แชร์วิธีเลือกธีมเมกะเทรนด์ +20% ใน 9 เดือน

28 กุมภาพันธ์ 2567DIYThematic

ยิ่งเยอะ ยิ่งเลือก ‘ยาก’ เป็นพฤติกรรมเรื่องการตัดสินใจในชีวิตประจำวันของคน หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Choice Paralysis ซึ่งเป็นคำที่นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน Barry Schwartz พูดไว้ในหนังสือ The Paradox of Choice 

ลองนึกย้อนไปถึงตอนเลือก 5 ธีมเข้าพอร์ต Thematic DIY จาก ธีมอนาคตไกล 24 ธีมที่ Jitta Wealth ได้คัดสรรมาให้คุณแล้ว ก็ยังเลือกยากอยู่ดี เพราะมีแต่ธีมที่น่าสนใจ รักพี่เสียดายน้องไปหมด

จะมีวิธีอะไรมั้ย? ที่จะคัดเลือก หรือตัดสินใจเลือกธีมเข้าพอร์ต Thematic DIY แบบง่ายๆ มีเหตุมีผล แต่ไม่ต้องคิดเยอะเกินไป…

วันนี้เรามีคำแนะนำวิธีจัดพอร์ต Thematic DIY ด้วยหัวใจแต่ก็มีเหตุมีผล ที่คุณศิริรัตน์ สมิทธ พนักงาน Jitta ใช้เลือกธีมที่ทำให้พอร์ตเติบโตกว่า +20% ในระยะเวลาเพียง 9 เดือนเท่านั้น  

การลงทุนก็สนุกได้  

หลังจากที่คุณศิริรัตน์ สมิทธ เริ่มลงทุนพอร์ตแรกด้วย Global ETF พอร์ตลูกรักของหลายๆ คน จนรู้สึกสบายใจกับพอร์ตนี้แล้ว เลยอยากหาโอกาสใหม่ๆ เลยเลือกการลงทุนในธีมเมกะเทรนด์ด้วย Thematic DIY เพิ่มสีสันให้พอร์ตโดยรวมอีกสักหน่อย 

“การลงทุนใน Thematic DIY ของเรา เกิดจากความอยากท้าทายและสนุกกับการลงทุนอีกสักหน่อย อยากเห็นว่าเราจะปั้นมันให้โตได้มากแค่ไหน”

“การลงทุนสนุกได้มากขึ้น เพราะเรารู้ว่า Jitta Wealth คัด ETF ธีมเมกะเทรนด์ต่างๆ มาให้แล้ว ก็มั่นใจได้ว่า ETF พวกนี้เติบโต มีอนาคตไกลแน่นอน ที่เหลือก็แค่เลือกธีมที่ใช่ แล้วให้เทคโนโลยีปรับพอร์ตให้เมื่อสัดส่วนของพอร์ตเปลี่ยน ซึ่งเป็นวินัยในการลงทุนที่ควรทำ แต่เราไม่ได้ต้องทำเองแล้วเพราะ Jitta Wealth ทำให้หมด” 

หลัก ‘ขาดเธอเหมือนขาดใจ’ เลือกธีมเข้าพอร์ต 

“นั่งคิดหลายตลบก็คิดได้ว่าจริงๆ การลงทุนในธีมเมกะเทรนด์ในอนาคต มันควรเป็นไอเดียง่ายๆ ที่ว่า ‘อะไรที่อยู่รอบตัวเรา และเรามองว่ามันจะอยู่ต่อไปในอนาคต มนุษย์จะขาดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้’ ก็น่าจะพอเลือกได้ว่า 5 ธีมนี้จะเป็นอะไรดี” 

ทำให้ธีมแรกที่คุณศิริรัตน์นึกถึงคือ ธีมเซมิคอนดักเตอร์ 

“เซมิคอนดักเตอร์เพราะเราว่าอุปกรณ์ที่สำคัญในชีวิตประจำวันของเราทุกคน มันมีเจ้าชิปเล็กๆ อยู่ในนั้นเสมอ เรายังมองไม่เห็นเลยว่า อนาคตโลกจะขาดเซมิคอนดักเตอร์ไปได้” 

นั้นเป็นสาเหตุที่คุณศิริรัตน์ตัดสินใจเลือกธีมเซมิคอนดักซ์เตอร์ โดยคุณศิริรัตน์ตั้งชื่อเล่นให้กับหลักการนี้เอาไว้ว่า หลัก ‘ขาดเธอเหมือนขาดใจ’  

แล้วเมื่อมีเซมิคอนดักซ์เตอร์แล้ว ธีมต่อไปควรจะเป็นอะไร ก็เกิดจากการต่อยอดไอเดียมาจากธีมแรกที่ว่า ปัจจุบันมีอะไรที่เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นบ้าง 

“ธีมต่อมาเราคิดต่อจากธีมเซมิคอนดักซ์เตอร์ เราเลยนึกถึงคลาวด์และไซเบอร์ซีเคียวริตี ด้วยเหตุผลที่ว่า การทำงานของพนักงานออฟฟิศทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ผ่านยุคสมัยของห้องเก็บเอกสาร สู่การส่งไฟล์ผ่านโลกอินเทอร์เน็ต จนทุกวันนี้เอกสารกระดาษถูกเปลี่ยนผ่านเป็นข้อมูลนับล้านในโลกของคลาวด์ไปเรียบร้อยแล้ว ยกตัวอย่างตั้งแต่ทำงานกับ Jitta มาก็ไม่เคยได้ใช้กระดาษสักใบเลย” 

แล้วพอข้อมูลสำคัญมากมายอยู่ในคลาวด์ไปเรียบร้อยแล้ว ไซเบอร์ซีเคียวริตีจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด 

“จริงๆ เริ่มจากข่าวใกล้ๆ ตัวที่เราเห็นกันบ่อยขึ้นเรื่อยๆ คือการโจมตีกันทางไซเบอร์จนเราก็รู้สึกว่า ธุรกิจต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจก็มากขึ้นเรื่อยๆ แค่ปัจจุบันบริษัททั่วโลกก็เริ่มลงทุนเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบมหาศาลและมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว เพราะข้อมูลเหล่านั้นมีมูลค่าที่ประเมินค่าไม่ได้” 

3 ธีมแรกผ่านไป คุณศิริรัตน์ก็ยอมรับว่า 2 ธีมสุดท้ายเป็นงานหินเหมือนกัน ธีมทั้ง 23 ธีมมันดีหมดทุกธีม แต่จะทำอย่างไรให้พอร์ตนี้เป็นการลงทุนที่ถูกจริตกับเราให้มากที่สุด แล้วตอนนั้นก็เป็นตอนที่ AI เข้ามามีบทบาทในงานที่คุณศิริรัตน์ทำมากขึ้น 

“ตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่ AI เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของคน เริ่มจับต้องได้ง่าย และดูเข้าถึงได้ เช่น ChatGPT ก็เข้ามามีบทบาทในการทำงาน เป็นสกิลที่หลายคนเริ่มต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น เราก็รู้สึกว่านี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นอันดีที่เริ่มจับต้องได้ของธีมหุ่นยนต์และ AI” 

เลือกกระจายความเสี่ยงด้วยธีมที่หลากหลาย 

ข้อดีอีกอย่างของการลงทุนใน Thematic DIY ที่นอกจากที่เราจะได้เลือกธีมที่เราชอบได้เองแล้ว เรายังสามารถเลือกกระจายความเสี่ยงแบบของเราได้ด้วย สมชื่อ ‘DIY’ 

“เรารู้สึกว่าธีมที่เลือกไปก่อนหน้าทั้งหมดเป็นการลงทุนในเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นความเชื่อมั่นส่วนตัวว่ายังไงมันก็ไปต่อได้ แต่การกระจายความเสี่ยงก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งของการลงทุน แต่ก็ยังใช้ไอเดียเดิมที่ว่า ‘อะไรที่ทุกคนขาดไม่ได้’ ทำให้นึกถึงธีมบริการสุขภาพ’ 

ธีมบริการสุขภาพมีชื่อเล่นว่า อุตสาหกรรมที่ไม่มีวันตาย เพราะจากแนวโน้มของคนที่จะมีอายุยาวนานขึ้น แถมตอบรับสังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แถมการรักษาโรคก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตด้วย 

“เราเลือกธีมบริการสุขภาพมาบาลานซ์ให้พอร์ตไม่ผันผวนเกินไป เพราะธีมเทคโนโลยีต่างๆ ขึ้นชื่อเรื่องความผันผวนพอสมควร ถึงจะลงทุนใน ETF แต่ก็อยากกระจายความเสี่ยงด้วยการเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมที่หลากหลายอีกชั้นหนึ่งด้วย ธีมบริการสุขภาพ เป็นธีมที่เรามองว่ามันอมตะ ใครๆ ก็เจ็บป่วยได้ แล้วการมีสุขภาพดีก็เป็นเป้าหมายของทุกคน” 

ใช้หัวใจแบบมีเหตุมีผล

คุณศิริรัตน์ยอมรับว่าหลักการที่เธอเลือกใช้อาจจะไม่ได้เป็นหลักการที่ดูจริงจังอะไร แต่ก็เป็นเพราะเชื่อว่า Jitta Wealth คัดเลือกธีมเมกะเทรนด์แห่งอนาคตมาให้แล้ว คุณสามารถเลือกจัดพอร์ตในแบบที่คุณชอบได้เลย 

“เราอาจจะไม่ได้ใช้หลักการอะไรมากมาย เพราะเราก็เชื่อว่าใน 23 ธีมที่ Jitta Wealth เลือกมาให้มันก็ดีอยู่แล้ว แต่ถ้าเราเลือกได้สูงสุด 5 ธีมใน 1 พอร์ต เราก็อยากลองธีมที่ดูใกล้ตัวเรา หรือเราเห็นหรือได้ใช้จากประสบการณ์ส่วนตัว ในอนาคตเราก็กำลังมองว่าอยากเปิดพอร์ตเพิ่ม อาจจะเน้นไปที่การกระจายความเสี่ยงในแต่ละประเทศ”

และนี่คือหลักการในการเลือกธีมง่ายๆ ของคุณศิริรัตน์ ที่สร้างผลตอบแทนไปกว่า +20.55% ภายใน 9 เดือนเท่านั้น

“เลือกธีมที่เรารู้สึกว่าขนาดเราเองยังขาดมันไม่ได้ แล้ว DCA เข้าพอร์ตนี้ไปเรื่อยๆ เพราะเชื่อมั่นในธีมอนาคตไกลเหล่านี้ที่ Jitta Wealth เลือกมาให้แล้ว”

ลงทุนในธีมแห่งอนาคต เพื่ออนาคตด้วย Thematic DIY 

Jitta Wealth ได้คัดเลือกธีมเมกะเทรนด์แห่งอนาคตมาให้คุณแล้วกว่า 24 ธีมเพื่อให้คุณได้เลือกธีมที่ใช่ อุตสาหกรรมที่ชอบเข้าพอร์ตของคุณ แถมยังเลือกกระจายความเสี่ยงในพอร์ตได้สูงสุดถึง 5 ธีม 

ที่สำคัญยังมีการปรับสัดส่วนของพอร์ตอัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 5% เพื่อรักษาวินัยในการลงทุนให้คุณแบบอัตโนมัติ

เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นไอเดียดีๆ ให้คุณไปประกอบการตัดสินใจ  เลือกธีมเมกะเทรนด์อนาคตไกลได้เร็วขึ้น 

ลงทุนเมกะเทรนด์ทั้งที ก็ต้องคัดสรรมาอย่างดี และสะดวกแบบนี้เท่านั้น 

<โอนเงินเริ่มลงทุน Thematic DIY>

เงินลงทุนเริ่มต้น 10,000 บาท เพิ่มทุน 1,000 บาท 

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด