ส่อง ‘ค่าเงินบาท’ แข็งหรืออ่อน กับแนวโน้มลดวงเงิน QE

21 กันยายน 2564Global ETFJitta RankingJitta WealthThematic

กระแส QE Tapering หรือลดวงเงินอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบจากธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้ว มีให้เราได้อัปเดตข่าวสารกันอย่างต่อเนื่อง จากทั้งฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป

แต่ความสนใจมุ่งไปที่ความเคลื่อนไหวจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มากกว่า ล่าสุดเริ่มส่งสัญญาณมาแล้วว่า กำลังพิจารณาลดวงเงินมาตรการ QE ภายในปีนี้

ปัจจุบัน Fed อัดฉีดสภาพคล่องเดือนละ 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประกอบด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาล 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สิ่งที่นักลงทุนติดตามคือ การประชุมนโยบายการเงิน (FOMC) ของ Fed วันที่ 21-22 กันยายนนี้ จะส่งสัญญาณไทม์ไลน์ชัดเจนในการลดวงเงิน QE หรือไม่ ความเห็นจากนักวิเคราะห์ก็มี 2 ด้าน คือ จะลดวงเงิน QE เร็วกว่าเดิม หรือ ลดวงเงิน QE ตามกำหนดการเดิม

ไม่ว่าจะออกหัวหรือก้อย…ล้วนมีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนทั้งสิ้น

‘ค่าเงินบาท’ รอก่อน หรือลงทุนเลยดีกว่า?

สำหรับนักลงทุนไทยที่อยากลงทุนต่างประเทศ… คงจะเฝ้ารอให้ค่าเงินบาทแข็งมากกว่า เพื่อที่จะได้ต้นทุนที่ถูกลง

แต่ปลายทางของ QE Tapering คือ ค่าเงินบาทไทยจะอ่อน และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้น อยู่ที่ว่า ไทม์ไลน์จะลดวงเงินจะเริ่มเมื่อไร…ช้าหรือเร็ว

แม้ว่าตลาดการเงินการลงทุนจะรับรู้สัญญาณลดวงเงิน QE ของ Fed ไปแล้ว รวมไปถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิม 0-0.25% ไปอยู่ในช่วงปลายปี 2565 หรือต้นปี 2566 แต่ค่าเงินบาทไทยช่วงนี้…คงเป็นความเคลื่อนไหวแข็งค่าบ้าง อ่อนค่าบ้าง

อย่าลืมว่า เหตุผลของการลดวงเงิน QE คือ เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวได้ดีหลังจากเผชิญวิกฤต Covid-19 มานานเกือบปี อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากการที่คนออกมาจับจ่าย และอัตราการว่างงานอยู่ในช่วงขาลง 

เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตได้ดี ส่วนของตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะมีทิศทางดีขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ ทำให้งบการเงินปี 2564 และปีต่อๆ ไปมีทิศทางสดใสตามตัวเลข GDP

เช่นเดียวกับ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะลดวงเงินการซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) จากเดิมที่ 80,000 ล้านยูโรในอีก 3 เดือนข้างหน้า และยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0% ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ…เศรษฐกิจฟื้นตัว

รู้อย่างนี้แล้ว คุณควรจะรอให้ธนาคารกลางทั้ง 2 แห่งเริ่ม QE Tapering ก่อน แล้วค่อยลงทุนต่างประเทศ หรือคุณควรจะลงทุนตอนนี้เลย?

หากรอแล้วทุกอย่างเป็นไปตามคาดการณ์ นั่นคือ ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Market) อย่างไทย มีแนวโน้มย่อตัวลง เนื่องจากเม็ดเงินลงทุนไหลกลับเข้าตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (Developed Market) อย่างสหรัฐฯ และยุโรป 

ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ รวมทั้งค่าเงินบาทไทย มีแนวโน้มอ่อนลง เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ Fed ทำ QE Tapering เมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 จนตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงระยะสั้น ที่เรียกว่า Taper Tantrum 

หมายความว่า ค่าเงินบาทไทย มีโอกาสอ่อนลงได้อีกหากเกิด QE Tapering ขึ้น

ถึงเวลานั้น คุณจะรู้สึกเสียดายโอกาสที่ไม่ได้ลงทุนในวันนี้หรือไม่?

แน่นอนว่า หากคุณค่อนข้างมั่นใจว่า ในอนาคตเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น รอไปลงทุนวันนั้นก็อาจจะช่วยให้ผลตอบแทนคุณเพิ่มขึ้นมาได้ (ซึ่งเราจะพูดถึงต่อไป)

แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น และไม่อยากรับความเสี่ยงที่เงินบาทมีโอกาสอ่อนตัวลงมากกว่าเดิม การลงทุนวันนี้โดยไม่ต้องรอจังหวะ แบ่งเงินเป็นหลายๆ ก้อน แล้วค่อยๆ เพิ่มทุนเข้ามาเรื่อยๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงด้านเวลา อาจจะเป็นแนวทางที่ดีกว่าก็เป็นได้

‘ค่าเงินบาท’ ช่วยให้ผลตอบแทนดีหรือแย่ลงแค่ไหน?

Jitta Wealth รวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาดหุ้นพัฒนาแล้วอย่าง S&P500 (สหรัฐฯ) และ STOXX (ยุโรป) มาเปรียบเทียบกับค่าเงินบาทไทยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (21 กันยายน 2563 – 20 กันยายน 2564)

  • S&P500 +31.28%
  • STOXX +23.14%
  • ค่าเงินบาทไทย +7.45%

จริงๆ แล้วทิศทางราคาหุ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้มีปัจจัยบวกและลบเหมือนกันทั้งหมด มีความสัมพันธ์กันบางส่วนเท่านั้น จากตัวเลขจะเห็นได้ว่า ต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยนอาจจะไม่มีผลมากนักต่อผลตอบแทนในพอร์ตลงทุนที่คุณจะได้รับในรอบ 1 ปี ดังนั้นการรีรออาจจะทำให้คุณเสียโอกาสได้

ยิ่งลงทุนระยะยาว 5-10 ปี ผลตอบแทนสะสมที่เกิดขึ้นในพอร์ตลงทุน ประกอบกับการ DCA (Dollar Cost Averaging) อย่างสม่ำเสมอ ย่อมทำให้ต้นทุนเฉลี่ยมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ช่วงติดลบ…ก็ไม่ลบหนักๆ ช่วงพลิกกลับมามีกำไร…ก็เป็นบวกได้เร็ว

หากคุณมองเห็นโอกาสลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯ กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวหลัง Covid-19 และคาดว่า จะเติบโตได้อีกหลังมี QE Tapering จริงๆ Jitta Wealth มี 4 กองทุนส่วนบุคคลให้คุณเลือกลงทุนตามความเสี่ยงที่คุณรับได้

  • Global ETF สูตรสำเร็จพอร์ตลงทุน ทั้งหุ้นและตราสารหนี้ทั่วโลก ผลตอบแทนคาดหวัง 4-8% ต่อปี https://jittawealth.com/global-etf 
  • Thematic DIY จัดพอร์ตลงทุนเอง จากธีมที่น่าสนใจจากทุกมุมโลก ผลตอบแทน 12-18%* ต่อปี https://jittawealth.com/thematic/diy 
  • Thematic Optimize เลือกธีมไม่ถูก AI เลือกให้ จัดพอร์ต 4 ธีมที่เติบโต ผลตอบแทน 20%* ต่อปี https://jittawealth.com/thematic/optimize 
  • Jitta Ranking สหรัฐฯ ลงทุน ‘หุ้นดีราคาถูก’ ในตลาดหุ้น NYSE และ Nasdaq ผลตอบแทน 9.24%* ต่อปี https://jittawealth.com/jitta-ranking 
  • Jitta Ranking หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ลงทุนในบริษัทเทคชั้นนำในตลาดหุ้น NYSE และ Nasdaq ที่เป็นหุ้นคุณค่ามีโอกาสเติบโต ผลตอบแทน 24.33%* ต่อปี https://jittawealth.com/jitta-ranking/ustech  

*จากการทดสอบผลตอบแทนย้อนหลัง (Back Test) ของแต่ละนโยบายลงทุน


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้บุกเบิกสตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยรายแรก ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


อ้างอิง


อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ส่อง 8 หุ้นที่ดัน ผลตอบแทน Jitta Ranking – U.S. Tech โตกว่า 54%

4 ทางเลือกจัดพอร์ตในตลาดหุ้นสหรัฐฯ กับ Jitta Wealth

วิธีรับมือ ‘บาทอ่อน’ เมื่อลงทุนต่างประเทศ


บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด