วิธีลงทุน Thematic ให้ผันผวนน้อยลง (ตอนที่ 3)

16 เมษายน 2564Global ETFThematic

จัดพอร์ตลงทุนด้วยค่า Correlation ทำอย่างไร?

Jitta Wealth Thematic มีเป็นสิบๆ ธีม ให้คุณเลือกจัดพอร์ตลงทุนด้วยตัวเอง 

คิดไปคิดมา ธีมนั้นก็ดี ธีมนี้ก็ใช่ กลายเป็น…เลือกไม่ถูกซะอย่างนั้น

พอจัดพอร์ตลงทุนได้แล้ว ก็มากังวลอีกว่า…กระจายความเสี่ยงดีหรือยัง?

อีก 1 วิธีการที่จะช่วยคุณจัดพอร์ตลงทุน Thematic ง่ายขึ้น คือ เลือกธีมนั้นๆ ด้วยค่า Correlation หรือค่าสหสัมพันธ์ 

Correlation เป็นค่าทางสถิติตัวหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ เพื่อคัดเลือกสินทรัพย์มาจัดพอร์ตลงทุน

หน้าที่ของมันคือ เปรียบเทียบความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ผ่านการคำนวณหาค่า Correlation Coefficient หรือค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยจะมีค่าอยู่ระหว่าง -1.0 ถึง +1.0

ถ้ามีค่าใกล้ -1.0 คือ ตัวแปรทั้ง 2 ตัวมีความสัมพันธ์ตรงข้ามกัน
ถ้ามีค่าใกล้ +1.0 คือ ตัวแปรทั้ง 2 ตัวมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด
ถ้ามีค่าเป็น 0 คือ ตัวแปรทั้ง 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กันเลย

สำหรับ Thematic ตัวแปรในที่นี้ คือ ETF (Exchange Traded Fund) ทั้ง 14 ธีมนั่นเอง ลองดูค่า Correlation ที่ทีมงาน Jitta Wealth รวบรวมและคำนวณจากผลตอบแทนรายวันที่นี่ครับ

จะเห็นได้ว่า ค่า Correlation ในแต่ละธีม ‘เป็นบวก’ ทั้งหมด นั่นก็เพราะทุกธีมเป็นสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน คือ ETF ที่ลงทุนในหุ้น การเคลื่อนไหวของราคาก็จะไปในทิศทางเดียวกัน 

ดังนั้นพอร์ตลงทุนของ Thematic จะมีความผันผวนสูง เมื่อเป็นช่วงขาขึ้น พอร์ตลงทุนจะโตขึ้นมาก ขณะเดียวกันช่วงขาลง พอร์ตลงทุนมีโอกาสลดลงได้เช่นเดียวกัน

ถ้าอยากหาสินทรัพย์ที่ค่า Correlation เป็นลบ ก็ต้องลงทุนสินทรัพย์ที่ราคาวิ่งตรงข้ามกัน อย่าง ETF ตราสารหนี้ กับ ETF หุ้น อย่างกองทุนส่วนบุคคล Global ETF ซึ่งเป็นการจัดพอร์ตลงทุนแบบ Asset Allocation (การจัดสรรสินทรัพย์)

ในความแตกต่างของราคาตราสารหนี้และหุ้น จะทำให้สินทรัพย์แต่ละตัวคานแรงเหวี่ยงกันและกันนั่นเอง นี่คือผลของค่า Correlation เป็นลบ พอร์ตลงทุนผันผวนน้อย

กลับมาดูค่า Correlation ระหว่างธีมต่างๆ ของ Jitta Wealth Thematic คุณจะเห็นว่า ค่า Correlation สูงที่สุด อยู่ที่ 0.964171 คือ ธีมหุ้นสหรัฐฯ กับธีมเทคโนโลยี เพราะหุ้นเทคโนโลยีของโลกส่วนใหญ่เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ขณะเดียวกันก็เป็นหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดังนั้นหุ้นที่ ETF ทั้ง 2 ธีมนี้ลงทุนอยู่ จึงมีความใกล้เคียงและคล้ายคลึงกัน 

ค่า Correlation ต่ำที่สุด อยู่ที่ 0.404708 คือ ธีมหุ้นเวียดนามกับธีมกัญชา เพราะหุ้นบริษัทกัญชาส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ และแคนาดา ส่วนหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ในตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็นธุรกิจดั้งเดิม เช่น อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก ธนาคาร หรืออาหารและเครื่องดื่ม จึงทำให้ 2 ธีมนี้มีความสัมพันธ์กันน้อย สามารถจัดพอร์ตลงทุน Thematic ร่วมกันได้

ใน 14 ธีม ค่า Correlation ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 0.60 ถึง 0.79 สะท้อนว่า มีหลายๆ ธีมที่มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างมาก เพราะมีหลายธีมที่ลงทุนในธุรกิจเมกะเทรนด์ มีอนาคตไกล ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีและระบบดิจิทัลในการขับเคลื่อนธุรกิจ

จัดพอร์ตลงทุน Thematic โดยใช้ค่า Correlation เพื่อกระจายความเสี่ยงได้อย่างไร?

Jitta Wealth เคยได้แนะนำในบทความก่อนหน้านี้ ว่า จัดพอร์ตลงทุน 4 ธีม จะช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวน กรณีที่ธีมใดธีมหนึ่งเป็นช่วงขาลง ธีมอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่า จะช่วยพยุงพอร์ตลงทุนไม่ขาดทุนมากนัก

นอกจากนี้ ยังเพิ่มโอกาสให้คุณได้ผลตอบแทนที่ดีจากธีมอื่นๆ ด้วย เช่น ปีที่ผ่านมา ธีมอีคอมเมิร์ซและธีมคลาวด์มาแรง ได้รับอานิสงส์จาก Covid-19 ส่วนปีนี้ยังเติบโตอยู่ แต่ลดความร้อนแรงลงมา กลายเป็นธีมกัญชาและธีมหุ้นเวียดนามกำลังทะยานขึ้น รับกระแสปลดล็อกกัญชาถูกกฎหมาย และเศรษฐกิจทั่วโลกฟื้นตัว

หากต้องการลองใช้ค่า Correlation ที่ Jitta Wealth คำนวณมาให้ ลองจัดพอร์ตลงทุน คุณสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. เลือกธีมที่คุณชื่นชอบมา 1 ธีม สมมติว่า คุณเลือก ‘ธีมสุขภาพ’ รับกระแสวัคซีน Covid-19 ทั่วโลก และเมกะเทรนด์สังคมคนสูงวัย

2. เทียบค่า Correlation ในช่องธีมสุขภาพ แล้วดูว่า ธีมไหนมีความสัมพันธ์กันน้อยที่สุด ซึ่งก็คือ ‘ธีมกัญชา’ เท่ากับ 0.443397 จัดว่าเป็นธีมธุรกิจน้องใหม่ ที่มีข่าวมาให้ได้ยินตลอดว่า ปลดล็อกกฎหมายให้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการในหลายๆ ประเทศ 

3. เหลืออีก 2 ธีม คุณสามารถเลือกให้มีค่า Correlation ใกล้เคียงหรือต่างกันก็ได้ ไม่มีกฎตายตัว ไม่มีถูกหรือผิด
– ค่าประมาณ 0.5 ได้แก่ ธีมเทคโนโลยีจีน และธีมเทคโนโลยีท่องเที่ยว
– ค่าประมาณ 0.6 ได้แก่ ธีมหุ้นจีน ธีมคลาวด์ ธีมอีคอมเมิร์ซ ธีมหุ้นอินเดีย และธีมหุ้นเวียดนาม
– ค่าประมาณ 0.7 ได้แก่ ธีมฟินเทค ธีมเกมและอีสปอร์ต และธีม AI และหุ่นยนต์
– ค่าประมาณ 0.9 ได้แก่ ธีมเทคโนโลยี และธีมหุ้นสหรัฐฯ

เพราะแนวคิดการจัดพอร์ตลงทุน 4 ธีม คือ ขอให้คุณเลือกธีมถูกเพียง 1 ธีมในปีนั้นๆ โอกาสที่พอร์ตลงทุนจะเติบโตมีถึง 25% แล้วครับ

ยิ่งคุณเลือกธีมที่มีค่า Correlation หลากหลาย การเคลื่อนไหวราคา ETF แต่ละธีมในบางช่วงเวลามีความสัมพันธ์กันไม่มาก ก็ตอบโจทย์ประเด็น ‘กระจายความเสี่ยง’ ในพอร์ตลงทุนได้แล้วครับ 

หากคุณอยากจัดพอร์ตลงทุน 2 ธีม 3 ธีม หรือ 5 ธีม โดยใช้ ค่า Correlation ก็สามารถทำได้นะครับ ขึ้นอยู่กับว่า คุณต้องการกระจายการลงทุน Thematic มากน้อยแค่ไหน

แต่การจัดพอร์ตลงทุน Thematic ด้วยค่า Correlation จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับผลตอบแทนรวมและจุดขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown) ขึ้นอยู่กับศักยภาพและการเติบโตของธีมในปีนั้นๆ ดูจากอินโฟกราฟิกได้ครับ 

Jitta Wealth Thematic

Jitta Wealth จะอัปเดตค่า Correlation ใน Thematic ทุกๆ ปีครับ เพราะราคา ETF และเทรนด์การลงทุนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  

นอกจากนี้ Jitta Wealth มีระบบปรับพอร์ตลงทุนอัตโนมัติ กรณีที่ธีมใดธีมหนึ่งมีสัดส่วนเปลี่ยนแปลงเกิน 5% เพื่อรักษาวินัยการลงทุน 

และยังให้คุณเปลี่ยนธีมได้ไตรมาสละ 1 ครั้งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากคุณมองว่าธีมที่เลือกไปนั้น ไม่น่าจะเติบโตได้อีกแล้วในอนาคต

เมื่อจัดพอร์ตลงทุนได้แล้ว อย่าลืมเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ หรือ Dollar Cost Average (DCA) เพื่อไม่เสียโอกาสได้รับผลตอบแทนในทุกภาวะตลาดด้วย ตามที่เราได้อธิบายไว้ในตอนที่ 2 ครับ

ศึกษาข้อมูลทั้ง 14 ธีมของ Thematic ได้ที่นี่ <https://jittawealth.com/thematic>

==========

กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ซึ่งเป็น WealthTech แห่งแรกของไทยที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด