5 ทางเลือก เมื่อ LTF ครบกำหนด ลงทุนอะไรต่อดี

30 มีนาคม 2565Global ETFJitta RankingJitta WealthThematic

ไฮไลต์

  • LTF (Long Term Equity Fund) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นสินทรัพย์การเงินที่รัฐบาลต้องการให้คนไทยออมเงินระยะยาว โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่ได้ยกเลิกไปแล้ว
  • เงินลงทุน ‘LTF ครบกำหนด’ ก้อนสุดท้ายจะอยู่ในช่วงปี 2565-2568 คุณสามารถเลือกได้ว่า จะถือครองต่อหรือขายคืน เพื่อนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์การเงินอื่นๆ นำเงินไปจ่ายเงินกู้ธนาคาร หรือไปใช้จ่ายด้านอื่นๆ
  • คุณลงทุนต่อใน LTF ได้ แต่ถ้าคุณต้องการหาสินทรัพย์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้เงินงอกเงย ขาย LTF ครบกำหนด แล้วหาสินทรัพย์อื่นๆ ลงทุนต่อ คือ กลยุทธ์ Reinvestment นั่นเอง
  • ทางเลือกลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth สามารถเริ่มต้นจากพอร์ต Global ETF และ Thematic กรณีมีเงินก้อนเริ่มต้น 50,000 บาท และทยอยเพิ่มทุนครั้งละ 10,000 บาทได้ กรณีขาย ‘LTF ครบกำหนด’ ในปีต่อๆ ไป แต่กองทุนส่วนบุคคลจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • หากต้องการลงทุนต่อ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี คุณสามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF – Super Saving Fund) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF – Retirement Mutual Fund) ได้เช่นเดียวกัน

ทางเลือกในการวางแผนการเงินของคนไทย ที่ถูกพูดถึงทุกๆ ปี นั่นก็คือ การลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ด้วยวัตถุประสงค์ของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมให้คนไทยเก็บออมเงิน สร้างความมั่งคั่งในระยะยาว จึงให้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งมีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป ได้แก่ 

  • ประกันชีวิต ประกันสะสมทรัพย์ ประกันสุขภาพ และประกันบำนาญ
  • กองทุนประกันสังคมและกองทุนการออมแห่งชาติ
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF – Retirement Mutual Fund) 
  • กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF – Super Saving Fund) 

ก่อนหน้านี้ เคยมีการลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF – Long Term Equity Fund) คนไทยได้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามานานถึง 15 ปี 

และปี 2565 เป็นปีที่เงินลงทุนใน LTF จะครบกำหนดเงื่อนไขระยะเวลาถือครอง 7 ปีปฏิทินเป็นปีแรก หากคุณกำลังตัดสินใจว่า เงินก้อนที่ลงทุนใน ‘LTF ครบกำหนด’ แล้วจะทำอย่างไรดี ถือต่อ ขายออก หรือหาทางเลือกการลงทุนใหม่ๆ ลองอ่านบทความนี้…ก่อนตัดสินใจ

LTF ครบกำหนด คืออะไร

หากคุณซื้อหน่วยลงทุน LTF ในปี 2562 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คุณสามารถขายหน่วยลงทุนในช่วงเวลาไหนก็ได้ในปี 2568 

มันคือการนับระยะเวลาการถือครอง 7 ปีปฏิทิน เป็นเงื่อนไขที่เริ่มใช้เมื่อปี 2559 ดังนั้นหากคุณลงทุนในปีนั้น เงินก้อนแรกจะครบเงื่อนไขในปี 2565 นั่นเอง

โดยที่ก่อนหน้านี้ เงื่อนไขการถือครองหน่วยลงทุน LTF อยู่ที่ 5 ปีปฏิทิน

LTF หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นสินทรัพย์การเงินที่กระทรวงการคลัง มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนผ่านกองทุนรวม และเพื่อสร้างเสถียรภาพให้ตลาดหุ้นไทย โดยเริ่มให้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา

นโยบายการลงทุนของ LTF คือ ลงทุนในหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา รัฐบาลยกเลิกสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการลงทุน LTF แต่เงื่อนไขการถือครองให้ครบ 7 ปีปฏิทินยังเหมือนเดิม

นั่นหมายความว่า หากคุณมีเงินลงทุนใน LTF อยู่ เมื่อครบกำหนดแล้ว คุณจะมีทางเลือก ดังนี้ 

  • ถือครองต่อไป ถ้ามีกำไรจากเงินลงทุน คุณสามารถปล่อยให้เงินทำงานต่อได้ หากคุณยังเชื่อมั่นใน LTF ที่เลือก และไม่รีบใช้เงินก้อนนี้ ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุนอยู่ก็ตาม
  • รับเงินค่าขายคืน กรณีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นั้น ยกเลิก LTF
  • ขายคืน เมื่อต้องการลงทุนในสินทรัพย์การเงินอื่นๆ เช่น SSF ที่มาแทน LTF เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อไป มีเงื่อนไขถือครอง 10 ปี หรือ RMF เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกัน แต่มีเงื่อนไขถือครองไปจนถึงอายุ 55 ปี และลงทุนต่อเนื่องทุกปี 

นอกจากนี้คุณสามารถเลือกลงทุนในหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างความมั่งคั่ง ตามความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้

หากคุณต้องการขายคืน เพื่อนำเงินก้อนจากการลงทุนมานาน 7 ปี มาใช้จ่าย หรือไปจ่ายหนี้สินต่างๆ เช่น เงินกู้ซื้อบ้าน เพื่อลดต้นลดดอกเบี้ย ปลดภาระทางการเงินได้เร็วขึ้น ก็ทำได้เช่นกัน

ดังนั้น เงินลงทุนใน LTF ตั้งแต่ปี 2559-2562 คุณอาจจะเริ่มวางแผนตั้งแต่ช่วงปี 2565-2568 ว่าจะทำอย่างไรกับเงินก้อนนี้ดี

Jitta Wealth จะพาคุณไปหาคำตอบและวางแผนการเงิน รวมไปถึงเปรียบเทียบจุดเด่นและข้อจำกัดในรูปแบบการลงทุนอื่นๆ เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น 

ส่อง 5 รูปแบบการลงทุน เมื่อ LTF ครบกำหนด 

คุณมีทางเลือกในการลงทุนเสมอ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การเลือกแผนการลงทุนที่ตรงกับความต้องการของคุณ ความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้ และผลตอบแทนตามที่คุณคาดหวัง

LTF ถือเป็นสินทรัพย์การเงินในรูปแบบของกองทุนรวมประหยัดภาษี ตามหลักการสร้างความมั่งคั่งระยะยาว คือ การทำให้เงินลงทุนงอกเงยต่อ สร้างผลตอบแทนทบต้น 

หากคุณยังมั่นใจในสินทรัพย์เดิม คือ LTF คุณลงทุนต่อได้ แต่ถ้าคุณต้องการหาสินทรัพย์ใหม่ๆ ที่มองว่า จะเพิ่มโอกาสบริหารความมั่งคั่งได้ดีขึ้น ขาย LTF ครบกำหนด แล้วหาสินทรัพย์อื่นๆ ลงทุนต่อ ซึ่งก็คือ กลยุทธ์ Reinvestment (ลงทุนต่อ) นั่นเอง

ทีมงาน Jitta Wealth รวบรวม 5 ทางเลือก หากคุณต้องการขายเงินลงทุน LTF ครบกำหนด คุณมีทางเลือกมากมาย ดังนี้

ลงทุนในกองทุนส่วนบุคคล

Jitta Wealth หวังว่า เราจะเป็นทางเลือกของคุณ หากคุณต้องการสร้างความมั่งคั่งระยะยาว ไปกับสินทรัพย์ที่ดี มีคุณภาพ คัดสรรและวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์) และพัฒนาระบบลงทุนอัตโนมัติ (Automated Investing) เพื่อมาช่วยในการจัดพอร์ตลงทุนให้มีประสิทธิภาพ ด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำที่สุด

เงินลงทุนใน LTF ของคุณแต่ละปี มีเกณฑ์อยู่ว่า ลงทุนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้นไม่ว่าคุณจะมีฐานภาษีเท่าใด เงินก้อนแต่ละปีที่คุณจะขาย ‘LTF ครบกำหนด’ ได้ จะไม่สูงกว่า 500,000 บาท

LTF ครบกำหนด

หากคุณมีพอร์ตลงทุนกับ Jitta Wealth อยู่แล้ว และไม่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกองทุนรวม คุณมีทางเลือก ดังนี้

  • Global ETF กับ Thematic เงินลงทุน LTF ที่ขายในแต่ละปีมากกว่า 10,000 บาท คุณสามารถเพิ่มทุนเข้ามาในพอร์ตได้เลย และปล่อยให้เงินทำงานต่อจากการลงทุนใน ETF ต่างประเทศโดยตรง
  • Jitta Ranking เงินลงทุน LTF ที่ขายในแต่ละปีมากกว่า 100,000 บาท คุณสามารถเพิ่มทุนเข้ามาในพอร์ตได้เลย และปล่อยให้เงินทำงานต่อจากการลงทุนใน หุ้นดี ราคาถูก มีโอกาสเติบโต ไม่ว่าจะเป็นหุ้นไทย เวียดนาม จีน และสหรัฐฯ รวมไปถึงหุ้นรายอุตสาหกรรม อย่างเทคโนโลยีสหรัฐฯ 

หากต้องการเริ่มต้นลงทุนกับ Jitta Wealth และไม่ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกองทุนรวม คุณมีทางเลือก ดังนี้ 

  • กรณีเงินลงทุน LTF ที่ขายในแต่ละปียังไม่ถึง 50,000 บาท เพิ่มเงินให้ถึงขั้นต่ำ เพื่อลงทุนใน Global ETF หรือ Thematic และเริ่มต้นวางแผนการเงิน เพิ่มทุนต่อเนื่องได้เลย
  • หากเงินลงทุน LTF ที่ขายในแต่ละปีมากกว่า 50,000 บาท เปิดพอร์ต Global ETF หรือ Thematic คุณอาจจะวางแผนเพิ่มว่า ปีต่อๆ ไป เงินลงทุนจาก LTF ครบกำหนด จะเอาเข้ามาเพิ่มทุนในกองทุนส่วนบุคคลต่อไปก็ได้
  • ถ้าเงินลงทุน LTF ที่ขายในแต่ละปีหรือรวมกันเท่ากับ 500,000 บาท เปิดพอร์ต Jitta Ranking ไทย เลือก ‘หุ้นดีราคาถูก’ ในตลาดหุ้นไทย

ความน่าสนใจหากคุณนำเงินลงทุน LTF มาลงทุนต่อในกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth มีมากมาย เช่น 

  • คุณมีโอกาสเป็นเจ้าของหุ้นและ ETF ในต่างประเทศโดยตรง เพราะแผนการลงทุนส่วนใหญ่ของ Jitta Wealth อยู่ในตลาดหุ้นต่างประเทศ
  • สร้างผลตอบแทนทบต้นระยะยาว จากหุ้นและ ETF พื้นฐานดี เพราะ Jitta Wealth มีเกณฑ์คัดสรร Passive ETF และ Thematic ETF ที่มีโอกาสเติบโต รวมทั้งพัฒนา AI และออกแบบอัลกอริทึมให้มีความแม่นยำอย่างต่อเนื่อง คุณจึงมั่นใจได้ว่า สินทรัพย์ที่คุณเลือกลงทุน มีคุณภาพดี และมีโอกาสเติบโต
  • วางแผนการเงิน เพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นพอร์ตลงทุน Global ETF และ Thematic จะเริ่มต้นวางแผนการเงินง่ายกว่า เนื่องจากเงินลงทุนเริ่มต้นและเพิ่มทุน เพียงแค่ 50,000 และ 10,000 บาท คุณจะสร้างความมั่งคั่งได้ง่ายขึ้น
  • ไม่มีระยะเวลาถือครอง ฝากและถอนได้ตลอดเวลา แต่หลักการลงทุนของ Jitta Wealth คือ พอร์ตลงทุนระยะยาว สร้างผลตอบแทนทบต้น คุณควรมั่นใจว่า เงินลงทุนจาก ‘LTF ครบกำหนด’ เป็นเงินเย็น คุณไม่รีบใช้เงินก้อนนี้

3 ทางเลือกกับกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ได้แก่

  • Global ETF ลงทุนใน Passive ETF ตราสารหนี้และหุ้นทั่วโลก ใช้ทฤษฎีจัดพอร์ตรางวัลโนเบล Modern Portfolio Theory ด้วยกลยุทธ์สร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด ในความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด มาพร้อมกับ 3 แผน ในความเสี่ยงที่พอดีกับคุณ และผลตอบแทนที่คุณต้องการ ได้แก่ พอเพียง (เสี่ยงต่ำ ผลตอบแทน 4% ต่อปี) สมดุล (เสี่ยงปานกลาง ผลตอบแทน 6% ต่อปี) และเติบโต (เสี่ยงสูง ผลตอบแทน 8% ต่อปี)
  • Thematic ลงทุนใน Passive ETF ธีมธุรกิจเมกะเทรนด์และตลาดหุ้นอนาคตไกล เป็นการลงทุนในหุ้นทั้งหมด มีความเสี่ยงสูง แต่มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว มีให้เลือก 2 แผน คือ Thematic DIY มีธุรกิจที่อยากลงทุน เลือกธีมจัดพอร์ตเอง ได้สูงสุด 5 ธีม และ Thematic Optimize หากยังไม่รู้ว่าจะเลือกธีมอะไร ให้ AI ของ Jitta Wealth วิเคราะห์และจัดพอร์ตให้ให้ 4 ธีม 
  • Jitta Ranking ลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี จากตลาดหุ้นไทยและต่างประเทศ โดยพัฒนา AI และอัลกอริทึมมาคัดกรองหุ้นดี ราคาถูก มีโอกาสเติบโตระยะยาว ประยุกต์สไตล์การลงทุนของ Warren Buffett คือ การลงทุนในบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม จัดพอร์ต 5-30 หุ้น ผ่าน 5 แผน ได้แก่ ไทย เวียดนาม จีน และสหรัฐฯ รวมทั้งหุ้นรายอุตสาหกรรมอย่าง เทคโนโลยีสหรัฐฯ

ลงทุนในกองทุนรวม

เมื่อ LTF เป็นกองทุนรวมประหยัดภาษี หากคุณต้องการจะลงทุนต่อ เพื่อให้เงินงอกเงยระยะยาว พร้อมทั้งลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อีกต่อ คุณมี 2 ทางเลือก ดังนี้

LTF ครบกำหนด

SSF หรือ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว 

เป็นสินทรัพย์การเงินที่รัฐบาลอนุมัติให้จัดตั้งขึ้นมาใหม่แทนที่ LTF เริ่มตั้งแต่ปี 2563-2567 โดยเปลี่ยนนโยบายการลงทุนให้กระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น ตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนต่างประเทศ และ ETF ต่างประเทศ 

เงื่อนไขการลงทุนใน SSF คือ ลงทุนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท (ปรับลดลงจาก LTF) มีเป้าหมายให้คนที่มีรายได้น้อยเข้าถึงการลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น 

นอกจากนี้ หากคุณลงทุนใน SSF คุณต้องถือครอง SSF นานถึง 10 ปี นับจากวันที่ลงทุน นั่นหมายความว่า ต้องเป็นเงินเย็น ไม่รีบใช้ เป็นการลงทุนระยะยาว ถ้าคุณตัดสินใจขายคืนก่อนกำหนด คุณต้องคืนภาษีที่คุณได้รับลดหย่อนย้อนหลังทุกปี และจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกำไรจากการขาย (Capital Gains Tax) ด้วย

RMF หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ 

เป็นสินทรัพย์การเงินที่จัดตั้งขึ้น เพื่อสนับสนุนให้คนไทยออมเงินเพื่อการเกษียณ นโยบายการลงทุนมีหลากหลายสินทรัพย์ เช่นเดียวกับ SSF ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนต่างประเทศ และ ETF ต่างประเทศ สามารถเลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่คุณต้องการ 

เงื่อนไขการลงทุนใน RMF คือ ลงทุนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อนับรวมกับ SSF ประกันบำนาญ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

นอกจากนี้ คุณต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่อง และต้องมีอายุครบ 55 ปี ถึงจะสามารถขายคืนได้ และต้องลงทุนทุกปี หรือปีเว้นปี ดังนั้นจึงเป็นการลงทุนระยะยาว หากไม่ทำตามเงื่อนไข มีดังนี้

  • กรณีลงทุนไม่ถึง 5 ปี กำไรที่ได้จากการขายคืน ต้องถูกนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก Capital Gains Tax และต้องคืนภาษีที่ได้รับการลดหย่อนย้อนหลังทุกปี 
  • กรณีลงทุนครบ 5 ปี แต่ขายก่อนอายุ 55 ปี ต้องคืนภาษีที่ได้รับการลดหย่อน 5 ปีย้อนหลังแต่จะได้รับการยกเว้น Capital Gains Tax ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • กรณีซื้อเกณฑ์กำหนด กำไรที่ได้จากการขายคืน จะถูกนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก Capital Gains Tax

ข้อดีของการลงทุนต่อใน SSF และ RMF หลังจากขาย ‘LTF ครบกำหนด’ คือ คุณได้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่งคั่งจากการลงทุน แต่มีข้อจำกัด คือ ต้องลงทุนระยะยาว มีเงื่อนไขด้านเวลาและอายุเมื่อขายคืน 

หากคุณไม่อยากผิดเงื่อนไขและเสียภาษีย้อนหลัง คุณต้องถือครอง SSF และ RMF ให้ครบกำหนดเช่นเดียวกัน อาจจะทำให้คุณพลาดโอกาสในวันที่คุณเจอสินทรัพย์การเงินที่ดีกว่า นอกจากนี้ ค่าธรรมเนียมบริหารจัดการของ SSF และ RMF อาจจะสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไป 

ทั้งนี้เมื่อเงินลงทุน ‘LTF ครบกำหนด’ คุณมีทางเลือกอีกมากมาย นอกเหนือจาก 5 ทางเลือกที่ทีมงาน Jitta Wealth รวบรวมมา เช่น ขายเพื่อมาลงทุนต่อในกองทุนรวมทั่วไป อสังหาริมทรัพย์ หรือทองคำ ขายเพื่อนำเงินต้นและกำไรมาใช้จ่าย หรือขายเพื่อนำเงินก้อนมาจ่ายเงินกู้ ฯลฯ ขึ้นอยู่กับการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของคุณ

นี่คือ 5 ทางเลือกการลงทุน เมื่อ LTF ครบกำหนด คุณสามารถเปรียบเทียบตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และเลือกวิธีที่จะทำให้เงินของคุณได้เติบโตไปในแนวทางที่คุณต้องการมากที่สุด 

หากคุณต้องการจะลงทุนต่อในกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต Global ETF Thematic และ Jitta Ranking สามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://blog.jittawealth.com/ หรือสอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ที่ Line ID: @JittaWealth 


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้บุกเบิกสตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยรายแรก ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


อ้างอิง

  1. วิเคราะห์เจาะลึก ข้อดี ข้อเสียกองทุน SSF กองทุนลดหย่อนภาษ๊ที่จะมาแทน LTF https://www.investerest.co/finance/pros-and-cons-of-ssf/
  2. ครบกำหนดแล้วควรขาย LTF เลยดีไหม? https://www.krungsriasset.com/TH/Plan-your-investment/Learn-about-Investment/RightTimeToRedem_LTF.aspx
  3. กองทุน SSF คืออะไร ต่างจาก LTF อย่างไร RMF ปรับเกณฑ์ใหม่ไม่มีขั้นต่ำ https://www.finnomena.com/z-admin/ssf/
  4. RMF คืออะไร ทบทวนเงื่อนไขพร้อมกองทุนแนะนำ I TAX เพื่อนๆ https://www.finnomena.com/channel/tax-friend-rmf/

อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

รวบตึง 3 พอร์ตลงทุน Jitta Wealth เลือกแบบไหน…ที่ตรงใจ 

ส่องพอร์ตปังๆ ของ Jitta Wealth ปี 2564 กำไรเกือบ 70%

กองทุนส่วนบุคคลคืออะไร ทำไม Jitta Wealth ถึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด