จาก ‘วิดีโอเกม’ สู่ ‘อีสปอร์ต’ เมกะเทรนด์ที่ไม่เคยหายไปจากโลก

6 สิงหาคม 2564Jitta WealthThematic

เมื่อต้องการช่วงเวลาผ่อนคลายหรือสันทนาการ การเล่นเกม…เรียกได้ว่าเป็น 1 ในงานอดิเรกที่หลายๆ คนชื่นชอบ 

จริงๆ แล้ว มนุษย์เรามีการละเล่นต่างๆ มาตั้งแต่ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นไพ่ประเภทต่างๆ หมากรุก หมากฮอส บิงโก โอเอ็กซ์ ครอสเวิร์ด ซูโดกุ และอีกหลายๆ เกมที่เราสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นกับคนอื่นๆ ได้ 

ในยุคที่เครื่องใช้ไฟฟ้า…มีบทบาทสำคัญมากขึ้น เกมคอนโซล (Console Game) จึงถือกำเนิดบนโลกใบนี้ เชื่อว่า ใครที่เกิดในยุค 80 และ 90 ต้องคุ้นเคยกับเจ้า Famicom (Family Computer) หรือ Super Famicom รวมไปถึง Game Boy ของ Nintendo ไม่มากก็น้อย

ไม่ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไปสักแค่ไหน ในวันที่คอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาจนกลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าจำเป็นของทุกบ้านและทุกคน เกมก็มาในรูปแบบของแผ่น CD หรือดาวน์โหลดผ่านเว็บเบราว์เซอร์ 

เมื่อโทรศัพท์มือถือมีบทบาทมากขึ้น โปรแกรมเกมก็ฝังมากับตัวเครื่องด้วย ผู้ใช้งานโทรศัพท์ Nokia ทั่วโลก ต้องคุ้นเคยกับเกมงูกันบ้าง

ในวันที่โทรศัพท์มือถือ พัฒนาเป็นสมาร์ตโฟน ไปจนถึงแท็บเล็ต โปรแกรมที่อยู่ในเครื่อง ที่เรียกกันติดปากว่า แอปพลิเคชัน ก็มาในรูปแบบเกมเช่นเดียวกัน

ในยุคที่อินเทอร์เน็ตพัฒนาไปถึงโครงข่าย 5G การเล่นเกมไม่ได้จำกัดแค่ตัวเองหรือเพื่อนฝูงอีกต่อไป คุณสามารถเล่นเกมออนไลน์กับใครก็ได้บนโลกใบนี้ และพัฒนาไปจนถึงการแข่งขันเล่นเกม…ซึ่งก็คือ อีสปอร์ต (E-sport)

และยุคนี้…อุตสาหกรรมเกม ไม่ได้จำกัดแค่อาชีพโปรแกรมเมอร์ เขียนหรือพัฒนาแอปพลิเคชันเกมเท่านั้น หากคุณเป็นเกมเมอร์ หรือนักแคสเกม…คุณก็สามารถสร้างรายได้จากการเล่นเกม พัฒนาตัวเองเข้าไปอยู่ในวงการอีสปอร์ตได้เหมือนกัน

เมื่อเราเห็นว่า การเล่นเกม…แทบจะฝังเป็นพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์ หลายคนมีเวลาว่างก็เล่นเกม หลายคนก็เล่นเกมเป็นบางเวลา หรือต้องการเล่นเกมกับเพื่อนฝูงเท่านั้น บางคนอาจจะไม่ได้ชอบเล่นเกมมากนัก หรือชื่นชอบและสนุกเป็นบางเกมเท่านั้น

แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ล้วนผ่านการเล่นเกมไม่มากก็น้อย 

ทีนี้…คุณเห็นความน่าสนใจของธุรกิจเกมและอีสปอร์ตหรือยัง

Covid-19 ดัน ‘เกมและอีสปอร์ต’ โตสูง 

Newzoo เป็นบริษัทที่มีข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตทั่วโลก เพื่อวางแผนธุรกิจและการทำตลาดให้บริษัทเกม ได้อัปเดตภาพรวมตลาดโลกไว้น่าสนใจ สำหรับปี 2564 ธุรกิจเกมจะสร้างรายได้รวมทั่วโลกกว่า 175,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเล็กน้อย 1.1% จากปี 2563 จากผู้เล่นเกมทั่วโลก 2,900 ล้านคนทั่วโลก [1]

มุมมองของ Newzoo คือ มูลค่าตลาดติดลบ 1.1% ไม่ได้สะท้อนภาพขาลง หรือมีประเด็นอะไรให้น่ากังวล เนื่องจากรายได้ธุรกิจเกมทั่วโลกในปี 2563 อยู่ที่ 177,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีการเติบโตสูงมากถึง 23.1% จากปีก่อนหน้า 

Newzoo ได้แบ่งประเภทอุปกรณ์และการใช้งาน 3 แบบ ได้แก่ 

  1. เกมบนอุปกรณ์พกพา (Mobile Game) แบ่งเป็นเกมบนสมาร์ตโฟนกับแท็บเล็ต 
  2. เกมบนคอมพิวเตอร์ (Computer Game) แบ่งเป็นเกมบนเว็บเบราว์เซอร์ กับซอฟต์แวร์หรือกล่องเกมสำหรับเครื่อง PC 
  3. เกมคอนโซล (Console Game) เช่น PlayStation Nintendo Switch และ Xbox Live

จริงๆ ภาพรวมตลาดเกมปี 2021 ยังน่าสนใจ เพราะยุค New Normal ทำให้วิถีชีวิตผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก รวมทั้งธุรกิจเกมด้วย เช่น

  • โรคระบาด Covid-19 ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ธุรกิจเกมทั่วโลกพลิกผันเช่นเดียวกับธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องห่วงโซ่อุปทานขาดแคลนในการผลิตฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกมคอนโซล และเกมบนคอมพิวเตอร์ เช่น ชิป เป็นต้น ส่งผลให้ปี 2564 ตลาดเกมจาก 2 ประเภทนี้ยังหดตัว และรอเวลาฟื้นตัวในช่วง Covid-19 กำลังคลี่คลาย 
  • ช่วงล็อกดาวน์และการทำงานจากที่บ้าน มีผลต่อความคืบหน้าและการวางแผนธุรกิจเกมคอนโซล รวมไปถึงกลุ่ม AAA (วิดีโอเกม) ที่จะวางขายซอฟต์แวร์ของเกมคอนโซลและเกมบนคอมพิวเตอร์ด้วย อาจจะเลื่อนไปทำตลาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 หรือไปปี 2565
  • เกมบนอุปกรณ์พกพา อย่างสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต ได้รับผลกระทบน้อยมากจาก Covid-19 เนื่องจากการพัฒนาแอปพลิชันเกมไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องเลื่อนการออกเกมใหม่ เหมือนกลุ่มเกมคอนโซลและเกมบนคอมพิวเตอร์ ดังนั้นกลุ่มเกมบนอุปกรณ์พกพายังมีรายได้เติบโตใน ปี 2564 และมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของธุรกิจเกมทั่วโลก
  • ปัจจัยที่กระทบแอปพลิเคชันเกม คือ Apple จะเลิกระบบระบุตัวตนสำหรับผู้ลงโฆษณา หรือ IDFA (Identifier for Advertisers) บน iOS ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป ตามนโยบายความปลอดภัยของ Apple ซึ่งจะมีผลให้นักการตลาดและนักโฆษณาที่เก็บข้อมูลผู้ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ หากผู้ใช้งาน iPhone และ iPad ไม่ยินยอม ส่งผลต่อการติดตามและวัดผลโฆษณาในอนาคต เป็นสิ่งที่บริษัทผู้พัฒนาเกมต้องปรับตัว
  • ประเด็น IDFA ไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทพัฒนาเกมสัญชาติจีน อย่าง Tencent และ NetEase เพราะระบบนิเวศ (Ecosystem) ของทั้ง 2 ค่ายนี้มีความแข็งแกร่ง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพา IDFA เลย

Newzoo ประเมินว่า ธุรกิจเกมทั่วโลกจะเติบโตทะลุ 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2566 โดยจะมีการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 7.2% ในช่วง 2562-2568 นำโดยกลุ่มเกมบนอุปกรณ์พกพา ที่ยังคงรักษาอัตราการเติบโตไว้ได้ ส่วนกลุ่มเกมคอนโซลและเกนบนคอมพิวเตอร์จะกลับมาเติบโตได้ในปี 2565 เมื่อการออกอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ และซอฟต์แวร์เกมใหม่ๆ เป็นไปตามที่แต่ละบริษัทวางแผนไว้

Jitta Wealth

Global X บริษัทบริหารสินทรัพย์ ผู้ออก ETF (Exchange Traded Fund) ให้มุมมองว่า ยุค Digital Disruption ที่เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตคนทั่วโลก ก็ยังสามารถเปลี่ยนแปลงธุรกิจเกมได้เช่นเดียวกัน 

นี่คือเหตุผลที่ทำให้ตลาดเกมบนอุปกรณ์พกพา อย่างสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตเติบโตจนมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดเกมทั่วโลกได้ เพราะผู้คนสามารถซื้อเกมได้จากช่องทางดิจิทัลนั่นเอง

Global X บอกว่า ช่องทางจำหน่ายเกมบนแพลตฟอร์มดิจิทัล หรือ Digital Distribution มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 83% เช่น App Store (iPhone และ iPad) Google Play (ระบบ Android) Sony Store (PlayStation) Microsoft Store (Xbox Live) Value Steam (เกมบน PC) และ Epic Games Store (เกมบน PC) เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดเกม หลังจ่ายเงินได้เลย

ส่วนช่องทางจำหน่ายเกมผ่านหน้าร้านและสั่งจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ หรือ Physical Distribution มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 17%  เช่น ซอฟต์แวร์เกม เครื่องเล่นเกมคอนโซล หรือกล่องเกมสำหรับเครื่อง PC ที่ต้องมีสต็อก บรรจุใส่กล่อง และจัดส่งสินค้า

ดังนั้นการจำหน่ายเกมผ่านทั้ง 2 ช่องทางจะสร้างอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Margin) ให้กับบริษัทผู้ออกเกมแตกต่างกันมาก ช่องทาง Digital Distribution มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 70-85% ส่วนช่องทาง Physical Distribution มีอัตรากำไรขั้นต้นราวๆ 40-50% [2] 

ภาพรวมตลาดธุรกิจเกมทั่วโลกและเทรนด์การใช้งานที่เห็นในยุคนี้ กำลังชี้ให้เห็นว่า นักพัฒนาเกม นักออกแบบเกม รวมไปถึงบริษัทที่อยู่ในธุรกิจเกม กำลังปรับตัวเข้าสู่ยุค Digital Disruption ด้วยเช่นกัน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้น ตามพฤติกรรมผู้ใช้งานในยุค New Normal

โอกาสลงทุนในธุรกิจ ‘เกมและอีสปอร์ต’

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจเกมทั่วโลกยังมีทิศทางที่สดใสต่อเนื่องในอีก 5 ปีข้างหน้า แม้ว่ากำลังเจออุปสรรคครั้งสำคัญในช่วงที่ Covid-19 ระบาด ในทางกลับกันพฤติกรรมผู้คนในยุค New Normal ที่ต้องทำงานจากที่บ้าน หรืออยู่บ้านนานขึ้น การเล่นเกม…ยังมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตมนุษย์อีกมาก

นอกจากนี้ การเล่นเกมในยุคดิจิทัล ทำให้เรามีสังคมใหม่ๆ จากเกมเมอร์ทั่วโลก มีแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์คและเว็บบอร์ดในการพูดคุยกัน ดังนั้นการเล่นเกมคนเดียวที่บ้าน…คงไม่เหงาอีกต่อไป

หากคุณเห็นศักยภาพในธุรกิจเกมและอีสปอร์ต และคาดว่า อนาคตรายได้บริษัทเหล่านี้จะเติบโตได้อีก หลังจากที่สถานการณ์ Covid-19 คลี่คลาย รวมไปถึงเกมใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย และจำนวนผู้เล่นเกมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น

Jitta Wealth มีกองทุนส่วนบุคคล Thematic ที่มีธีมเกมและอีสปอร์ต (Games & E-sports) ลงทุนใน Global X Video Games & Esports ETF (HERO) เป็น ETF ในตลาดหุ้น Nasdaq 

HERO เป็น Passive Fund จัดพอร์ตกองทุนลงทุนมากกว่า 40 บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ต ให้มีผลตอบแทนตามดัชนี Solactive Video Games & Esports Index มีบริษัทที่น่าสนใจ เช่น บริษัท NVIDIA บริษัท SEA บริษัท Electronic Arts บริษัท Nintendo บริษัท Activision Blizzard บริษัท NetEase บริษัท Konami บริษัท NCsoft บริษัท Zynga บริษัท Embracer Group และอื่นๆ อีกกว่า 30 บริษัท

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีของ HERO ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 อยู่ที่ 26.08% ส่วนผลตอบแทน 7 เดือนแรกของปี 2564 อยู่ที่ -1.41% เนื่องจากราคา HERO ทำจุดสูงสุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่ 36.73 ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะปรับฐานลงมา ปลายเดือนกรกฎาคม ราคาอยู๋ที่ 30.50 ดอลลาร์สหรัฐ

กองทุนส่วนบุคคล Thematic เปิดโอกาสให้คุณเลือกจัดพอร์ตลงทุนกับธีมอื่นๆ ได้สูงสุด 5 ธีม มีอีกนับสิบธีมที่น่าสนใจและเป็นเมกะเทรนด์อนาคตไกล เช่น คลาวด์ ฟินเทค อีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยีท่องเที่ยว จีโนมิกส์ พลังงานสะอาดจีน เป็นต้น

คุณเข้ามาศึกษาธีมเกมและอีสปอร์ตได้ที่ https://jittawealth.com/thematic/GAMES-ESPORT หรือสอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ทาง Line ID: @JittaWealth


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ซึ่งเป็น WealthTech แห่งแรกของไทยที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


อ้างอิง

  1. Global Games Market to Generate $175.8 Billion in 2021; Despite a Slight Decline, the Market Is on Track to Surpass $200 Billion in 2023 https://newzoo.com/insights/articles/global-games-market-to-generate-175-8-billion-in-2021-despite-a-slight-decline-the-market-is-on-track-to-surpass-200-billion-in-2023/ 
  2. Video Games & Esports: Building on 2020’s Rapid Growth https://www.globalxetfs.com/video-games-esports-building-on-2020s-rapid-growth/ 

อ่านบทความแนะนำธีมการลงทุนที่น่าสนใจ

หุ้น ​Covid-19 ตัวไหนปัง พร้อมชี้เป้า ETF ลงทุนรับดีมานด์ทั่วโลก

‘จีโนมิกส์’ เมกะเทรนด์ทรงพลัง พลิกโฉมโลกยุค Covid-19

‘พลังงานสะอาด’ ดัน ‘จีน’ เป็นผู้นำโลก

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด