‘จีโนมิกส์’ เมกะเทรนด์ทรงพลัง พลิกโฉมโลกยุค Covid-19

2 กรกฎาคม 2564Jitta WealthThematic

ผู้ผลิตวัคซีน mRNA ของโลก จะไม่ได้มีแค่ Pfizer BioNTech และ Moderna อีกต่อไป

อย่างที่เรารู้กันว่า โรคระบาดสะเทือนโลกอย่าง Covid-19 เป็นตัวเร่งให้ การใช้วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยี mRNA (Messenger RNA) ประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น 

เพราะพิสูจน์มาแล้วว่า การใช้สารพันธุกรรมมากระตุ้นให้ร่างกายสร้าง Spike Protein เพื่อมาต่อสู้กับไวรัส Covid-19 ให้ประสิทธิผลที่ดีมากกว่าวัคซีนแบบเดิมๆ ที่ใช้ Viral Vector และเชื้อตาย 

และที่เด็ดกว่านั้นคือ ภูมิคุ้มกันจากวัคซีน mRNA ยังป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้อีกด้วย

นับเป็นการแจ้งเกิดอย่างสวยงาม สมกับที่เป็นวัคซีน mRNA แรกของโลก และเป็นการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม ‘จีโนมิกส์’ (Genomics)

ล่าสุดบริษัทยายักษ์ใหญ่จากฝรั่งเศส Sanofi จะลงทุน 400 ล้านยูโรในการทำวิจัยและพัฒนาวัคซีน mRNA เป็นของตัวเอง เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ตอบสนองกับความต้องการวัคซีน เพราะคงไม่จบที่การฉีดแค่ 2 โดสเท่านั้น ในอนาคต…ยังต้องกระตุ้นภูมิกันอีกทุกๆ ปี [1]

แม้แต่ Moderna บริษัทยารายเล็กของสหรัฐฯ ได้อัปเดตประสิทธิผลวัคซีน mRNA ของบริษัทว่า ผลการทดลองในห้องแล็บสามารถป้องกันไวรัส Covid-19 กลายพันธุ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) เบตา (แอฟริกาใต้) และเอตา (ไนจีเรีย) ส่งผลให้ราคาหุ้น Moderna พุ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ [2] 

เพราะทั่วโลกกำลังกังวลว่า วัคซีนที่มีอยู่จะสามารถป้องกันความหลากหลายของสายพันธุ์ Covid-19 ได้หรือไม่ แต่เทคโนโลยี mRNA ได้เป็นคำตอบให้แล้วว่า มีประสิทธิผลและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้คนทั่วโลกได้

ทั้ง BioNTech Moderna และ Sanofi ล้วนเป็นบริษัทที่มีการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมจีโนมิกส์ มาพัฒนายา วัคซีน และเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ และพวกเขาคงไม่หยุดเพียงแค่ Covid-19  อย่างแน่นอน

แล้วจีโนมิกส์คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรในโลกยุค Covid-19 บทความนี้จะฉายภาพใหญ่ให้คุณรู้จักจีโนมิกส์มากขึ้น

แล้วคุณจะเข้าใจว่า ทำไม ‘จีโนมิกส์’ ถึงเป็นเมกะเทรนด์อันทรงพลัง ต่อยอดให้วงการสาธารณสุขโลกให้มีความก้าวหน้าในระยะ 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า

‘จีโนมิกส์’ เป็นเมกะเทรนด์อนาคตไกล

ว่ากันว่า ‘จีโนมิกส์’ จะเป็นย่างก้าวอันยิ่งใหญ่ ทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์ก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว หลายคนอาจจะสงสัยว่า จีโนมิกส์มีคำจำกัดความอย่างไร

จีโนมิกส์เป็นการศึกษาระบบพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต รวมถึงปฏิกิริยาของยีนต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ สำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ หมายถึง ระบบพันธุกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อโรคภัยไข้เจ็บ การรักษา การบำบัดด้วยยาและวัคซีน หรือเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ [3]

หากย้อนไปสัก 2 ทศวรรษ การใช้ระบบพันธุกรรมมาช่วยในทางการแพทย์อาจจะดูเป็นเรื่องยากและไกลตัว รวมถึงใช้ต้นทุนมหาศาล

แต่ทุกอย่างย่อมมีพัฒนาการของมัน รวมไปจีโนมิกส์ด้วย ในปี 2546 ประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมการแพทย์อย่างสหรัฐฯ จัดทำโครงการลำดับ DNA ของมนุษย์จากอาสาสมัครในประเทศ ตอนนั้นคาดว่า จะใช้งบประมาณถึง 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ผ่านมาเกือบ 20 ปี การลำดับ DNA มีต้นทุนเหลือเพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ส่งผลให้การวิจัยและพัฒนาระบบพันธุกรรมรุดหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว [4]

นี่คือ 4 เหตุผลที่ทำให้จีโนมิกส์เป็นอนาคตอันเรืองรองของอุตสาหกรรมการแพทย์ 

  1. จีโนมิกส์เป็นทางออกของโรคภัยไข้เจ็บที่รักษายาก

เชื่อหรือไม่ว่า มีกว่า 50,000 โรคที่เป็นโรคทางพันธุกรรม และถูกจัดว่าเป็นโรคที่เกิดจากยีนกลายพันธุ์เพียงครั้งเดียว ในอดีตอาจจะเป็นโรคที่รักษาได้ยาก แต่จีโนมิกส์ได้ปลดล็อกให้กระบวนการยีนบำบัด (Gene Therapy) ให้เป็น 1 ในแนวทางการรักษาโรคได้

ปัจจุบันยีนบำบัดได้รับการอนุมัติให้ใช้ในทางการแพทย์ได้แล้ว ผ่านองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เมื่อปี 2560 และกำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลองทางคลินิกทั่วโลก ในอนาคตตลาดของยีนบำบัดจะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และจะมีเคสใหม่ๆ มาท้าทายวงการแพทย์อีกเรื่อยๆ

  1. จีโนมิกส์ทำให้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งจะไม่ใช่คำตอบของการรักษาโรคอีกต่อไป

ยาฟาวิพิราเวียร์อาจจะเป็น ‘คำตอบเดียว’ ของการรักษา Covid-19 ในปัจจุบัน รวมไปถึงยาอื่นๆ ที่ใช้รักษาโรคใดโรคหนึ่งในภาพรวม กลายเป็น ‘One Drug Fits All’ แต่ในความเป็นจริงมนุษย์แต่ละคนล้วนตอบสนองแต่การบำบัดไม่เหมือนกัน

แต่จีโนมิกส์จะปลดล็อกให้แนวทางการรักษาโรคเฉพาะบุคคลมากขึ้น เป็นการแพทย์เฉพาะบุคคล (Personalized Medicine) ทำให้เป็นการแพทย์ที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น (Precision Medicine)

มันคือการใช้ช้อมูลทางพันธุกรรมของผู้ป่วยมากออกแบบวิธีการรักษาโรคนั่นเอง

  1. จีโนมิกส์ทำให้ต้นทุนการทดลองและวิจัย ‘จีโนมิกส์’ ลดลงมาก

ด้วยพัฒนาการของระบบประมวลผล ทำให้การวินิจฉัยและการรักษาโรคตามพันธุกรรมมีราคาลดลงจาก 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2544 เหลือต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน 

เมื่อต้นทุนลดลง ราคาจับต้องได้ ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงนวัตกรรมที่เป็นผลิตผลของจีโนมิกส์ได้ เช่น ชุดตรวจเก็บตัวอย่าง DNA ที่ทำได้เองจากที่บ้าน เทรนด์นี้คาดว่าจะ พัฒนาต่อยอดได้ในยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ได้อีกในอนาคต

  1. เทคโนโลยี Cloud Computing จะช่วยให้การวิเคราะห์ Big Data ทางพันธุกรรมมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

รู้หรือไม่ว่า รหัสทางพันธุกรรมมนุษย์เพียงตัวเดียวต้องการพื้นที่จัดเก็บถึง 100 กิกะไบต์ 

เมื่อจีโนมิกส์กำลังมีบทบาทสำคัญต่ออุตสาหกรรมการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ที่ต้องประมวลชุดข้อมูลทางพันธุกรรมมหาศาลเหล่านี้คาดว่า อาจจะต้องการพื้นที่ความจุสูงสุด 40 เอ็กซาไบต์ต่อปีในปี 2568 (หรือประมาณ 42,950 ล้านกิกะไบต์) มากกว่าแพลตฟอร์ม Twitter (0.001-0.017 เอ็กซาไบต์) หรือ YouTube (1-2 เอ็กซาไบต์)

ดังนั้นบทบาทของ Cloud Computing จะส่งเสริมให้การวิเคราะห์และประมวลผล ​Big Data ทางพันธุกรรมมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสร้างพื้นที่จัดเก็บข้อมูลได้มหาศาล

ศาสตร์เบื้องหลัง ‘จีโนมิกส์’ มูลค่ามหาศาล

อ่านมาถึงตรงนี้ คุณคงเห็นภาพชัดขึ้นแล้วว่า ‘จีโนมิกส์’ กำลังเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมการแพทย์อาจจะพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ในอนาคต

แน่นอนว่า มีวิทยาศาสตร์หลายแขนงที่เป็นพื้นฐานและต่อยอดมาจากการศึกษาระบบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต เราได้รวบรวมมา 5 ศาสตร์ ที่คาดว่า จะสร้างมูลค่ามหาศาลได้ในอนาคต [5] 

  1. การลำดับจีโนม (Genome Sequencing) 

มูลค่าตลาดทั่วโลกในปี 2560 อยู่ที่ 6,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 19% มาอยู่ที่ 25,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2568 การลำดับจีโนมมี 3 ประเภท ได้แก่ 

​➡​ SNP (Single Nucleotide Polymorphism) Genotyping เป็นการหาความแตกต่างหรือความหลากหลายจากพันธุกรรมในแต่ละคน เพื่อให้เข้าใจหน้าที่ของยีนได้ดียิ่งขึ้น [6] 

SNP Genotyping มีราคาไม่แพง 99 ดอลลาร์สหรัฐ ใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมน้อยมากเพียง 0.1% คนทั่วไปสามารถเก็บตัวอย่างเองได้

​➡​ Whole Exome Sequencing (WES) เป็นการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมที่สำคัญทั้งหมดในร่างกายกว่า 20,000 ยีน ที่ส่งผลต่อสุขภาพและการเกิดโรคต่างๆ [7]

WES จะใช้ข้อมูลระบบพันธุกรรมเพียง 1% ราคาเฉลี่ย 550 ดอลลาร์สหรัฐ

​➡​ Whole Genome Sequencing (WGS) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ที่สมบูรณ์ในสิ่งมีชีวิต โดยใช้ข้อมูลที่อ่านได้มาวิเคราะห์หาความสมบูรณ์ของยีนและนำไปวิเคราะห์หาสายพันธุ์ต่อไป [8]

WGS จะใช้ข้อมูลระบบพันธุกรรม 100% ราคาเฉลี่ย 999 ดอลลาร์สหรัฐ

  1. การวิเคราะห์และวินิจฉัยทางพันธุกรรม

เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลระบบพันธุกรรมจากการลำดับจีโนม ทั้งในเชิงสถิติและชีววิทยา มูลค่าตลาดทั่วโลกอยู่ที่ 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2562 และคาดว่า จะเติบโตเฉลี่ย 19.5% ต่อปีไปอยู่ที่ 6,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

ศาสตร์นี้จะช่วยให้เราทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงออกของยีน (Gene Expression) ได้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงเส้นทางการส่งสัญญาณโปรตีนในยีน เพื่อวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อน เช่น เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด อัลไซเมอร์ และมะเร็ง

  1. พัฒนายา วัคซีน และการบำบัดด้วยยีน

เมื่อสามารถวินิจฉัยโรคจากการแสดงออกของยีน ก็เข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบแนวทางการรักษาหรือให้ยาตามความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน รวมไปถึงบำบัดด้วยยีน 

มูลค่าตลาดการบำบัดโรคด้วยยีนทั่วโลกอยู่ที่ 584 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559 และจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 33.3% มาอยู่ที่ 4,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566

  1. การแก้ไขยีน (Gene Editing)

เป็นศาสตร์ด้านการแทรก ลบ หรือทดแทน DNA ในตำแหน่งที่ต้องการ เหมือนเป็นการเปลี่ยน DNA เพื่อรักษาโรค ต่อยอดมาจากศาสตร์การบำบัดด้วยยีน ปัจจุบันมีการศึกษาและทดลองในหลายบริษัททั่วโลก

มูลค่าตลาดการแก้ไขยีนทั่วโลกอยู่ที่  3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 คาดว่าจะโตเฉลี่ยปีละ 14.5% มาอยู่ที่ 7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567

  1. เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)

ศาสตร์พื้นฐานของจีโนมิกส์ที่ลงลึกในระบบชีววิทยาและภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ซึ่งจะมาสามารถพัฒนาร่วมกับการวิจัยสเต็มเซลล์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู รวมไปถึงการใช้จีโนมิกส์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อและอวัยวะ

ว่ากันว่า บริษัทที่โฟกัสด้านจีโนมิกส์จะพัฒนา Biotechnology Ecosystem ในวงกว้าง เพื่อร่วมมือกับพันธมิตรอื่นๆ ในการทำวิจัยและหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุด เพื่อเข้าสู่ยุคการแพทย์เฉพาะบุคคลในอนาคต

Jitta Wealth

โอกาสลงทุนในนวัตกรรม ‘จีโนมิกส์’

หากคุณเห็นโอกาสของ ‘จีโนมิกส์’ ในการพลิกโฉมอุตสาหกรรมการแพทย์ ก่อให้เกิดยาและวัคซีนใหม่ๆ ที่ดีกว่าแบบเดิมๆ หรือปฏิวัติแนวทางการรักษาโรคและการบำบัดโรคด้วยยีน รวมไปถึงการแก้ไขยีน ให้ผู้ป่วยสามารถหายขาดจากโรคทางพันธุกรรมได้

ขึ้นชื่อว่าอยู่ในธุรกิจการแพทย์  (Healthcare) มันคือสิ่งจำเป็นของมนุษย์ แยกขาดจากกันไม่ได้ และจีโนมิกส์จะทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาวขึ้น การลงทุนใน ETF (Exchange Traded Fund) ด้านจีโนมิกส์คือโอกาสครั้งสำคัญ

กองทุนส่วนบุคคล Thematic ของ Jitta Wealth มีธีมการลงทุน ‘จีโนมิกส์’ (Genomics) ลงทุนใน iShares Genomics Immunology and Healthcare ETF (IDNA) เป็น Passive Fund อิงผลตอบแทนตามดัชนี คือ NYSE FactSet Global Genomics Immuno Biopharma Index

IDNA จะลงทุนใน 50 บริษัทชั้นนำทั่วโลกที่ต่อยอดด้านจีโนมิกส์และภูมิคุ้มกันวิทยา มาพัฒนายา วัคซีน เครื่องมือทางการแพทย์ หรือนวัตกรรมการรักษาโรคทางพันธุกรรมต่างๆ

แน่นอนว่า IDNA ลงทุนใน BioNTech Moderna และ Sanofi ที่กระตือรือร้นในการพัฒนาวัคซีน mRNA รวมไปถึงบริษัทในแวดวงการแพทย์อื่นๆ อย่าง Invitae (การลำดับยีน) Merck (ผลิตยาและวัคซีน) หรือ Crispr Therapeutics (การแก้ไขยีน)

น้ำหนักการลงทุนของ IDNA อยู่ในสหรัฐฯ 70% ที่เหลือจะลงทุนในเยอรมนี ฝรั่งเศส จีน เดนมาร์ค และญี่ปุ่น

ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีของ IDNA อยู่ที่ 39.46% (ข้อมูล ณ 1 กรกฎาคม)

อยากรู้ว่า หุ้นในธีมจีโนมิกส์มีศักยภาพเติบโตอย่างไร ลองอ่านบทความ รู้จัก ‘ETF จีโนมิกส์’ ผู้ปฏิวัติวงการสาธารณสุขทั่วโลก หรือเข้าไปดูวิธีการลงทุน Thematic ได้ที่ https://bit.ly/3dC0Uzo   


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ซึ่งเป็น WealthTech แห่งแรกของไทยที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


อ้างอิง

  1. Sanofi Is Injecting Almost Half A Billion Dollars Each Year Into mRNA Tech Driving Pfizer, Moderna Covid Shots https://www.forbes.com/sites/roberthart/2021/06/29/sanofi-is-injecting-almost-half-a-billion-dollars-each-year-into-mrna-tech-driving-pfizer-moderna-covid-shots/?sh=11ce314546f3 
  2. Moderna shares rise after it says Covid vaccine shows promise in a lab setting against variants, including delta https://www.cnbc.com/2021/06/29/moderna-says-covid-vaccine-shows-promise-in-a-lab-setting-against-variants-including-delta.html 
  3. A Brief Guide to Genomics https://www.genome.gov/about-genomics/fact-sheets/A-Brief-Guide-to-Genomics 
  4. Genomics: The Next Great Leap in Health Care https://www.globalxetfs.com/genomics-next-great-leap-health-care/ 
  5. What’s the Science Behind Genomics? https://www.globalxetfs.com/science-behind-genomics/ 
  6. สนิปส์ https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=440 
  7. Whole Exome Sequencing (WES) https://panacura.tech/services-products/whole-exome-sequencing-wes/ 
  8. วิเคราะห์ลำดับเบส NGS (Next-Generation Sequencing: NGS Service) https://www.gibthai.com/product/customservice_detail/8 
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด