สรุป Live: ถอดรหัสการลงทุนใน Genomics & Healthcare

19 สิงหาคม 2564EventsLive

ไฮไลต์

  1. ธุรกิจ Healthcare อยู่บนคอนเซ็ปต์จาก ‘เกิด แก่ เจ็บ ตาย’ บทบาทคือ ทำให้ ‘เกิดง่าย แก่ยาก เจ็บน้อย ตายช้า’ ดังนั้นการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามาฝืนธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีเทรนด์ Well-being คือการมีชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งร่างกาย (Physical) จิตใจ (Mental) สังคม (Social) และการเงิน (Financial) ซึ่งบริษัทในอุตสาหกรรมนี้เยอะมาก
  2. กลยุทธ์ธุรกิจยาทั่วโลก แบ่งเป็น 4 ระดับ เรียงตามราคาลงมา ตามกำลังซื้อและความมั่งคั่งของแต่ละประเทศหรือภูมิภาค แน่นอนว่า ควบคุมราคายา ทำไงให้พอเหมาะ ราคาจับต้องได้ ก็ทำให้ทุกคนเข้าถึงง่ายขึ้น
  3. ระบบพันธุกรรม เหมือนหนังสือ 1 เล่ม หากขาดหรือเกิน ก็เป็นดาวน์ซินโดรม คู่ที่ 21 เกินมา เทคโนโลยีมาช่วยทำให้รู้ว่ามีกี่บท ต่อมาก็ลึกได้อีก รู้ระดับบรรทัด ดังนั้นมนุษย์แต่ละคน ไม่เหมือนกัน แต่เปิดหนังสือรหัสพันธุกรรม ทำให้เกิดการแพทย์แม่นยำมากขึ้น (Precision Medicine)
  4. เฮลธ์แคร์ จะมีเรื่องสิทธิบัตรและจริยธรรม อาจจะวิเคราะห์ยาก ให้ดูภาพใหญ่ของอุตสาหกรรม ดังนั้นลงทุนหุ้นรายตัวหรือลงเป็น ETF (Exchange Traded Fund) ได้ ส่วนจีโนมิกส์ กำลังเติบโต มีความเสี่ยงสูง เพราะยังไม่มีใครโตแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ดังนั้นหากจะลงทุนหุ้นรายตัว ยังใหม่มาก งบการเงินยังไม่นิ่ง ลงทุน ETF ธีมจีโนมิกส์ได้

ดูวิดีโอย้อนหลัง

สรุปเนื้อหา Live

Jitta Wealth Live ครั้งนี้ มาในหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของนักลงทุน นั่นก็คือ ถอดรหัสการลงทุนใน Genomics & Healthcare โดยได้รับเกียรติจากกูรูผู้คร่ำหวอดในแวดวงการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้

  • คุณหมอโอ นพ. โอฬาริก มุสิกวงศ์ สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่ปรึกษาสมาคม Healthtech ประเทศไทย กรรมการแพทยสภา และ Editorial Board วารสาร Best Practice & Research: Clinical Obstetrics & Gynaecology 
  • คุณมนู สว่างแจ้ง อดีตผู้จัดการใหญ่ บริษัทไฟเซอร์ ประจำประเทศไทย

ที่ขาดไม่ได้ คือ คุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO แห่ง Jitta Wealth โดย Live ครั้งนี้คุณปอม ชารีฏา พรหมโยธีเป็นผู้ดำเนินรายการ พร้อมกับผู้ชมรายการสดกว่า 300 คน

Q: อุตสาหกรรมเฮลท์แคร์และจีโนมิกส์มีความสำคัญอย่างไรบ้าง

คุณหมอโอ – ธุรกิจเฮลท์แคร์อยู่บนคอนเซ็ปต์จาก ‘เกิด แก่ เจ็บ ตาย’ บทบาทคือ ทำให้ ‘เกิดง่าย แก่ยาก เจ็บน้อย ตายช้า’ ดังนั้นการแพทย์และสาธารณสุข เข้ามาฝืนธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีเทรนด์ Well-being คือการมีชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งร่างกาย (Physical) จิตใจ (Mental) สังคม (Social) และการเงิน (Financial) ซึ่งบริษัทในอุตสาหกรรมนี้เยอะมาก

ตอนนี้อุตสาหกรรมก็เพิ่ม 5 แกนหลัก ได้แก่ Quality (คุณภาพ) Affordable (ราคาเข้าถึงได้) Accessible (การเข้าถึงการรักษา) Experience (ประสบการณ์) และ Equity (เท่าเทียม) อย่างวัคซีนที่ดี วัดตามหลัก SDGs – Sustainable Development Goals ของสหประชาชาติ ตอบโจทย์ 14 ใน 17 ข้อไปแล้ว บริษัทเฮลท์แคร์ทั่วโลกไปตามเกณฑ์นี้

คุณมนู – กลยุทธ์ธุรกิจยาทั่วโลก แบ่งเป็น 4 ระดับ เรียงตามราคาลงมา ตามกำลังซื้อและความมั่งคั่งของแต่ละประเทศหรือภูมิภาค แน่นอนว่า ควบคุมราคายา ทำไงให้พอเหมาะ ราคาจับต้องได้ ก็ทำให้ทุกคนเข้าถึงง่ายขึ้น

Q: อุตสาหกรรมเฮลท์แคร์และจีโนมิกส์ในอนาคตจะมีอะไรบ้าง 

คุณหมอโอ – อนาคตอันใกล้ ก็มีจีโนมิกส์ สเต็มเซลล์ หุ่นยนต์ AI โดรน IoT (Internet of Things) และ IoB (Internet of Behaviors) ส่วนอนาคตอันไกล ยังไม่รู้ คาดการณ์ไม่ได้ เพราะนักวิทยาศาสตร์พยายามพัฒนามาโดยตลอด 

ส่วนจีโนมิกส์ คือ ระบบพันธุกรรม เป็นสิ่งที่มองลึกเข้าไปข้างในไม่ได้ แต่เทคโนโลยีที่พัฒนาเข้ามา ดูลึกตั้งแต่อวัยวะภายใน ที่ประกอบมาเป็นมนุษย์ และลงลึกระดับเซลส์ ฮอร์โมน โครโมโซม 

ระบบพันธุกรรม เหมือนหนังสือ 1 เล่ม หากขาดหรือเกิน ก็เป็นดาวน์ซินโดรม คู่ที่ 21 เกินมา เทคโนโลยีมาช่วยทำให้รู้ว่ามีกี่บท ต่อมาก็ลึกได้อีก รู้ระดับบรรทัด ดังนั้นมนุษย์แต่ละคน ไม่เหมือนกัน แต่เปิดหนังสือรหัสพันธุกรรม ทำให้เกิดการแพทย์แม่นยำมากขึ้น (Precision Medicine)

ปัจจุบันจีโนมิกส์ มีอิทธิพลตั้งแต่กระบวนการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ว่าจะเป็นเด็กหลอดแก้ว ตรวจหาดาวน์ซินโดรม ที่สำคัญเครื่องมือไม่แพง ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000-10,000 บาทก็ทำตัวอ่อนได้ครั้งเดียว 10 ตัว ที่สำคัญคือ ลดระยะเวลาการรอคอยที่จะตั้งครรภ์จาก 10 เดือนเหลือ 1 เดือน

คุณมนู – วงการจีโนมิกส์ วิเคราะห์พันธุกรรม รักษาโรคมะเร็ง ทำให้วงการไบโอเทคโนโลยีเติบโตขึ้นอย่างมาก เกิดบริษัทเฉพาะทางต่างๆ นักวิทยาศาสตร์ตั้งบริษัทกันเอง มันไปได้ไกลมาก และราคาก็ลดลงเรื่อยๆ 

Q: จีโนมิกส์มีมานานแล้ว แต่ Covid-19 ทำให้วัคซีน mRNA มีบทบาทมากขึ้น

คุณหมอโอ – คนรู้เรื่องเยอะขึ้น แต่จีโนมิกส์โด่งดังมาได้ 3-4 ปีแล้ว ที่จีนตัดต่อพันธุกรรมไวรัส HIV ที่ไม่ติดเชื้อ แต่วัคซีน mRNA ผลโดยตรง ทำให้ผู้คนรู้จักจีโนมิกส์มากขึ้น ไทยก็จะผลิตวัคซีน mRNA ด้วยในอนาคต ถ้ายังมีโรคอัลไซเมอร์ ที่นักวิทยาศาสตร์ยังหาคำตอบไม่ได้ เพราะไม่มียีนตัวเดียวควบคุม แต่มันมียีนหลายตัว 

Q: ราคายา เครื่องมือเกี่ยวข้องกับเฮลท์แคร์ทำไมมีราคาแพง

คุณหมอโอ – ยา 1 เม็ด ใช้ระยะเวลาวิจัยทดลองเป็น 10 ปี ในบริษัทมี 10 โครงการ อาจจะสำเร็จเพียงโครงการเดียว ดังนั้นมันมีเงินลงทุนมหาศาล ทั้งโรงงาน จัดกลุ่มอาสาสมัครทดลองรับยา การให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ ใช้ทรัพยากรอื่นๆ อีกมาก สิทธิบัตรได้แค่ 10-20 ปี นี่คือต้นทุนที่ทำให้ตัวยาที่ใช้มีราคาสูง

ยิ่งถ้ายาผ่านระดับเฟส 3 หรือ 4 แล้วตรวจเจอคนไข้มีตับอักเสบ จาก 1 ล้านคน ต้องถอนยาออกจากตลาดทันที เพราะถ้าปล่อยไว้ อาจจะโดนฟ้อง ค่าปรับหนักมาก

คุณมนู – สมัยก่อนโครงการยามูลค่ากว่า 1,200 ล้านดอลลาร์ ใช้เวลานาน มีขั้นตอนทางคลินิก หลายเฟส สมัยนี้ หลายๆ บริษัทใช้วิธีร่วมมือกับบริษัทไบโอเทคโนโลยี เน้นเอาผลิตภัณฑ์มาทำตลาด ไม่เอาคน เปลี่ยนกลยุทธ์นี้ ทำให้ราคายาถูกลง เพราะเจอแรงกดดันเยอะ เลยแบ่งระดับยา

Q: โอกาสการเติบโตอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์และจีโนมิกส์ในอนาคต

คุณมนู – หน่วยวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมนี้จะเล็กลง เพราะแต่ละบริษัทจะหาพันธมิตรกันเอง หรือไปทำ Venture Cap เป็นต้น ร่วมมือกันทำให้ต้นทุนลดลง สูตรการพัฒนาไม่ปิดบังกัน CEO คุยกัน แลกเปลี่ยนกัน เพราะแยกกันพัฒนามันซ้ำซ้อน 

ที่สำคัญคือ ราคายาจะได้แบบ Tailor-made ตามพื้นที่ ตามภูมิภาค เข้าถึงง่ายขึ้น จะทำให้ยอดขายแต่ละบริษัทขึ้นเร็ว มีกำไรต่อหุ้น จากเมื่อก่อนใช้เวลา 7 ปีกว่าจะคืนทุน 

ตลาดยาทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 บริษัท Roche (49,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) บริษัท Novartis (48,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และบริษัท GSK (47,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็น Top 3 ด้านยอดขาย ส่วน Pfizer มีการลีนองค์กร จึงอยู่เป็นอันดับ 8 (41,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ส่วนยอดขายเรียงตามประเภทการรักษา เนื้องอกวิทยา (Oncology) 162,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology) 81,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนวัคซีน 33,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Jitta Wealth

Q: อุตสาหกรรม Healthcare และ Genomics กับโอกาสการลงทุน

คุณเผ่า – ธุรกิจการแพทย์คือการผสมผสานระหว่างผลประโยชน์ทางธุรกิจกับจริยธรรม อย่าง Healthcare โตปีละ 8-10% เป็นบริษัทใหญ่ ฐานรายได้โต แต่จีโนมิกส์จะเป็นธุรกิจย่อยมา แต่เป็นดาวรุ่งโอกาสโตปีละ 30-40% เพราะเป็น Breakthrough Technology  เริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงยุค 90 ทำ DNA Sequencing งบ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใช้เวลาวิจัยเป็นสิบๆ ปี ตอนนี้ต้นทุนเหลือ 100 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างสตาร์ตอัป 23andMe ชุดทดสอบ DNA ตรวจวินิจฉัยได้ว่า มีความเสี่ยงอะไรบ้าง เพื่อใช้ป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้น 

ระยะหลัง บริษัทใหญ่ ไม่ลงทุนเองแล้ว ส่วนใหญ่ไปซื้อหรือลงทุนในสตาร์ตอัปด้านจีโนมิกส์ เพราะมีนวัตกรรมใหม่ๆ Moderna ก็เป็นสตาร์ตอัปมาก่อน เป็นการแบ่งพื้นที่ ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้มากขึ้น

อย่างจีนเป็นตลาดเฮลท์แคร์ใหม่ รัฐบาลออกนโยบาย ให้ประชากรอายุยืนขึ้นคนละ 1 ปี พอพ้นเส้นความยากจน มาเน้นด้านสุขภาพ น่าจะเห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปทางนั้นมาก 

ทำให้อุตสาหกรรม Healthcare และ Genomics เต็มไปด้วยธุรกิจ Cash Cow มีกระแสเงินสดหมุนเวียนมหาศาล สามารถลงทุนได้เรื่อยๆ ยิ่ง Breakthrough Technology จะเหมือนกับ EV (Electric Vehicle) ที่มีปฏิวัติวงการยานยนต์ ทำให้หลายๆ ค่ายกองทุนหันมาสนใจจีโนมิกส์เยอะ ยิ่งปี 2563 มีโครงการจีโนมิกส์อยู่ในขั้นตอนทดลองทางคลินิกกว่า 700 รายการ เป็นโอกาสลงทุนอีกเยอะ

Q: ความเสี่ยงอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์และจีโนมิกส์มีอะไรบ้าง

คุณเผ่า – Healthcare จะมีเรื่องสิทธิบัตรและจริยธรรม อาจจะวิเคราะห์ยาก ให้ดูภาพใหญ่ของอุตสาหกรรม การยื่นจดสิทธิบัตรยา ดูงานวิจัย มองให้ครบด้าน ดูเรื่องกฎหมาย ว่าแต่ละบริษัทโดนฟ้องร้องคดีอะไรบ้าง ดังนั้นลงทุนหุ้นรายตัวหรือลงเป็น ETF (Exchange Traded Fund) ก็ได้

Genomics กำลังเติบโต มีความเสี่ยงสูง เพราะยังไม่มีใครโตแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ยังไม่มี Solid Growth อย่าง Moderna ขายวัคซีน mRNA ได้ แต่ก็มีอีกหลายบริษัท ยังทำขั้นตอนทดลองทางคลินิกอยู่ ดังนั้นหากจะลงทุนหุ้นรายตัว ยังใหม่มาก งบการเงินยังไม่นิ่ง ลงทุน ETF ธีมจีโนมิกส์ได้

คุณมนู – อนาคตเทรนด์ไปอยู่ที่ไบโอเทคโนโลยี จีโนมิกส์ การลงทุนก็มา ถ้าธุรกิจโต 20-30% เกือบทุกบริษัท ฐานใหญ่ ปันผลดีแน่นอน นอกจากนี้ธุรกิจเฮลท์แคร์และไบโอเทคโนโลยีใหญ่มากในสหรัฐฯ เพราะมีระบบประกันสังคมและบริษัทประกัน ตลาดใหญ่ยังไงก็ไปทางนี้ การลงทุนหุ้นรายตัวอาจจะสวิงนะ ให้ซื้อเป็นกลุ่มๆ ไป

หากคุณสนใจคว้าโอกาสเติบโตในธุรกิจเฮลท์แคร์และจีโนมิกส์ กองทุนส่วนบุคคล Thematic ให้คุณเลือกลงทุนใน ธีมสุขภาพผ่าน iShares Global Healthcare ETF (IXJ) และธีมจีโนมิกส์ ผ่าน iShares Genomics Immunology and Healthcare ETF (IDNA)

โดยเปิดโอกาสให้คุณเลือกจัดพอร์ตได้ตั้งแต่ 1-5 ธีม หากคุณเลือกธีมสุขภาพและจีโนมิกส์แล้ว อยากกระจายความเสี่ยงเพิ่มอีก 3 ธีม คุณสามารถเลือกธีมที่ชื่นชอบจากนับ 10 ธีมของ Jitta Wealth เช่น ธีมพลังงานสะอาดจีน (China Clean Energy) ธีมเทคโนโลยีท่องเที่ยว (Travel Tech) ธีมกัญชา (Cannabis) ธีมคลาวด์ (Cloud Computing) หรือธีมอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ได้

ในอนาคต Jitta Wealth จะเพิ่มธีมการลงทุนที่น่าสนใจอีก ซึ่งคุณสามารถเปลี่ยนธีมที่คุณเห็นศักยภาพการเติบโตได้ไตรมาสละ 1 ครั้งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

หากคุณเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของธีมสุขภาพและจีโนมิกส์ ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

หรือสอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนที่ Line ID: @JittaWealth

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด