Thematic Optimize ปรับพอร์ต 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี แบบไหนดีที่สุด

23 กุมภาพันธ์ 2566OptimizeThematic

ไฮไลต์

  • นักลงทุนบางส่วนเข้าใจว่าการปรับพอร์ตทุก 3 เดือนไม่ใช่การลงทุนระยะยาว แต่นิยามของการลงทุนระยะยาวกว้างกว่านั้น และแผน Thematic Optimize จะวิเคราะห์จากปัจจัยพื้นฐานส่วนสำคัญที่ส่งผลดีในระยะยาว
  • ทีมงาน Jitta Wealth ทดสอบอย่างละเอียดเพื่อหาระยะเวลาปรับพอร์ตที่ดีที่สุด โดยเปรียบเทียบจากผล Back Test ว่าการปรับพอร์ตทุก 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปี แบบไหนที่ช่วยสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงในการลงทุนให้คุณได้ดีที่สุด
  • จากผล Back Test พบว่าการปรับพอร์ตทุก 3 เดือนคือระยะเวลาปรับพอร์ตที่ดีที่สุดของแผน Thematic Optimize

การซื้อหุ้นและถือไปยาวๆ เป็นเพียงกลยุทธ์นึงของการลงทุนระยะยาวเท่านั้น ในบางครั้งโอกาสลงทุนที่ดีมักปรากฎอยู่ตรงหน้าคุณเสมอ ในช่วงนั้นคุณต้องตัดสินใจว่าควร ‘ปรับพอร์ต’ หรือไม่

การปรับพอร์ตลงทุนระยะยาวอาจขัดความรู้สึกของคุณบ้าง แต่ทีมงานอยากให้คุณนึกถึงการวิ่งเทรลระยะยาวที่บางครั้งการหยุดพักอาจช่วยให้คุณไปถึงเส้นชัยได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นเหมือนการปรับพอร์ตเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่มีโอกาสเติบโตยิ่งขึ้น

ในโลกการลงทุน เซียนหุ้นทั่วโลกมักให้แนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนที่ดี และอาจให้ความรู้ถึงการเลือกซื้อหุ้น แต่น้อยคนนักที่จะสอนเรื่องการ ‘ปรับพอร์ต’ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่สำคัญมากเช่นเดียวกัน

หากคุณเป็นนักลงทุนที่มีพอร์ต Thematic Optimize ย่อมรู้ดีว่าระบบ AI จะปรับพอร์ตอัตโนมัติทุก 3 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ทีมงาน Jitta Wealth พิสูจน์แล้วว่าจะช่วยให้คุณได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงจากการลงทุนมากที่สุดในระยะยาว 

ด้วยระยะเวลาปรับพอร์ต 3 เดือน นักลงทุนบางคนมองว่าเร็วเกินไป และเกิดคำถามขึ้นมาว่า การปรับพอร์ตทุก 3 เดือนนับว่าเป็นการลงทุนระยะยาวไหม และทำผลตอบแทนได้จริงหรือไม่

ในวันนี้ทีมงานจะไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการปรับพอร์ต 3 เดือนให้คุณทั้งหมด เริ่มจากสิ่งพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระยะยาวเพื่อให้คุณเข้าใจก่อนว่าการปรับพอร์ตทุก 3 เดือนก็เป็นการลงทุนระยะยาวเช่นเดียวกัน 

ปรับพอร์ต 3 เดือน เป็นการลงทุนระยะยาวยังไง 

นิยามการลงทุนระยะยาวคือ การลงทุนที่ราคาสินทรัพย์สามารถเติบโตไปเรื่อยๆ ได้ โดยไม่จับจังหวะหรือเก็งกำไรระยะสั้น นักลงทุนหลายคนเข้าใจผิดว่าการลงทุนระยะยาวมีแค่วิธีเดียว นั่นคือการใช้กลยุทธ์ ‘ซื้อแล้วถือ’ หรือ Buy and Hold

สำหรับแผน Thematic Optimize จะมีการรีวิวพอร์ตทุก 3 เดือน ทำให้เมื่อ AI พบว่ามีธีมเมกะเทรนด์บางธีมที่หลุดอันดับออกไปก็จะขายออก แล้วไปลงทุนในธีมเมกะเทรนด์ใหม่ที่ถูกวิเคราะห์มาแล้วว่ามีโอกาสทำผลตอบแทนได้ดีที่สุดแทน 

กระบวนการทำซ้ำทุก 3 เดือนทำให้ดูเหมือนว่า Jitta Wealth พยายามจับจังหวะ จึงไม่ใช่การลงทุนระยะยาวอย่างแท้จริง

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กระบวนการรีวิวพอร์ตทุก 3 เดือนของ Thematic Optimize อ้างอิงจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental) ของบริษัทหรือธีมเมกะเทรนด์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าส่งผลดีต่อการลงทุนในระยะยาว เช่น ผลประกอบการ อัตราการเติบโตของบริษัท รวมถึงอัตราส่วนทางการเงินหลายอัตราส่วน

ดังนั้น การปรับพอร์ตทุก 3 เดือนจึงไม่ใช่การจับจังหวะตลาดสั้นๆ เพราะ AI จะวิเคราะห์พื้นฐานของธีมเมกะเทรนด์จากปัจจัยพื้นฐานย้อนหลังหลายปี เพื่อเฟ้นหาธีมที่มีโอกาสทำผลตอบแทนได้คุ้มค่ากับความเสี่ยงมากที่สุดในช่วงเวลานั้นมาจัดพอร์ต และเป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

แต่แน่นอนว่า…หากทีมงานต้องการพิสูจน์ให้ชัดเจนว่า ระยะเวลา 3 เดือน คือ ระยะเวลาปรับพอร์ตที่ดีที่สุด ต้องแสดงให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น และผลลัพธ์ Back Test จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้คุณเข้าใจ ไปดูผลการเปรียบเทียบแบบชัดๆ กันได้เลย

Thematic Optimize: ปรับพอร์ตทุก 3 เดือน 6 เดือนและ 1 ปี

แผน Thematic Optimize จะปรับพอร์ตทุกๆ 3 เดือน โดย AI จะคัดเลือก 4 ธีมลงทุนที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้นมาจัดพอร์ตให้กับคุณเสมอ

แต่เนื่องจากปี 2565 ที่ผ่านมา ธีมเมกะเทรนด์ทั่วโลกปรับตัวลงหนักจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น สร้างความไม่สบายใจให้กับนักลงทุน Thematic Optimize หลายคนเมื่อถึงรอบปรับพอร์ต จนเกิดคำถามว่าถ้าปรับพอร์ตแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จะยิ่งทำให้มูลค่าเงินลงทุนหายไปเรื่อยๆ นักลงทุนหลายคนเข้าใจว่าเมื่อขายธีมในพอร์ตออกไปจะทำให้เกิดการขาดทุนจริง (Realized Loss)

แต่หากคุณสังเกตดีๆ จะพบว่า ธีมเมกะเทรนด์ทั่วโลกต่างก็ปรับตัวลงหนัก ไม่ใช่เพียงแค่ธีมที่ถูกปรับพอร์ตของ Thematic Optimize เท่านั้น การถือธีมเดิมโดยไม่ปรับพอร์ตไม่ได้เป็นการการันตีว่าคุณจะไม่ขาดทุนเช่นกัน หากคุณปรับมุมมองจะพบว่าการปรับพอร์ตทุก 3 เดือนจะช่วยให้คุณได้ลงทุนในธีมที่ดีที่สุดอยู่เสมอ โดยที่คุณไม่ต้องเสียเวลาติดตามข่าวสารและปรับพอร์ตด้วยตัวเอง  

และที่สำคัญคือ ทีมงานต้องการหาระยะเวลาปรับพอร์ตที่สามารถทำผลตอบแทนได้คุ้มค่ากับความเสี่ยงในการลงทุนมากที่สุดสำหรับแผน Thematic Optimize เพราะฉะนั้น ทีมงานจึงต้องค้นคว้าและทดสอบอย่างละเอียด โดยผล Back Test ของแผน Thematic Optimize จากระยะเวลาการปรับพอร์ตเป็นดังนี้

ปรับพอร์ต

สำหรับระยะเวลา Back Test ที่แตกต่างจาก Jitta Ranking เป็นเพราะว่า ETF ธีมเมกะเทรนด์ส่วนใหญ่ที่ Jitta Wealth เลือกสรรมาให้คุณลงทุนยังเพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน จึงทำให้ช่วงเวลา 5 ปีเป็นระยะเวลาที่ทีมงานสามารถนำ ETF ธีมเมกะเทรนด์ทุกธีมมาทดสอบได้อย่างสมบูรณ์

หากเจาะลึกไปที่ผลลัพธ์ของระยะเวลาปรับพอร์ต 3 เดือน แม้ว่าจะมีความผันผวนของราคาที่ใกล้เคียงกับระยะเวลา 6 เดือนและ 1 ปี แต่กลับทำผลตอบแทนได้สูงกว่าในระยะยาว 

ซึ่งถือเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ทีมงานให้ความสำคัญ นั่นก็คือความสมดุลระหว่างความผันผวนของราคา กับผลตอบแทนที่แผน Thematic Optimize มีโอกาสทำได้ในระยะยาว ซึ่งจะช่วยทำผลตอบแทนให้คุณได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

จากการทดสอบ ทีมงานจึงได้คำตอบว่า ระยะเวลา 3 เดือนคือระยะเวลาปรับพอร์ตที่เหมาะสมที่สุด สำหรับแผน Thematic Optimize

เพื่อให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น ทีมงานได้จำลองการเติบโตของเงิน 50,000 บาทที่ถูกนำไปลงทุนในแผน Thematic Optimize เป็นเวลา 5 ปีมาให้คุณได้ดูกันว่า หากเงินจำนวนนี้อยู่ในระยะเวลาปรับพอร์ตที่แตกต่างกัน จะทำให้เงินเติบโตแตกต่างกันมากขึ้นแค่ไหน

ปรับพอร์ต

ทีมงานหวังว่าบทความนี้จะช่วยคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับระยะเวลาปรับพอร์ตทุก 3 เดือน และช่วยให้คุณลงทุนแผน Thematic Optimize ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

หากคุณสนใจจะลงทุนใน Thematic Optimize สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนลงทุนที่คุณต้องการได้ และหากคุณต้องการที่จะเริ่มต้นลงทุน ในวันนี้ก็สามารถเข้าไปเปิดพอร์ตลงทุนได้เช่นเดียวกัน 

การปรับพอร์ตเป็นอีกเรื่องสำคัญสำหรับการลงทุนระยะยาว ทีมงานอยากคุณเชื่อมั่นว่า Jitta Wealth จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดมาให้คุณอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการปรับพอร์ตหรือแผนลงทุนต่างๆ ตามเป้าหมายของ Jitta Wealth นั่นคือ เพื่อมอบการลงทุนที่ดีที่สุดให้กับคุณ 


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้บุกเบิกสตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยรายแรก ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ไม่การันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงอื่นๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน


อ่านเพิ่มเติม 

CEO Jitta Wealth ตอบคำถามคาใจ Thematic Optimize

อัปเดตการลงทุนนโยบาย Thematic Optimize และ Jitta Ranking ปี 2566

AI 3 แบบจาก Jitta Wealth ทำงานยังไง?

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด