ศิลปะแห่ง ‘การลงทุนระยะยาว’ จากวิกฤตยุค Y2K ถึงปัจจุบัน

27 เมษายน 2566Jitta Ranking

ไฮไลต์

  • Y2K ยุคที่ทั่วโลกเกิดความกลัวการล่มสลายของเทคโนโลยี แต่ด้วยการแก้ไขที่รวดเร็วของบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ และรัฐบาลส่งผลให้หุ้นเทคโนโลยีส่วนใหญ่พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด จนกลายเป็นเหมือนยุคทองที่ไม่ว่าใครก็ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีแต่ ฟองสบู่ ก็ได้ก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ
  • ดัชนี NASDAQ ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 5,048 ในช่วงปี 2000 (พ.ศ.2543) แต่หลังจากนั้นได้เกิดวิกฤตฟองสบู่ดอทคอมขึ้นส่งผลให้ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลงอย่างรุนแรงและต้องใช้เวลาถึง 15 ปี ในการฟื้นตัวมาสู่จุดสูงสุดนี้อีกครั้ง 
  • ตัวอย่าง 3 นักลงทุนที่ลงทุนในจุดพีคของดัชนี NASDAQ นักลงทุนทั้ง 3 มีอุปนิสัยการลงทุนที่แตกต่างกัน และใช้แนวทาง ‘การลงทุนระยะยาว’ สุดท้ายแล้วแนวทางนี้จะใช้ได้ผลจริง หรือเป็นเพียงคำปลอบใจของนักลงทุนที่เข้าลงทุนผิดจังหวะเท่านั้น
  • กลยุทธ์ DCA ช่วยลดความผันผวนให้พอร์ตลงทุนอย่างชัดเจน และยังเพิ่มโอกาสทำให้ผลตอบแทนดีขึ้นกว่าเดิม กลยุทธ์ลงทุนที่เรียบง่ายหากใช้คู่กับ ‘การลงทุนระยะยาว’ จะช่วยให้ผลตอบแทนดีขึ้นอย่างมหาศาล

ช่วงที่ผ่านมานี้คำว่า Y2K เป็นคำที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ ในสังคม แต่จะเป็นในเชิงของอุตสาหกรรมแฟชั่น การแต่งตัวเสื้อผ้าหน้าผมเสียมากกว่า 

แล้วปรากฏการณ์นี้จริงๆ แล้วมันคืออะไรกันแน่ ? 

ในช่วงเวลาที่โลกใบนี้ก้าวเข้าใกล้ปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) เกือบทุกคนที่ผ่านปลายทศวรรษ 90 มาคงจำได้ถึงเหตุการณ์สะเทือนโลก หลังจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีออกมาเตือนว่า ‘คอมพิวเตอร์ทั่วโลกอาจจะมีปัญหา’ 

เพราะซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในช่วงนั้น ถูกตั้งค่ามาให้อ่านตัวเลขเพียง 2 ตำแหน่งหลังเท่านั้น แสดงว่า เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ปี ค.ศ. 2000 คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนโลก อาจไปต่อไม่ถูก จากความกังวลนี้หลายคนอาจจะมองว่ามันเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ที่เกี่ยวกับตัวเลขบนคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ความกังวลมันแผ่ขยายไปไกลมากกว่านั้น

เพราะหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจริง เหตุการณ์นี้จะถูกเรียกว่า Y2K Bug อาจนำไปสู่การคำนวณที่ไม่ถูกต้อง ระบบล้มเหลว และอาจก่อให้เกิดการหยุดชะงักอย่างกว้างขวางในบริการที่จำเป็น เช่น การธนาคาร สาธารณูปโภค การขนส่ง และส่งผลกระทบในวงกว้างต่อธุรกิจและบุคคลทั่วไป

แต่ด้วยความกลัวและความกังวลนี้ ก็ได้กระตุ้นให้ทั้งรัฐบาลและบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ จัดการปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและไม่มีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงนี้เกิดขึ้น และในช่วงปลาย 1999 จนเข้าสู่ปี 2000 หุ้นเทคโนโลยีได้เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ความร้อนแรงของดัชนี NASDAQ ได้พุ่งขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 5,048 จุดในช่วงเวลานั้น ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีมากมายจนเหมือนกับว่านี่คือ ‘ยุคทองแห่งเทคโนโลยีอย่างแท้จริง’

นักลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้าลงทุนในช่วงนี้เล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตของอินเทอร์เน็ต ฟองสบู่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นจากความคลั่งไคล้บริษัทเทคโนโลยีที่มีรายได้น้อยและรูปแบบธุรกิจที่ไม่ชัดเจน

ในที่สุดฟองสบู่ดอทคอม (Dot-Com Bubble) ก็แตก หุ้นเทคโนโลยีที่เคยพุ่งขึ้นสูงร่วงลงอย่างรวดเร็ว ทำให้นักลงทุนจำนวนมากขาดทุนอย่างหนัก จนหลายคนยอมแพ้และเลิกลงทุนถาวร 

เรื่องราวในครั้งนี้อาจจะเป็นตอนจบสำหรับนักลงทุนหลายคน แต่มันไม่ใช่ตอนจบสำหรับนักลงทุนระยะยาว จะเกิดอะไรขึ้นหากนักลงทุนที่ลงทุนบนยอดดอยของดัชนี NASDAQ ในวันนั้น ไม่ยอมแพ้ไปก่อน จะเกิดอะไรขึ้นหากเขาเชื่อมั่นในหลักการลงทุนระยะยาว เดินก้าวผ่านวิกฤตมากมายในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มาจนถึงวันนี้  

สุดท้ายแล้ว ‘การลงทุนระยะยาว’ จะใช้ได้จริง หรือเป็นแค่เรื่องไร้สาระ หากคุณอยากรู้ อ่านบทความให้จบและคุณจะได้ทั้งบทสรุปและกลยุทธ์ที่จะทำให้ เงินที่เคยอยู่บนยอดดอยแปรเปลี่ยนเป็นกำไรในที่สุด พร้อมทั้งของขวัญสุดพิเศษที่ทีมงานได้เตรียมเอาไว้ให้กับคุณในท้ายบทความด้วย

3 นักลงทุน กับผลลัพธ์เหนือความคาดหมาย

สิ่งที่นักลงทุนทุกคนไม่อยากพบเจอคือ การเข้าลงทุนบนจุดสูงสุดของหุ้น หรือที่เราเรียกันว่า ‘ติดดอย’ แต่หากเกิดเคสแบบนั้นขึ้นจริงๆ ต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหนกว่าจะได้ต้นทุนที่ลงทุนไปคืนมา 

ในวันนี้ทีมงานจะพาคุณไปรู้จักกับ 3 นักลงทุนที่ลงทุนในช่วงวิกฤต Y2K พอดิบพอดีโดยรายละเอียดการลงทุนของนักลงทุนทั้ง 3 มีดังนี้

การลงทุนระยะยาว

นักลงทุนคนที่ 1: นายยอดดอย ผู้ยอมแพ้ในการลงทุน

นายยอดดอย เป็นนักลงทุนสัญจรที่ลงทุนตามกระแสเทรนด์หุ้นเทคโนโลยี นายยอดดอยได้ข่าวว่าหุ้นอินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนแปลงโลกและแนวโน้มหุ้นเทคฯ ในปี 2000 (พ.ศ. 2543) จะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายยอดดอยเชื่ออย่างสุดใจจึงนำเงินเก็บจำนวน 500,000 บาท มาลงทุนในดัชนี NASDAQ ทันที

นายยอดดอย เข้าลงทุน ณ วันที่ 10 มีนาคม 2000 (พ.ศ. 2543) ซึ่งเป็นวันที่ดัชนี NASDAQ ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 5,048 จุดพอดี หลังจากที่เกิดวิกฤต Dot-Com Bubble ก็ส่งผลให้มูลค่าพอร์ตลงทุนของนายยอดดอยตกลงอย่างหนัก 

นายยอดดอยรู้สึกหัวเสียเป็นอย่างมากและคิดว่าไม่มีโอกาสได้เงินคืนอีกแล้ว จึงตัดใจจากเงินนั้นโดยไม่ได้ถอนออกมาจากพอร์ตแต่อย่างใด

การเดินทางของเงินของนายยอดดอยจากจุดสูงสุดในวันนั้นจนถึงวันนี้เงิน 500,000 บาท จะกลายเป็นเท่าไรในปัจจุบัน

เมื่อเงินดังกล่าวขึ้นไปถึงจุดสูงสุดการร่วงลงย่อมแรงตามไปด้วย แต่เป็นไปได้ไหมที่ระยะเวลากว่า 22 ปีจะเยียวยาจนทำให้เงินดังกล่าวกลับขึ้นมาเป็นกำไรได้อีกครั้ง 

จากการสำรวจการฟื้นตัวของดัชนี NASDAQ มีผลลัพธ์ที่น่าสนใจคือ เมื่อเกิดวิกฤต Dot-Com Bubble ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดถึง -78% และดูไม่มีแนวโน้มจะฟื้นตัวมาสู่จุดเดิมได้เลยแม้แต่นิดเดียว

หากคุณลงทุนในจุดยอดดอยของดัชนี NASDAQ ในปี 2000 (พ.ศ. 2543) ต้องใช้เวลา 15 ปี คุณถึงจะได้ต้นทุน 500,000 บาทคืนมา ซึ่งจะตรงกับวันที่ 23 เมษายน 2015 (พ.ศ. 2558) ซึ่งทีมงานจะขอเรียกวันนี้ว่า จุดคืนทุน เพื่อสำรวจการเติบโตของนักลงทุนคนต่อไป

หลังจากเหตุการณ์นี้นายยอดดอยยังไม่รู้ว่าเงินดังกล่าวได้กลับมาเท่าทุน และทิ้งให้เงินทำงานต่อ ในระยะเวลากว่า 22 ปีนี้ที่ไม่ได้มีวิกฤตเกิดขึ้นแค่เพียง Dot-Com Bubble เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายเหตุการณ์เกิดขึ้น ต่อจากนี้ไปคุณกำลังจะได้เห็นมหัศจรรย์ของ ‘การลงทุนระยะยาว’ แล้ว 

สุดท้ายนายยอดดอยทิ้งเงิน 500,000 บาท เอาไว้ถึงสิ้นปี 2022 (พ.ศ. 2565) รวมระยะเวลากว่า 22 ปี ผลลัพธ์คือเงินลงทุนดังกล่าว พลิกกลับมาทำกำไรถึงเท่าตัว โดยที่นายยอดดอยไม่ได้เคลื่อนไหวเงินก้อนนี้เลยแม้แต่น้อย เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่า เวลาลงทุนที่นานพอช่วยให้เงินคุณเติบโตได้จริง

พอร์ตนายยอดดอย จากการทิ้งเงินเอาไว้ในดัชนี NASDAQ

เงินลงทุนทั้งหมดมูลค่าเงินลงทุน ณ สิ้นปี 2022อัตราผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ยต่อปีอัตราผลตอบแทนทั้งหมด
500,000 บาท1,036,568 บาท3.25%107.31%
ที่มา: Jitta Wealth
หมายเหตุ: Backtest ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2000 – 31 ธันวาคม 2022

นักลงทุนคนที่ 2: นายวินัย ผู้ลงทุนวันแรกของทุกปี

สำหรับ นายวินัย เป็นนักลงทุนที่เข้าลงทุน ณ วันที่ 10 มีนาคม 2000 (พ.ศ. 2543) วันที่ดัชนี NASDAQ ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดเช่นเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันที่นายวินัยเริ่มต้นลงทุนที่เงิน 60,000 บาท และมีหลักการลงทุนที่ชัดเจนตามแนวทางลงทุนระยะยาว 

นายวินัยได้ศึกษากลยุทธ์ลงทุน ที่จะเติมเข้าพอร์ตในวันที่ตลาดหุ้นเปิดทำการวันแรกของทุกปี ด้วยความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอย่างแรงกล้า ทำให้นายวินัยมีความหลงไหลในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเป็นพิเศษ นายวินัยมั่นใจว่าดัชนี NASDAQ จะกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง 

นายวินัยได้ทำตามกลยุทธ์ที่เขาศึกษามา ทุกวันเปิดทำการวันแรกของปี นายวินัยจะเติมเงินเข้าพอร์ต 20,000 บาททุกครั้ง โดยนายวินัยทำแบบนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 22 ปีเต็ม หากคิดรวมเงินต้นเข้าไปด้วย มูลค่าเงินลงทุนทั้งหมดคือ 500,000 บาท เท่ากับนายยอดดอย

กลยุทธ์ลงทุนที่นายวินัยใช้มีชื่อเรียกว่า Dollar Cost Averaging (DCA) เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยลดความผันผวนของพอร์ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกลยุทธ์การลงทุนที่เรียบง่ายแบบนี้ คุณคิดว่าสุดท้ายแล้วนายวินัยจะทำผลตอบแทนจากการลงทุนในดัชนี NASDAQ ได้มากขึ้นหรือไม่

ทีมงานได้คำนวณการทดสอบ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ณ วันที่ 23 เมษายน 2015 (พ.ศ. 2558) ซึ่งเป็นจุดคืนทุนของดัชนี NASDAQ จากเงินลงทุนทั้งหมด 360,000 บาทในช่วงเวลานั้นได้เติบโตจนเป็น 711,046 บาทไปแล้ว  

พิสูจน์ให้เห็นว่ากลยุทธ์ DCA ของนายวินัยมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง สุดท้ายทีมงานจะพาคุณไปดูผลลัพธ์โดยรวมทั้งหมดหลังจากที่นายวินัย DCA มาตลอด 22 ปีโดยที่ไม่ขาดตกบกพร่องสักครั้ง ทำให้มูลค่าเงินในพอร์ตรวมกว่า 22 ปีของนายวินัย ณ สิ้นปี 2022 (พ.ศ. 2565) อยู่ที่ 1,667,183 บาท

พอร์ตนายวินัย จากการ ‘ลงทุนระยะยาว’ ผสม ‘DCA’

เงินลงทุนทั้งหมดมูลค่าเงินลงทุนณ สิ้นปี 2022อัตราผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ยต่อปีอัตราผลตอบแทนทั้งหมด
500,000 บาท1,667,183 บาท8.50%233.44%
ที่มา: Jitta Wealth
หมายเหตุ: Backtest ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2000 – 31 ธันวาคม 2022

นักลงทุนคนที่ 3: นางตาทิพย์ ผู้ลงทุนจุดต่ำสุดของตลาดทุกปี

นักลงทุนคนสุดท้ายที่คุณควรรู้จักคือ นางตาทิพย์ และเช่นเดียวกัน นางตาทิพย์ที่เข้าลงทุน ณ วันที่ 10 มีนาคม 2000 (พ.ศ. 2543) วันที่ดัชนี NASDAQ ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดเช่นกัน โดยเงินเริ่มต้นลงทุนของนางตาทิพย์คือ 60,000 บาทเท่ากับนายวินัย

นางตาทิพย์อ่านหนังสือเล่มเดียวกับนายวินัย จึงรู้จักกลยุทธ์ DCA เช่นเดียวกัน นางตาทิพย์ตัดสินใจที่จะใช้กลยุทธ์ DCA เข้าพอร์ตจำนวน 20,000 บาททุกปี แต่นางตาทิพย์ยังไม่ได้กำหนดวันและเวลาที่จะ DCA เข้าพอร์ตในทุกปี

แต่แล้วนางตาทิพย์ได้พบเจอกับลูกแก้ววิเศษพูดได้ ที่ทำให้เธอล่วงรู้อนาคตในวันที่ดัชนี NASDAQ ปิดตัวต่ำสุดในรอบปีได้ แต่เจ้าลูกแก้ววิเศษนี้มีความขี้โม้และไม่น่าไว้ใจเท่าไรนัก ทำให้นางตาทิพย์ไม่ได้เชื่อใจลูกแก้วนี้แบบ 100% เต็ม

นางตาทิพย์จึงเลือกใช้กลยุทธ์ถัวเฉลี่ยความเสี่ยงด้วยการ DCA ทุกปี แต่เธอเลือกที่จะเชื่อลูกแก้ววิเศษพูดได้บางอย่าง ด้วยการ DCA เข้าพอร์ตในวันที่ดัชนี NASDAQ ปรับตัวลงไปแตะที่จุดต่ำสุดในทุกปีเสมอ 

แม้ว่าเวลาจะผ่านมาเป็นระยะเวลา 22 ปี นางตาทิพย์ก็ยังไม่เชื่อใจเจ้าลูกแก้วนี้แบบ 100% แต่ในระยะเวลา 22 ปีทุกครั้งที่เธอ DCA ก็จะเป็นจุดต่ำสุดของดัชนี NASDAQ เสมอ สำหรับคนทั่วไปนางตาทิพย์คือนักจับจังหวะตลาดที่สมบูรณ์แบบ แต่สุดท้ายเงินทั้งหมดจะเติบโตขึ้นแค่ไหน

ระยะเวลากว่า 15 ปี และในวันที่ 23 เมษายน 2015 (พ.ศ. 2558) จุดคืนทุนของดัชนี NASDAQ จากเงินลงทุนทั้งหมด 360,000 บาท ได้กลายเป็น 849,857 บาท ไปดูผลลัพธ์โดยรวมทั้งหมดของนางตาทิพย์กันเลยว่า สุดท้ายการใช้กลยุทธ์ DCA ผสมกับกับจับจังหวะตลาดที่สมบูรณ์แบบจะทำให้เงินเติบโตขึ้นมากขนาดไหนในระยะเวลาการลงทุนกว่า 22 ปีที่สมบูรณ์แบบของนางตาทิพย์ 

พอร์ตนางตาทิพย์ จากการ ‘จับจังหวะตลาดที่สมบูรณ์’ ผสม ‘DCA’ 

เงินลงทุนทั้งหมดมูลค่าเงินลงทุนณ สิ้นปี 2022อัตราผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ยต่อปีอัตราผลตอบแทนทั้งหมด
500,000 บาท2,027,141 บาท9.98%305.43%
ที่มา: Jitta Wealth
หมายเหตุ: Backtest ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2000 – 31 ธันวาคม 2022

ในระยะเวลา 23 ปีดัชนี NASDAQ ได้ผ่านวิกฤตมามากมายไม่ใช่แค่ Dot-Com Bubble เท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงเหตุการณ์สำคัญอย่าง ‘วิกฤต 9/11’ ‘วิกฤตซับไพรม์’ ‘วิกฤตเพดานหนี้สหรัฐฯ’ หรือแม้แต่ ‘วิกฤต Covid-19’ 

และนี่คือของขวัญที่ทีมงานเตรียมเอาไว้ให้คุณ ฟรี Wallpaper วิกฤตทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระยะเวลา 23 ปีของดัชนี NASDAQ ที่ออกแบบมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เตรียมไปตั้งเป็นหน้าจอ Wallpaper บนหน้าจอแลปท็อปของคุณเพื่อเตือนใจถึงประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นกับดัชนี NASDAQ โดยคุณสามารถไปดาวน์โหลด Wallpaper แบบชัดคุณภาพระดับ Full HD ได้ ที่นี่

การลงทุนระยะยาว

วิกฤตที่เกิดขึ้นใน Wallpaper นี้จะเป็นเครื่องย้ำเตือนหลักการลงทุนระยะยาวให้กับคุณ จากผลลัพธ์ของนักลงทุนทั้ง 3 พิสูจน์แล้วว่า การลงทุนระยะยาวใช้ได้จริงในทุกสถานการณ์ มีความเรียบง่ายในแบบที่คุณทำตามได้ไม่ยากจนเกินไป และทำให้เงินคุณเติบโตได้อย่างชัดเจน

บทเรียนจากนักลงทุนคนที่ 1 และ 2 ได้สอนให้คุณรู้ว่าอย่ายอมแพ้และจงยึดมั่นในการลงทุนต่อไป ถึงแม้ว่านายยอดดอยจะลืมเงินลงทุนจำนวนนี้เอาไว้ และกลายเป็นนักลงทุนระยะยาวจำเป็นไปแบบไม่รู้ตัว แต่สุดท้ายเขาก็กลับมาทำกำไรได้อย่างยอดเยี่ยมโดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย

หากนายยอดดอยรู้จักกลยุทธ์ที่เรียบง่ายอย่าง DCA เหมือนอย่างนายวินัยจะยิ่งเพิ่มโอกาสให้เงินลงทุนเติบโต ได้คืนทุนเร็วขึ้นนี่คือ ความมหัศจรรย์ของเวลาและอัตราผลตอบแทนทบต้น ที่ทุกคนควรรู้

บทเรียนอีกอย่างที่คุณได้จากบทความนี้ คือถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้มีลูกแก้ววิเศษพูดได้ เหมือนกับนางตาทิพย์ แต่หากดูผลตอบแทนโดยรวมจะพบว่า ผลตอบแทนของนายวินัยและนางตาทิพย์ไม่ได้ห่างกันขนาดนั้น 

แม้ว่านางตาทิพย์จะจับจังหวะตลาดได้อย่างสมบูรณ์ซึ่งในความเป็นจริงมีความเป็นไปได้ต่ำมาก นอกจากคุณมีลูกแก้ววิเศษจริงๆ เพราะฉะนั้นคุณไม่จำเป็นต้องรอจังหวะเข้าซื้อในจุดต่ำสุด ในฐานะนักลงทุนระยะยาวการพยายามจับจังหวะตลาดอาจทำให้พลาดโอกาสและส่งผลเสียต่อผลตอบแทนของคุณ เพราะคุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจุดที่คุณซื้อคือจุดต่ำสุดจริงหรือไม่

การยึดมั่นกับแนวทางพื้นฐานและกลยุทธ์ที่คุณทำตามได้ง่ายก็สามารถช่วยให้คุณประสบความสำเร็จจากการลงทุนในระยะยาวได้เช่นเดียวกัน และจะดีกว่าไหม หากคุณสามารถลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดี มีโอกาสเติบโตสูง ในแบบที่คุณไม่ต้องเสียแรงวิเคราะห์ด้วยตัวเอง

Jitta Wealth มีแผนลงทุน Jitta Ranking หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ที่จะคัดกรองหุ้นในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีคุณภาพดี มาจัดพอร์ตลงทุนให้คุณ 5 – 20 บริษัทโดยอัตโนมัติ และระบบจะคัดกรองปรับพอร์ตทุก 3 เดือนเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีคุณภาพดีอยู่เสมอ 

หากคุณสนใจอยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เข้าไปศึกษา Jitta Ranking หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ได้ที่นี่ และหากคุณคิดว่าศึกษารายละเอียดดีพอและรู้ว่าแผนลงทุนนี้คือคำตอบ เปิดพอร์ตลงทุนที่นี่ได้เลย

สำหรับนักลงทุนที่มีพอร์ตกับ Jitta Wealth อยู่แล้ว ไม่ว่าจะนโยบายใด หรือแผนใดก็ได้ ถ้าคุณตัดสินใจเพิ่มพอร์ต Jitta Ranking หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ก่อน 30 เมษายน 2566 นี้ ก็เตรียมรับของขวัญพิเศษตอบแทนนักลงทุน Jitta Wealth ที่ร่วมเดินทางกับเรามา ในโอกาสพิเศษ Jitta ครบรอบ 11 ปี คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่  

หวังว่าบทความนี้และ Wallpaper ที่ทีมงานได้ออกแบบมาให้คุณ จะทำให้คุณมั่นใจในหลักการลงทุนระยะยาวมากขึ้น ซึ่งเป็นหลักการที่ Jitta Wealth ยึดมั่นมาโดยตลอดไม่เปลี่ยนแปลง


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้บุกเบิกสตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยรายแรก ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานในอดีตที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ไม่การันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงอื่นๆ ก่อนตัดสินใจลงทุน


อ้างอิง

  1. แฟชั่น ‘Y2K’ คืออะไร…ตอนนี้ใครๆ ก็พูดถึง โว้กชวนย้อนไปทำความรู้จักแฟชั่น Y2K อีกครั้ง https://www.vogue.co.th/fashion/article/ysk-fashion
  2. Y2K fashion is back: Graphic tees, velour tracksuits, miniskirts and more https://www.goodmorningamerica.com/shop/story/y2k-fashion-back-graphic-tees-velour-tracksuits-miniskirts-98377196
  3. Y2K bug https://www.britannica.com/technology/Y2K-bug
  4. Y2K Problem https://education.nationalgeographic.org/resource/Y2K-bug/
  5. Dot-com bubble https://en.wikipedia.org/wiki/Dot-com_bubble
  6. The Biggest Stock Market Crashes in History https://www.fool.com/investing/stock-market/basics/crashes/
  7. Four Lessons From The Nasdaq’s 15-Year Recovery https://www.forbes.com/sites/investor/2015/05/14/four-lessons-from-the-nasdaqs-15-year-recovery/?sh=69ca3a572494
  8. 7 Tips for Long-Term Investing https://www.forbes.com/advisor/investing/tips-for-long-term-investing/
  9. What is dollar-cost averaging (DCA) https://www.fool.com.au/definitions/dollar-cost-averaging/

อ่านเพิ่มเติม

เปิดกลยุทธ์ ‘ลงทุนหุ้นเวียดนาม’ แทงสวนวิกฤตตลาด

การ ‘รอ’ ของคุณ…มีราคาเท่าไร?

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด