สรุป Live: เปิดตัว Thematic Optimize ลงทุนธีมเมกะเทรนด์ทั่วโลกด้วย AI ที่แรกในไทย

30 กันยายน 2564DIYOptimizeThematic

หลังจากที่ Jitta Wealth ได้ Soft Launch แผนการลงทุนใหม่ Thematic Optimize เราได้รับคำถามมากมาย จึงเป็นที่มาของ Live เปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา 

โดยมีคุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO แห่ง Jitta Wealth มาไขทุกข้อสงสัยเรื่อง Thematic Optimize มิติใหม่แห่งการลงทุนธีมเมกะเทรนด์ทั่วโลกด้วย AI กองทุนแรก กองเดียวในไทย

ขอบคุณผู้ชมมากกว่า 600 คนที่ร่วมชม Live สดไปกับ Jitta Wealth

ดู Live ย้อนหลัง

สรุปเนื้อหา Live

Q: ทำไมการลงทุนแบบ Thematic จึงเป็นกระแสการลงทุนของโลก 

การลงทุนแบบ Thematic เป็นกระแสมาสักระยะหนึ่งแล้ว จะเป็นธีมในภาพใหญ่ เป็นธีมรายประเทศ ถ้าเราจะลงทุนในหุ้นดีๆ การเลือกอุตสาหกรรมที่ถูกต้องก็สำคัญ ช่วยให้ผลตอบแทนเราดีขึ้นได้ เช่น ในสถานการณ์ Covid-19 บางกลุ่มอุตสาหกรรมก็ไปได้ดี ถึงตลาดหุ้นโดยรวมไม่ดี เป็นต้น  เทรนด์ปัจจุบันพบว่า 80% ของนักลงทุนวางแผนจัดสรรเงินลงทุน ไปยังกองทุน ETF แบบ Thematic มากขึ้น 

ปัจจุบันนี้มีธีมการลงทุนมากมายให้กับนักลงทุนได้เลือก มูลค่า AUM (Assets Under Management) ในรูปแบบกองทุน Thematic เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว รวมกว่า 590,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กว่า 51% ของกองทุนเหล่านี้อยู่ในยุโรป รองลงมาคือสหรัฐฯ 

ธีมที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ ธีมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ที่เป็นแก่นกลางของหลายธุรกิจ หรือเรียกว่า Technological Breakthrough คือ เทคโนโลยีได้เข้าไปแทรกซึมอยู่ในหลายกลุ่มธุรกิจ มีต้นทุนต่ำ แต่มีการเติบโตสูง เทคโนโลยีเป็นตัวทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมทั้งหมดเปลี่ยนไป ธุรกิจอื่นๆ ร่วมถึงคน ก็ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมยังเติบโตได้ในระยะยาว 

Q: เมกะเทรนด์ดูได้อย่างไรบ้าง 

เทรนด์มีด้วยกัน 2 แบบคือ Cyclical Trends และ Structural Trends 

Cyclical Trends คือ เทรนด์ที่มีความแกว่งขึ้นลง และกลับมาอยู่ที่เดิม วนเป็นวัฏจักรตามการขึ้นลงของเศรษฐกิจ ซึ่งคนที่เล่นเทรนด์นี้มักเป็นการเก็งกำไรระยะสั้นๆ ช่วง 6 เดือนถึง 1 ปี 

Structural Trends คือเทรนด์ที่เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว เป็นเมกะเทรนด์ จะเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ มี 3 ระยะคือ ระยะเริ่มต้น ระยะเติบโต และระยะอิ่มตัว ซึ่งบางเมกะเทรนด์จะกินเวลายาวนานมากๆ อาจจะถึง 20 ปีเลย  หากลงทุนในเมกะเทรนด์สามารถให้ผลตอบแทนหลายเท่าตัวได้ 

Q: มองอย่างไรว่า ‘เมกะเทรนด์อะไรที่น่าสนใจ’ 

ให้หันไปมองธุรกิจเก่าๆ แล้วตอนนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เช่น ร้านขายของ ร้านที่มีหน้าร้าน แต่ปัจจุบันเราซื้อของผ่านอีคอมเมิร์ซ กิจกรรมค้าขายยังเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนแปลงวิธีการ เป็นการสั่งซื้อจากอินเทอร์เน็ต เม็ดเงินของธุรกิจแบบเก่าก็กำลังวิ่งเข้าสู่ธุรกิจแบบใหม่ และเราต้องมองลึกลงไปอีกว่า ธุรกิจใหม่นี้เติบโตไปอีกได้หรือไม่  

ตัวอย่างอื่นๆ อีกเช่น พลังงานน้ำมันและถ่านหิน เปลี่ยนมาเป็นพลังงานสะอาด  หรือธนาคารเปลี่ยนมาเป็นฟินเทค และหลายเมกะเทรนด์ในตอนนี้ ยังจัดอยู่เพียงช่วงเริ่มต้นของเทรนด์ ซึ่งทำให้มีศักยภาพในการเติบโตขึ้นไปได้อีกในอนาคต

เรายังสามารถดูได้จาก Adoption Curve โดย Global X ETF ที่จะบอกให้เราทราบว่า ตอนนี้มีเมกะเทรนด์ใดบ้างที่น่าสนใจ กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านั้น เติบโตไปแค่ไหนแล้ว ยังสามารถเติบโตไปได้อีกหรือไม่ 

Jitta Wealth

Q: ถ้าอยากจะลงทุนในเมกะเทรนด์ต้องทำอย่างไร 

ช่องทางการลงทุนที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน คือ การลงทุนใน ETF (Exchange Traded Fund) หากเราซื้อ ETF เพียง 1 หน่วย ก็เหมือนกับว่าเราได้ลงทุนทุกบริษัทชั้นนำของอุตสาหกรรมนั้นๆ ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการกระจายความเสี่ยง โดย ETF มีการลงทุนในหลายธีมอุตสาหกรรม ซึ่งก็คือ Thematic ETF 

Jitta Weath ได้คัดสรรเมกะเทรนด์ของโลก ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในหลายธีมได้พร้อมกัน ผ่านกองทุนส่วนบุคคล Thematic ทำให้คุณสามารถเติบโตไปได้ตามเทรนด์การลงทุนที่คุณเชื่อมั่น 

Q: Thematic ของ Jitta Wealth มีการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมใดบ้าง 

ทีมงาน Jitta Wealth มองว่า การลงทุนไม่จำเป็นต้องลงทุนเพียงหุ้นรายตัว หรือแค่ภายในประเทศแล้ว เราควรจะสามารถลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ในต่างประเทศได้ เลยเป็นที่มาของ กองทุนส่วนบุคคล Thematic ในปัจจุบันมีทั้งหมด 16 ธีม ซึ่งผลตอบแทนรายปีก็ออกมาเป็นที่น่าพอใจ อาจจะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรมที่ยังติดลบอยู่บ้าง 

อย่างไรก็ตามธีมที่ Jitta Wealth คัดสรรมาเป็นเมกะเทรนด์ โดยภาพรวมมองว่า ธีมการลงทุนทั้งหมดนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต และจะสรรหาธีมการลงทุนใหม่ๆ มาเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนอีกด้วย

ก่อนหน้านี้ Thematic เปิดให้นักลงทุนสามารถจัดพอร์ตการลงทุนได้ด้วยตัวเองถึง 5 ธีมในพอร์ตเดียว แล้วทาง Jitta Wealth จะช่วยปรับพอร์ตอัตโนมัติให้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ทำให้พอร์ตมีการบริหารจัดการที่ดี 

แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นอีกอย่าง คือนักลงทุนลังเล ไม่สามารถเลือกธีมการลงทุนเองได้ ทำให้ Jitta Wealth เปิดตัว Thematic Optimize ขึ้นมา ซึ่งจะใช้ระบบ AI เลือกธีมที่น่าลงทุนที่สุดในกับคุณ 

ส่วน Thematic เดิมจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Thematic DIY ที่เป็นอีกทางเลือก หากคุณยังต้องการเลือกธีมการลงทุนเอง ยังสามารถจัดพอร์ตได้สูงสุด 5 ธีมเหมือนเดิม

Jitta Wealth

Q: Back Test ของ Thematic Optimize เป็นอย่างไร   

ผลตอบแทนย้อนหลังจากการทำ Back Test ของ Thematic Optimize อยู่ที่ 25% ต่อปี โดยหลักการวิเคราะห์คัดเลือกธีมที่น่าลงทุนจาก การเติบโตของแต่ละบริษัท ผลตอบแทน และความผันผวน 

เราควรจะลงทุนในบริษัทที่กำลังเติบโต อัลกอริทึมของ Jitta Wealth ก็จะเข้าไปดูในแต่ละบริษัท ที่อยู่ในธีมอุตสาหกรรมแต่ละธีมนั้นๆ การเติบโตของบริษัทนั้นๆ ดูการเติบโตของรายได้ ยังอยู่สามารถเติบโตได้อีกหรือไม่ หลังจากนั้นจึงมาพิจารณาถึง ผลตอบแทนและความผันผวน ซึ่งสามารถบอกได้ถึงความน่าเชื่อถือในธุรกิจนั้นๆ 

ผลสุดท้ายคือ เราจะเลือกธีมที่มีการเติบโตมากที่สุดและมีความผันผวนน้อยที่สุด คัดเลือก 4 ธีมที่น่าลงทุนที่สุดมา กระจายน้ำหนักให้เท่าๆ กัน และปรับพอร์ตในอัตโนมัติทุก 3 เดือน ซึ่งการปรับพอร์ตทุก 3 เดือนจะทำให้นักลงทุนได้ลงทุนในธีมที่ดีที่สุดตลอดเวลา 

Q: ทำไมถึงต้องเป็น 4 ธีม และทำไมถึงเอามาเทียบกับ MSCI World Index 

เวลาที่เราจะจัดสรรการลงทุน การพยายามทำให้ลงเลขคู่มันมักจะดีกว่า เช่น ลอง 2 ธีม ธีมละ 50%ก็ได้ เป็นการบาลานซ์พอร์ตที่ดีได้ แต่ 4 ธีม คือ กระจายความเสี่ยงที่ดี หากในช่วง 3 เดือนก่อนปรับพอร์ต ธีมใดธีมใดหนึ่งมีราคาลง 30% โอกาสขาดทุนในพอร์ตจริงๆ จะเหลือ 1 ใน 4 หรือ 7.5% เพราะมีการลงทุนในอีก 3 ธีมที่เหลือ ที่อาจจะไม่ลดลงมาก หรือยังมีราคาและผลตอบแทนที่ดีอยู่

เพราะในแต่ละ ธีมมีการลงทุนในหลายประเทศ หรือเราก็มีการลงทุนในแต่ละประเทศนั้นๆ ทั่วโลกด้วย ไม่ได้อยู่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ดังนั้น MSCI World Index จึงเป็นตัวเปรียบเทียบที่ดี 

Q: การปรับพอร์ตอัตโนมัติต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มหรือไม่ 

ไม่เสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม มีแค่ค่าซื้อขายสินทรัพย์ (Trading Commission) 0.20% กรณีที่ปรับพอร์ตแล้วขายธีม เพื่อมาซื้อธีมใหม่ แต่เป็นสัดส่วนไม่สูง จนกัดกินผลตอบแทน เราอยากให้ทุกคนได้รับผลตอบแทนที่จับต้องได้ 

Q: ถ้าจะ DCA ใน Thematic Optimize ทุก 3 เดือนควรลงทุนวันที่เท่าไร เพื่อไม่ให้ตรงกับรอบปรับพอร์ต

Thematic Optimize จะปรับพอร์ตทุก 90 วัน หรือรายไตรมาส ซึ่งช่วงเวลาอาจจะไม่ใช่ 90 วัน หรือวันสิ้นไตรมาส หากนับรวมวันหยุดต่างๆ เข้าไปด้วย สามารถบวกลบไป 7 วัน 

แต่ถ้าให้แนะนำจริงๆ ไม่อยากให้เอามาเป็นประเด็น การ DCA ที่ดีที่สุดคือ ลงทุนวันไหนก็ได้ วันเดียวกันทุกเดือน สะสมไปเรื่อยๆ และคาดหวังการเติบโตระยะยาว 

Q: มีการปรับพอร์ตทุก 3 เดือน เมกะเทรนด์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเลยใช่หรือไม่ 

เมกะเทรนด์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเร็วขนาดนั้น เราแค่ต้องการปรับพอร์ตให้นักลงทุนได้ลงทุนในธีมที่น่าลงทุนที่สุดตลอดเวลา

ภาพโดยรวมของทุกธีมไม่ได้เปลี่ยน แต่อาจจะมีความผันผวนเกิดขึ้น ในบางช่วงเวลาธีมบางธีมอาจจะได้ประโยชน์บางอย่าง มูลค่าของธีมนั้นมีโอกาสเติบโตได้มากกว่าธีมอื่นๆ หรือหากธีมนั้นมีความนิยมที่ลดลง เราจึงพยายามเลือกธีมที่น่าลงทุนที่สุดให้ในทุกช่วงเวลา และปรับพอร์ตให้ทุก 3 เดือน 

Q: ทำไมถึงเลือกทำ Backtest ย้อนหลังแค่ 3 ปี 

เนื่องจากมีหลาย Thematic ETF เพิ่งเปิดให้ลงทุนในช่วง 2-3 ปี มานี้ ซึ่งในอนาคต เราจะมีข้อมูลย้อนหลังให้วิเคราะห์มากขึ้นเรื่อยๆ 

Q: ถ้าหากเกิดเหตุการณ์วิกฤตขึ้นมากับบริษัทที่อยู่ในธีมที่เราลงทุน การปรับพอร์ตทุก 3 เดือนจะเป็นผลเสียหรือไม่ หรือถ้าเราลงทุนผิดช่วงเวลา จะมีผลอะไรบ้าง 

การลงทุนเป็นธีม ไม่ใช่การลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง มีการกระจายความเสี่ยงไปเรียบร้อยแล้ว เช่น หาก 1 บริษัทในธีมเกิดวิกฤต ยังมีบริษัทอื่นๆ ในธีมยังคงดำเนินธุรกิจต่อไป เม็ดเงินลงทุนก็ยังคงไหลเข้าธีมนั้นๆ อยู่ สุดท้ายก็จะมีบริษัทอื่นในธีมที่ดีกว่า ได้สัดส่วนการลงทุนตรงนั้นไป

เรามองเป็นภาพใหญ่ว่า เม็ดเงินลงทุนในธีมธุรกิจนั้น มันจะโตขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายไม่ว่าจะเป็นบริษัทอะไร ถ้าภาพรวมของธีมธุรกิจดี ก็ไม่น่ากังวล 

สิ่งที่จะมีผลก็คือ ถ้าธีมธุรกิจนั้นๆ มีปัญหาทั้งหมด เม็ดเงินลงทุนลดลงทั้งธีม เช่น สถานการณ์ Covid-19 บางอุตสาหกรรมได้ประโยชน์ บางอุตสาหกรรมขาดทุน แต่ถ้าเรามองว่า ในภาพใหญ่ รายได้ยังเติบโตได้อยู่ ยังเป็นเมกะเทรนด์อยู่ เรายังเชื่อในเมกะเทรนนั้นๆ เหตุการณ์บางอย่างก็จะกระทบเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น 

ธีมที่ดี เมื่อเหตุการณ์ต่างๆ ดีขึ้น สุดท้ายก็จะวิ่งกลับขึ้นมาที่พื้นฐานเดิม ซึ่งการปรับพอร์ตทุก 3 เดือนก็ยิ่งเป็นการปรับให้เงินไปอยู่ในธีมที่น่าลงทุนอยู่เสมอ ถ้าเราอาจจะมองเป็นโอกาส เพิ่มทุนเข้าไปอีกก็ได้ 

Q: ทิศทางเงินเฟ้อกำลังจะเกิดขึ้น มีผลกระทบต่อตลาดหุ้น เราควรรอไปก่อนหรือไม่ 

ไม่มีใครคาดการณ์ได้ถูกต้อง โอกาสเป็น 50-50 เสมอ สำหรับคนที่เก็งกำไรระยะสั้น สถานการณ์ต่างๆ มีผล แต่ถ้าลงทุนในระยะยาวในหุ้นคุณค่า หรือ DCA อยู่แล้ว จะมีผลน้อยมาก ไม่จำเป็นต้องรอ เพราะสุดท้ายแล้ว การรอมีต้นทุนของมันอยู่ ยิ่งรอนาน อาจจะพลาดโอกาสได้ การเพิ่มทุนแบบ DCA ไปเรื่อยๆ ดีกว่า 

การลงทุนที่ดีคือ การวางแผน มองหาเหตุ มากกว่าผลลัพธ์ ไม่ใช่เรื่องของโชค ซึ่งการลงทุนในเมกะเทรนด์ เราไม่ต้องพึ่งโชค หรือรอจนเสียโอกาส 

Q: ทาง Jitta จะมั่นใจได้อย่างไร ว่า AI ที่พัฒนาขึ้นจะไม่ Overfitting (ล้มเหลวจากการทำนายข้อมูลได้ถูกต้อง มีค่าความแปรปรวนสูง) กับชุดข้อมูลในอดีต 

สิ่งที่ Jitta Wealth พยายามทำคือ พยายามไม่หลอกตัวเอง ส่วนมากเวลาที่คนรู้สึก Overfitting มักจะเริ่มขึ้นด้วยคำถามที่ผิด ว่า เราจะทำผลตอบแทนสูงสุดได้อย่างไร แต่เมื่อไรที่คุณคิดว่าจะทำผลตอบแทนให้สูงสุด แสดงว่า Mindset ของคุณได้ Overfitting ไปเรียบร้อยแล้ว 

แต่ในความคิดของ Jitta Wealth ในทุกแผนการลงทุนเริ่มด้วยคำถามแรกที่ว่า เราจะลงทุนอย่างไรให้ได้ดีที่สุด ซึ่งดีที่สุดไม่ใช่การได้ผลตอบแทนที่เยอะที่สุด แต่คือการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งคือ การลงทุนที่ถูกต้องก่อน ผลตอบแทนมองเป็นเรื่องรอง 

หลักการในการลงทุนต้องเป็น ‘เหตุมาหาผลลัพธ์’ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Jitta Wealth คิดว่า ทำอย่างไรที่จะหาสินทรัพย์ที่ดีที่สุดในการลงทุนได้ก่อน สำหรับ Thematic Optimize คือ ทำอย่างไรให้เลือกเมกะเทรนด์ที่น่าลงทุนที่สุดได้ก่อน ธีมธุรกิจไหนได้ประโยชน์ ทำอย่างไรให้ลงทุนในเมกะเทรนด์ที่ถูกต้องและคำนวนการเติบโตของรายได้แต่ละเมกะเทรนด์เทียบกัน จนเลือกออกมาเป็นธีมที่มีการเติบโตสูงที่สุด 

ข้อมูลของเราไม่ได้พยายามที่จะ Overfitting เราเอาธีมที่มีทั้งหมดมากองไว้ จับมา 4 ธีม แล้วมีการปรับพอร์ตไปเรื่อยๆ และเอามาเทียบกับแบบ Thematic DIY และดูผลลัพธ์ว่า มันจะเป็นอย่างไร นี่คือข้อมูล 1 ชุด และทำแบบนี้ซ้ำๆ ซึ่งมีการทดสอบเป็นพันๆ ครั้ง Jitta Wealth ใช้เทคโนโลยีทั้งหมดในการคิด ไม่มีอคติใดๆ 

เราเอาเหตุให้ถูกก่อน สุดท้ายผลลัพธ์เป็นเรื่องรอง และสุดท้ายเมื่อเหตุมันถูก ผลลัพธ์มันก็ต้องดีอยู่แล้ว เป้าหมายอาจจะไม่ใช่การได้ผลตอบแทนที่สูง แต่เป้าหมายคือต้องดีกว่าการเลือกเอง ในรูปแบบการทดลองหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเราทดสอบมาว่า ดีกว่าเลือกเองกว่า 90% 

หากคุณอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคล Thematic Optimize สามารถเข้าไปได้ที่ https://jittawealth.com/thematic/optimize หรือสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุนได้ที่ Line ID: @JittaWealth


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ผู้บุกเบิกสตาร์ตอัป WealthTech สัญชาติไทยรายแรก ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ใบอนุญาตเลขที่ ลค-0105-01

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน


บทความที่เกี่ยวข้อง 

Exclusive Q&A with CEO อัปเดตการลงทุน Jitta Wealth เดือนกันยายน

Thematic Optimize พร้อมให้คุณลงทุนแล้ววันนี้

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด