากมาตรการปราบปรามของทางการจีน แต่ศักยภาพการเติบโตของบริษัทไม่ได้หายไหน 

ยิ่งรัฐบาลเริ่มมีท่าทีผ่อนคลาย โอกาสที่ตลาดหุ้นจะกลับมาฟื้นตัวในปี 2565 มีสูงมาก ดังนั้นหุ้นจีนยังเป็นการลงทุนต่างประเทศที่น่าสนใจ และมีหุ้นพื้นฐานดีราคาถูกเยอะมาก


วางแผนโสด

11 คำแนะนำ วางแผนโสดอย่างสบายใจ

ต้อนรับเทศกาล 11.11 วันคนโสด (Singles’ Day) โสดแล้วดี…มีอยู่จริง กับ 11 คำแนะนำ วางแผนโสดอย่างสบายใจ มีพร้อมทั้งการงาน การเงิน สุขภาพ และความสุขในบั้นปลายชีวิต

อ่านต่อ 


หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ 

Meta จับมือกับ Microsoft พัฒนาระบบสื่อสารในองค์กร

Meta ร่วมมือกับ Microsoft พัฒนาระบบที่ใช้สื่อสารในองค์กร เหมือนการเชื่อมแพลตฟอร์มของทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกัน โดยผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเนื้อหาของ Workplace ผ่านระบบ Microsoft Teams และสามารถดูการประชุมทางวิดีโอของ Microsoft Teams ผ่านระบบ Workplace ได้เช่นเดียวกัน

การร่วมมือในครั้งนี้จะไม่กระทบต่อการเติบโตของทั้ง 2 บริษัท เพราะการใช้งานของ Workplace และ Microsoft Teams ไม่ได้แบบทับซ้อนกันทั้งหมด โดย Workplace จะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมต่อวงกว้างของทั้งองค์กร ในขณะที่ Microsoft Teams จะเน้นที่การสื่อสารในทันทีระหว่างผู้ปฏิบัติงานโดยตรง 

ความร่วมมือนี้ ประโยชน์จะตกอยู่กับผู้ใช้งานเต็มๆ ไม่ได้ผูกขาดการใช้งานในบิ๊กเทคเจ้าใดเจ้าหนึ่ง และคาดว่า จะร่วมมือกันอีกในอนาคต 

สำหรับเทคโนโลยี Metaverse ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ ซึ่งทั้ง Meta และ  Microsoft มีความสนใจในการพัฒนาเช่นกัน 

Google มาร์เก็ตแคปทะลุ 2 ล้านล้าน

Alphabet สร้างประวัติศาสตร์มีมาร์เก็ตแคปแตะ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นบริษัทที่ 3 ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตาม Apple และ Microsoft เนื่องจากรายได้ของไตรมาสที่ 3 ในปี 2564 ที่พุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดถึง 65,118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มูลค่าบริษัทเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

จากการแพร่ระบาดของ Covid-19 บริษัทต่างๆ ทั่วโลกเริ่มปรับรูปแบบองค์กร ใช้เทคโนโลยีคลาวด์และทำงานระยะไกลมากขึ้น ทำให้บริษัทลูกอย่าง Google ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ และมีรายได้ค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นบนแพลตฟอร์ม Google Search และ Youtube 

ส่งผลให้ Google เป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุดในบรรดาบิ๊กเทคของสหรัฐฯ และยังมีศักยภาพจะเติบโตขึ้นอีกในอนาคต 

หากคุณสนใจจะลงทุนในหุ้นเมกะแคป ไม่ว่าจะเป็น Meta Microsoft และ Alphabet เลือกลงทุน Thematic DIY จัดพอร์ตเลือกธีมตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้


Passive Way

คว้าโอกาส ‘ลงทุนต่างประเทศ’ ง่ายๆ ด้วย ETF ตอนที่ 1

โอกาสลงทุนไม่ได้มีแค่ในไทย เดี๋ยวนี้…ใครๆ ก็พูดถึง ‘ลงทุนต่างประเทศ’ และ ETF เป็นเครื่องมือการลงทุนที่น่าสนใจ มาสร้างพอร์ตลงทุนด้วย ETF ไปด้วยกันกับตอนที่ 1 ประเภทสินทรัพย์ที่ ETF เลือกลงทุน

อ่านต่อ


เฮลท์แคร์และจีโนมิกส์

BioNTech รายได้พุ่งเกือบ 100 เท่า

BioNTech ทำรายได้ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 โตเกือบ 100 เท่า อยู่ที่ 6,100 ล้านยูโร จากยอดขายวัคซีน Covid-19 พัฒนาร่วมกับ Pfizer ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 3,200 ล้านยูโร 

บริษัทยังคงมุ่งมั่นผลิตวัคซีนที่จำเป็นและจัดสรรวัคซีนให้อย่างเท่าเทียมกัน ตอบสนองความต้องการของหลายๆ ประเทศ พร้อมทั้งมีความมุ่งหวังในการพัฒนาวัคซีนให้สามารถฉีดให้เด็กในอนาคต

ปัจจุบัน BioNTech และหุ้นส่วนทางการค้าได้ส่งวัคซีนให้กว่า 150 ประเทศทั่วโลก และมีแนวโน้มจะเพิ่มกำลังการผลิตด้วย เพื่อให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงวัคซีนและแก้ปัญหาวิกฤตโรคระบาดอย่างยั่งยืน 

หุ้น Johnson & Johnson ขึ้น หนุนปรับธุรกิจ

Johnson & Johnson เตรียมแยกธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคออกจากธุรกิจยาและการแพทย์ เป็นการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 135 ปี 

สาเหตุ คือ ลูกค้าของทั้ง 2 ธุรกิจมีความแตกต่างกันอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังจากการประกาศแยกธุรกิจส่งผลให้หุ้น Johnson & Johnson ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5%

มีแนวโน้มว่า บริษัทจะนำธุรกิจอุปโภคบริโภคมาทำ IPO (Initial Public Offering) อีกครั้ง แต่ยังไม่มีกำหนดที่แน่ชัด การแยกธุรกิจจะทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกสินค้าได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

นอกจาก Johnson & Johnson แล้ว บริษัทยาอย่าง Pfizer และ Merck เคยทำแผนแยกธุรกิจมาแล้วเช่นเดียวกัน

อุตสาหกรรมเฮลท์แคร์และจีโนมิกส์ยังคงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นธุรกิจที่อิงกับปัจจัย 4 ของมนุษย์ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน หากคุณเชื่อมั่นในโอกาสเติบโตระยะยาว ลงทุนใน Thematic DIY เลือกธีมเฮลท์แคร์และจีโนมิกส์ได้


Passion Talk x Jitta Wealth

Passion Talk EP.32 ‘Jitta Wealth’ บทเรียนจากความล้มเหลวที่ไม่ล้มเลิก

บทสัมภาษณ์คุณตราวุทธิ์ในฐานะผู้ก่อตั้ง Jitta และ CEO ของ Jitta Wealth ได้เล่าถึงมุมมองการสร้างธุรกิจ โดยเริ่มจากพัฒนาแพลตฟอร์มวิเคราะห์หุ้น จนได้ใบอนุญาตบริหารกองทุนส่วนบุคคล นี่คือ แรงบันดาลใจในและทิศทางธุรกิจของคุณตราวุทธิ์

อ่านต่อ 

ดูวิดีโอ 


นี่คือ ข่าวสารจากทุกมุมโลกจาก Jitta Wealth Journal ที่ทีมงานสรุปมาให้คุณได้ติดตามไปพร้อมกับเรา หลังจากที่ Fed มีไทม์ไลน์ลดวงเงิน QE แต่ภาพกระแสเงินทุนเปลี่ยนทิศทางยังไม่ชัดเจนมาก

เพราะเงินทุนไหลเข้าไทยยังมีอยู่ ส่งผลให้ค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อ ล่าสุดสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานตัวเลข GDP ไทยไตรมาสที่ 3 ติดลบน้อยลงเหลือ 0.3% และ 9 เดือนแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยเติบโต 1.3% 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว อาจจะหนุนให้มีเม็ดเงินลงทุนเข้าไทย ดังนั้นค่าเงินบาทส่งท้ายปี 2564 อาจจะอยู่ในกรอบแข็งค่าไปสักระยะ แม้ว่าการลงทุนจะเริ่มต้นได้ตลอดเวลา หากคุณต้องการใช้จังหวะเงินบาทแข็งค่า ลงทุนช่วงนี้ได้

แล้วพบกันสัปดาห์หน้า


อ่าน Jitta Wealth Journal ย้อนหลัง

Journal Wealth Journal – ลดวงเงิน QE ค่าเงินบาทจะแข็งหรืออ่อน 

Journal Wealth Journal – วิกฤตชิป ดันมาร์เก็ตแคป Microsoft แซงหน้า Apple 

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด