ประเด็นร้อนที่นักลงทุนหลายคนกำลังรอคำตอบที่ชัดเจน คงหนีไม่พ้น การเรียกเก็บภาษีเงินได้จากต่างประเทศ หรือหากจะขยายความอีกสักหน่อยก็คือ การเรียกเก็บภาษีหากคุณมีรายได้จากต่างประเทศและต้องการนำเข้ามาในไทย ซึ่งยังคงไม่มีเกณฑ์อะไรที่แน่ชัด และกรมสรรพากรเองก็เตรียมเปิดรับความเห็น โดยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าไปเสนอแนะในประเด็นนี้ได้
จริงๆ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นมันคืออะไร จะกระทบใครบ้าง อนาคตของการเก็บภาษีเงินได้ต่างประเทศจะเป็นอย่างไร กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมควรน่าตาประมาณไหน และนักลงทุนที่มีหุ้นต่างประเทศควรทำอะไรไหม
วันนี้ คุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ นักลงทุนในหุ้นต่างประเทศ CEO ของ Jitta แพลตฟอร์มวิเคราะห์หุ้นในและต่างประเทศ และ Jitta Wealth ได้มาพูดคุยกับอาจารย์มิกกี้ ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์สอนกฎหมายภาษีและผู้ก่อตั้งบริษัท iTAX เพื่อหาคำตอบ ไขข้อสงสัยให้กับนักลงทุน
Jitta Wealth ได้สรุปประเด็นที่สำคัญไว้ให้แล้ว
อาจารย์มิก: ช็อก แล้วตลกมากเพราะ ผมสอนวิชาภาษีที่มหาวิทยาลัยสยามในวันศุกร์ ผมก็สอนเกณฑ์เก่าไปว่าการเก็บรายได้จากต่างประเทศมีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้าง พอวันเสาร์อาทิตย์เห็นข่าว และวันจันทร์ก็เป็นข่าวทางการมาจากกรมสรรพากร ผมก็เลยต้องสอนนักศึกษาใหม่อีกรอบหนึ่ง อันเดิมที่สอนไปขีดทิ้งไปเลย
คุณเผ่า: วันศุกร์เย็นๆ เห็นคนแชร์มา ตอนแรกก็สงสัยว่า เป็นเรื่องจริงรึเปล่า เพราะในตอนนั้นก็ยังไม่มีใครออกมายืนยัน จนเริ่มมีประกาศจากสำนักข่าวอย่างเป็นทางการ
อาจารย์มิก: เกณฑ์เก่าสรุปง่ายๆ คือ เมื่อก่อนเมื่อเรามีรายได้จากต่างประเทศ ถ้ารายได้เกิดขึ้นในปีนี้ แล้วเราเอาเข้ามาปีหน้าเราไม่ต้องเสียอะไร สรรพากรไม่เข้ามายุ่ง ซึ่งก็ถือว่าเป็นเทคนิคหนึ่งที่เราเข้าใจกันมาตลอด และมีผลกับการวางแผนภาษีของเราด้วย แต่เกณฑ์ใหม่ที่ออกมาคือ ถ้าคุณมีรายได้จากต่างประเทศ ไม่ว่าคุณจะเอาเงินเข้ามาในประเทศปีไหนก็เสียภาษี จะต้องจัดการอย่างไร
ความซับซ้อนที่เกิดขึ้นคือ เราใช้เกณฑ์เดิมมากว่า 36 ปี ทุกคนก็เคยชินไปแบบนั้นแล้ว แล้วพอมาเปลี่ยนโดยมีเวลาอีกเพียง 3 เดือนนิดๆ เพราะว่า 1 มกราคม 2567 ก็ะเริ่มใช้แล้ว ทุกคนเลยกังวลว่า แล้วมันจะเป็นอย่างไรต่อ
และอย่าลืมว่ารายได้หรือเงินได้จากต่างประเทศเนี้ยไม่ได้มีแค่เรื่องการลงทุนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เรื่องเงินเก็บจากการทำงานอีก แบบนี้จะโดนด้วยหรือไม่ ซึ่งก็คงต้องพูดคุยกันในทางวิชาการอีกที ถกกันเพื่อหาความชัดเจนจากกรมสรรพากร
คุณเผ่า: รายได้มีหลายประเภท ส่วนตัวผมเองก็มีรายได้จากต่างประเทศซึ่งส่วนมากก็ไม่ได้เอากลับมาตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจออนไลน์ เราอาจจะพูดเรื่องการลงทุนกันเยอะ แต่จริงๆ ในมุมของกรมสรรพกร รายได้มีหลายประเภทมาก เช่น รายได้จากหน้าที่การงาน รายได้จากการประกอบกิจการ และรายได้จากทรัพย์สินที่ลงทุน
และถ้านับเฉพาะรายได้จากการลงทุน เอาแค่หุ้นก็มีความซับซ้อนมาก ยกตัวอย่างเช่นการลงทุนมีทั้งกำไรและขาดทุน แล้วเราจะทำอย่างไรหากเราไม่ได้มีแค่กำไรเพียงอย่างเดียว
อาจารย์มิก: ถ้าเกิดเป็นในไทยและขายหุ้นในตลาดก็สบายมาก เพราะว่าไม่เก็บภาษีอยู่แล้ว ขาดทุนก็ขาดทุนไป กําไรก็ไม่เสียภาษี แต่ถ้าเป็นการลงทุนในต่างประเทศ ก็รอดูอยู่เหมือนกันว่าจะมีเกณฑ์ที่ชัดเจนออกมาอย่างไร
อาจารย์มิก: ไม่จริง ความตกลงระหว่างประเทศที่เรียกอนุสัญญาภาษีซ้อน มันเป็นความตกลงระหว่างประเทศต่อประเทศ เช่นไทยกับอเมริกา ไทยกับอังกฤษ ไทยกับอินเดีย ดังนั้นความตกลงแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน บางประเทศใช่ บางประเทศไม่ใช่
เงินได้บางรายการกําหนดอย่างนั้นจริง ว่าอีกประเทศหนึ่งจะไม่เก็บ แต่ว่าบางรายการอาจจะเก็บได้ทั้ง 2 ที่ก็ได้
อาจารย์มิก: ไม่ชัดเจนเลย เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง ถ้าเราอยากเอาเงินกลับเข้ามาเราทำอย่างไรได้บ้าง และส่วนตัวก็แอบเชื่อว่า คนที่รวยมากๆ สุดท้ายเขาจะมีวิธีการในการจัดการเพื่อให้เขาไม่ต้องไปเสียภาษีอยู่ดี
มันอาจจะกลายเป็นปัญหาที่เกิดกับชนชั้นกลางหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าในปัจจุบัน การลงทุนในต่างประเทศ ไม่ใช่ว่าผมต้องรวยมากถึงจะลงทุนได้ มีเงินหลักพันหลักหมื่น เราก็ลงทุนได้แล้ว
เกณฑ์หนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ หากคุณอาศัยอยู่ในไทย 179 วันหรือน้อยกว่านั้นแล้วคุณเอารายได้จากต่างประเทศเข้ามาในไทยคุณไม่จำเป็นต้องเสียภาษี ซึ่งช่องว่างตรงนี้ก็ต้องเป็นคนที่มีเงินระดับหนึ่งถึงทำได้ และไม่ใช่ชนชั้นกลางแน่นอน
คุณเผ่า: เห็นด้วยกับอาจารย์มิกซ์ เรื่องภาษีเป็นเรื่องสําคัญและก็เป็นภาระหน้าที่ของประชาชนคนไทยทุกคน
แต่ว่าสิ่งที่เราต้องการก็คือจะเสียยังไงให้ให้ถูกต้องแล้วก็เป็นธรรมที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่สรรพากรอาจจะต้องค่อยค่อยออกมาชี้แจง
อาจารย์มิก: ซึ่งกรมสรรพากรก็ออกมาชี้แจงมาเมื่อวันที่ 18 กันยายน ว่าเขากำลังเตรียมทำออกไกด์ไลน์ให้ และจะมีการพูดคุยกับผู้มีส่วนร่วมต่างๆ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป ถือว่าเป็นสัญญาดี
อาจารย์มิก: ผมไม่แน่ใจกับกับวิธีคิดของนโยบายนี้เหมือนกัน แต่ผมขอเดาแล้วว่า เขาตีความว่าคนที่จะสามารถลงทุนในหุ้นและ ETF ได้ อาจจะเป็นคนที่มีฐานะระดับหนึ่ง ในขณะที่การลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ไปลงในต่างประเทศ เขาตีความหมายว่าเป็นการลงทุนที่เกิดขึ้นในประเทศ
อาจารย์มิก: ผมอาจจะตอบแทนไม่ได้ แต่ผลขอเทียบจากกระบวนการที่เคยเกิดขึ้นกับภาษีเงินดิจิตอลแล้วกัน ซึ่งกระบวกการที่เกิดขึ้นคือ ประกาศไปก่อนแล้วก็ดูเหมือนจะเหมารวมทั้งหมด หลังจากนั้นก็เริ่มเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาเริ่มคุยกันทีละกลุ่ม อาจจะคุยกับผู้เสียภาษีรายย่อยบ้าง นักลงทุนรายย่อยบ้างว่าไป จนกระทั้งออกมาเป็นไกด์ไลน์ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน คิดว่าประมาณ 1 เดือนน่าจะเห็นอะไรที่ชัดเจนขึ้น
คุณเผ่า: ในฐานะที่เป็นนักลงทุนต่างประเทศ จากที่พูดคุยกับหลายๆ คน ก็คิดว่าคงไม่ต้องรีบร้อนที่จะถอนการลงทุน เพราะระยะเวลาเพียง 3 เดือน มันค่อนข้างที่จะจัดการยาก และสุดท้าย เมื่อนำกลับมาในประเทศก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปลงทุนอะไร หรือบางทีก็มีพอร์ตส่วนหนึ่งที่ตั้งใจจะลงทุนในประเทศอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้น คนส่วนใหญ่น่าจะรอความชัดเจนในเรื่องภาษีก่อน เกณฑ์ต่างๆ คงค่อยๆ ออกมา แล้วเราจะได้ทำเรื่องจัดการหรือวางแผนภาษีได้ถูกต้อง
อาจารย์มิก: ผมคิดว่ามี 2 ประเด็น
ผมเข้าใจว่านโยบายภาษีมันมีผลกับการตัดสินใจของเราในการลงทุน เพราะมันมีผลทำให้ผลตอบแทนของเราไม่ได้เท่าเดิม แต่ผมก็ไม่อยากให้ไปคิดเรื่องภาษีเสียจนเราลืมมองผลตอบแทนที่มันเกิดขึ้นจริง
ผมคิดว่า เอาตรงนี้เป็นที่ตั้งก่อน มันอาจทำให้เราเข้าใจภาวะต่างๆ ง่ายขึ้น แล้วเลือกตัดสินใจในวิธีการที่มันถูกต้องได้ง่ายขึ้นมากกว่า
อาจารย์มิก: การเก็บภาษีผมว่ามันเป็นเรื่องที่ทำได้ ทั้งประเทศที่เป็นเจ้าของแหล่งเงินได้ และประเทศที่เป็นเจ้าของถิ่นที่อยู่
ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าต้องเป็นคือ การเก็บภาษีไม่ควรมีการเก็บซ้ำซ้อน (Double Tax Station) ไม่ควรมี เพราะนี่คือสิ่งที่มันไม่ยุติธรรม ดังนั้นถ้าถามผม คือถ้าเก็บ ขอให้เก็บครั้งเดียวแล้วไม่มีการเก็บซ้ำซ้อนอีก ผมว่ายุติธรรมกับทุกคน
คุณเผ่า: เห็นด้วยครับ และในมุมนักลงทุนเองก็อยากให้พิจารณาเรื่องความเป็นธรรมและเท่าเทียม
ผมมองว่าแบบนี้จะเป็นธรรมมากที่สุด
คุณเผ่า: สำหรับผมขอยกตัวอย่างสหรัฐฯ จริงๆ เขาก็มีการเก็บภาษีที่โหดในระดับนึง แต่ก็มีความชัดเจน และยุติธรรม เพราะเขามีการบันทึกที่ละเอียดมากๆ
และเวลาเราไปดูเกณฑ์ของทางสหรัฐฯ ก็จะพบว่าแบ่งเป็นหลายแบบ คนโสดก็แบบนึง หัวหน้าครอบครัว คนที่แต่งงานแล้วยื่นร่วมกัน หรือแต่งงานแต่ยื่นแยกกันก็จะมีส่วนที่ได้รับยกเว้น
เพราะงั้นถ้าเราจะเก็บ สามารถทำตามประเทศเหล่านี้ ที่เป็นสากลได้
อาจารย์มิก: ประเทศไทยสามารถไปดูแนวทางปฏิบัติของประเทศอื่นที่เขาพัฒนาแล้วโดยเฉพาะกลุ่ม OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ)
แต่ต้องยอมรับเรื่องนึงว่า ถ้าอยากให้ภาษีเป็นธรรม สิ่งที่จะต้องแลกกันก็คือความซับซ้อน ซึ่งจะวุ่นวายขึ้น มีการทำบัญชีเยอะขึ้น อย่างที่สหรัฐฯ จริงๆ อัตราภาษีของเขาจะนิ่งๆ แต่ช่วงชั้นในการเก็บภาษีแต่ละชั้นจะมีการปรับทุกปีโดยปรับตามเงินเฟ้อ พวกค่าลดหย่อน ก็ปรับตามเงินเฟ้อด้วยเช่นเดียวกัน
แปลว่า ในปีนี้ผมเสียภาษีในอัตรานึง ปีหน้าอัตราการเสียมันจะขยับขึ้นไปอีก เท่ากับว่าถ้ารายได้ผมยังเท่าเดิม ผมจะเสียภาษีในอัตราที่ถูกลง และมีความสอดรับกับสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในแต่ละปีด้วย ในบ้านเรายังมีการปรับที่ช้ามาก
ผมมองว่าเครื่องมือทางการคลัง เป็นเครื่องมือที่ดีในการเก็บเงิน ปรับพฤติกรรม ปรับกระแสเงินที่อยู่ในประเทศ แต่อีกด้านหนึ่งก็ต้องคิดในมุมของผู้เสียภาษีบ้างเหมือนกันว่าทำอย่างไรให้เป็นธรรมและพวกเราเองก็อยู่ได้
คุณเผ่า: อีกสิ่งที่อยากจะเสริมคือ มองว่าคนชนชั้นกลางเป็นฐานใหญ่ของประเทศ จะต้องพยายามกระตุ้นเหมือนที่ทุกรัฐบาลพยายามกระตุ้นให้คนเก็บออม และลงทุน เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาเติบโตในด้านการเงิน
และต้องกระตุ้นให้คนอยากลงทุน เพราะถ้าคนไม่ลงทุนเลย ก็จะลำบากรัฐบาลในอนาคตที่ต้องเข้ามาช่วยเหลือเช่นกัน
ในเรื่องของการเก็บภาษีแล้วก็มีการลดหย่อนแบบที่อาจารย์มิกบอก มันต้องพยายามปรับเรื่อยๆ เพื่อให้ประชาชนเสียภาษีในจุดที่เขาอยู่ได้ด้วย
สุดท้ายสิ่งที่อยากจะรอก็คือความชัดเจน เพราะเรื่องภาษีถ้ายิ่งชัดเจนเท่าไหร่เราก็จะวางแผนหรือจัดการชีวิตได้ง่ายขึ้น
ในตอนนี้ความชัดเจนของเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีหุ้นต่างประเทศยังต้องรอต่อไป นโยบายการคลังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สิ่งที่นักลงทุนทำได้ตอนนี้คือ การรอดูความชัดเจน และอย่าลืมว่าต่อให้การก็ภาษีจะเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจลงทุน แต่ก็อย่าลืมมองผลตอบแทนที่แท้จริง