Jitta Wealth Journal - Tech Education ห้ามเข้าตลาดหุ้นจีน

28 กรกฎาคม 2564Jitta WealthJitta Wealth Journal

12 แนวทางแก้วิกฤตจากดร. นิเวศน์

Jitta Wealth Journal ฉบับที่ 35 ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 มีประเด็นที่น่าสนใจจากทุกมุมโลก ดังนี้

  • เมื่อหุ้นติวเตอร์จะเข้าตลาดหุ้นจีน…ไม่ได้
  • วิกฤต Covid-19 ทางออกอยู่ที่ไหน
  • เวียดนามเจรจากับสหรัฐฯ ผลิตวัคซีน mRNA
  • วัคซีน Covid-19 ชนิดพ่นจมูก เตรียมทดลองในมนุษย์
  • ทางการจีนสั่ง Tencent เลิกผูกขาดลิขสิทธิ์เพลง
  • เศรษฐกิจยูโรโซน ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบกว่า 2 ทศวรรษ
  • Hyundai และ Great Wall รุกตลาด EV ในอาเซียน 

ไปติดตามกันได้เลย


Jitta Wealth

มาตามคำเรียกร้อง Jitta Ranking จีน

ว่าที่มหาอำนาจโลกจากฝั่งเอเชีย เตรียมพร้อมผงาดทัดเทียมผู้นำโลกอย่างสหรัฐฯ 

การเติบโตในหลายทศวรรษที่ผ่านมาของจีนได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ดินแดนมังกรแห่งนี้ คือ โอกาสการลงทุนของคุณ…ที่ไม่ควรพลาด

ลงทุน ‘หุ้นดีราคาถูก’ จากตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ (SSE) และเซินเจิ้น (SZSE) คัดสรรจาก AI ของแพลตฟอร์ม Jitta 

ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีเฉลี่ย 13.42% ต่อปี
เริ่มต้นเพียง 1 ล้านบาท


เมื่อหุ้นติวเตอร์จะเข้าตลาดหุ้นจีน…ไม่ได้

รัฐบาลจีนกำลังพิจารณาออกกฎควบคุมธุรกิจติวเตอร์ สถาบันกวดวิชา จะถูกห้าม ไม่ให้ระดมทุนในตลาดหุ้น โดยจะต้องเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร รวมทั้งกฎใหม่นี้จะไม่อนุญาตให้บริษัทจดทะเบียนเข้าซื้อกิจการด้านการศึกษาด้วย

แม้จะเป็นเพียงกระแสข่าวจากแหล่งข่าววงใน ยังไม่ได้รับการยืนยันจากสำนักงาน ก.ล.ต. ของจีน แต่ทำให้ราคาหุ้น Tech Education สัญชาติจีนร่วงระนาวช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

มีทั้งบริษัท Gaotu Techedu บริษัท TAL Education บริษัท Koolearn Technology Holding และบริษัท New Oriental Education & Technology Group

เพราะธุรกิจสถาบันกวดวิชาในจีนที่มีมูลค่าราว 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพมากพอ ดังนั้นกฎเกณฑ์ใหม่ที่กำลังพิจารณาส่งผลกระทบมหาศาล   

ไม่เพียงเท่านั้นเงินทุนจากต่างชาติจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงทุนในภาคการศึกษาของจีนอีกด้วย 

ตามข่าวระบุว่า หน่วยงานกำกับดูแลของจีนจะระงับการออกใบอนุญาตจัดตั้งสถาบันกวดวิชาใหม่ และจะเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบโรงเรียนกวดวิชาในปัจจุบันที่มีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์

ทางการจีนต้องการควบคุมปริมาณสถาบันกวดวิชาไม่ให้มีจำนวนมากเกินไป ด้วยเหตุผลการแข่งขันทางการศึกษา จีนอยากจะช่วยลดความเครียดของเยาวชนที่ต้องใช้เวลากับการเรียนมากเกินไป และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองด้วย

จุดเริ่มต้น คือ Xi Jinping ประกาศนโยบายลดการบ้านหลังเลิกเรียน พร้อมห้ามไม่ให้มีการเรียนการสอนในช่วงสุดสัปดาห์ และห้ามใช้หลักสูตรออนไลน์สำหรับเด็กอายุ 6 ปีหรือต่ำกว่า เพื่อลดความตึงเครียดจากการแข่งขันของเยาวชนจีน 

นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาควบคุมสถาบันการศึกษาเอกชนโดยเฉพาะ จะทำหน้าที่กำกับดูแลค่าเล่าเรียน และจำกัดเวลาที่เด็กสามารถใช้ในโรงเรียนกวดวิชาไม่ให้มากเกินไป

ก่อนหน้านี้ สถาบันกวดวิชา Zuoyebang (ลงทุนโดย Alibaba) และ Yuanfudao (สนับสนุนโดย Tencent) ได้ถูกทางการสั่งปรับจากการโฆษณาหลักสูตรเกินความจริง โดยทั้ง 2 บริษัทยังระงับแผน IPO ออกไปอย่างไม่มีกำหนด

ข้อดีของกฎเกณฑ์ให้สถาบันการศึกษาเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร และระดมทุนในตลาดหุ้นไม่ได้ การแข่งขันทางการศึกษาในสังคมจีนลดลง และสถาบันกวดวิชาจะไม่ได้มุ่งเน้นการขายหลักสูตรราคาสูงๆ อีกต่อไป

แน่นอนว่า ข้อเสียคือ มูลค่าธุรกิจติวเตอร์ รวมไปถึง Tech Education จะหายไปมหาศาล รวมทั้งหมดโอกาสในการระดมทุนเข้าสู่ตลาดหุ้นจีน

เชื่อหรือไม่ว่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับ Tech Education สามารถดึงเม็ดเงินจากนักลงทุนได้มหาศาลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ปี 2563 มีเงินลงทุนในอุตสาหกรรมการศึกษามากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ต้นทุนด้านการศึกษาของเยาวชนจีน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คู่สามีภรรยายุคปัจจุบัน มีลูกน้อยลง หรือตัดสินใจไม่มีทายาท ทางการจีนมองว่า ถ้าลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาและลดการแข่งขันลงได้ อาจจะกระตุ้นให้คู่สามีภรรยาอยากมีลูกเพิ่มขึ้น 

คงต้องติดตามกันต่อไปว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงาน ก.ล.ต. ของจีนจะมีความเคลื่อนไหวอย่างไร แต่เราปฏิเสธผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาไม่ได้ สำหรับ Jitta Wealth มีกระทบส่วนของธีมตลาดหุ้นจีน

เพราะ ETF ต้นทางที่เราเลือกลงทุนคือ iShares MSCI China ETF (MCHI) มีการลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับข่าวนี้ 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท Gaotu Techedu บริษัท TAL Education และบริษัท New Oriental Education & Technology Group

แต่ MCHI เป็น ETF ที่ลงทุนหุ้นจีนกว่า 600 ตัว ดังนั้นสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสถาบันกวดวิชาทั้ง 3 บริษัทน้อยมาก ที่สำคัญ คือ ETF จะปรับพอร์ตลงทุนอยู่ตลอด เมื่อหุ้นไหนมีผลกระทบ ETF สามารถลดสัดส่วนการลงทุนได้เสมอ

ทางการจีนอาจจะเข้ามาตรวจสอบธุรกิจบางอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบกับประชาชน เช่น อสังหาริมทรัพย์ การเงิน เทคโนโลยี มาจนถึงการศึกษา โดยยึดหลักผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ

มันอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจระยะสั้น เมื่อกฎเกณฑ์มีความชัดเจน สถาบันการศึกษาเหล่านั้นก็ต้องปฏิบัติตาม อาจจะส่งผลต่อรายได้ระยะสั้น แต่ในระยะยาว จะเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตประชากรจีน

บางอุตสาหกรรมยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น พลังงานสะอาด บริการสุขภาพ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตประชาชนที่ดีด้วยเช่นกัน


Jitta Wealth

ลงทุน ‘หุ้นจีน’ กองไหนดี?
สรุป-เปรียบเทียบทุกทางเลือก ‘หุ้นจีน’ ของ Jitta Wealth

ทั้ง Jitta Ranking และ Thematic มีการลงทุน ‘หุ้นจีน’ ให้เลือกมากมาย หากคุณยังเลือกไม่ถูก หรืออยากได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ Jitta Wealth สรุป-เปรียบเทียบทุกทางเลือกให้คุณแล้ว

อ่านต่อ


Jitta Wealth

ลงทุนหุ้นจีน กับ 3 ธีม ที่เติบโต

เพจ Stock Vitamins – วิตามินหุ้น ได้คัดเลือกหุ้นจีนจาก Jitta Ranking ที่มีงบการเงินแข็งแกร่ง เป็นตัวแทนจาก 3 อุตสาหกรรมที่เป็นเมกะเทรนด์ และรัฐบาลจีนให้การสนับสนุน ได้แก่ สุขภาพ เทคโนโลยี และพลังงานสะอาด

อ่านต่อ


สรุปแล้ว ‘หุ้นจีน’ ซื้อได้หรือยัง?

วันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา คุณตราวุทธิ์ได้ Live ผ่าน Zoom กับเพจ Club VI เกี่ยวกับ ‘Jitta Ranking จีน’ รวมทั้งมุมมองของ Jitta Wealth ต่อหุ้นอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะได้ประโยชน์กับนโยบาย Dual Circulation ของรัฐบาลจีนด้วย

ดู  Live ย้อนหลัง


เฟ้นหา ‘หุ้นจีน’ ด้วยเทคโนโลยี AI

The Standard Wealth ทำอินโฟกราฟิก เกี่ยวกับ ‘Jitta Ranking จีน’ ได้น่าสนใจ สรุปทุกคอนเซ็ปต์ ‘หุ้นดีราคาถูก’ ด้วยหลักการลงทุนแบบ VI สไตล์ Warren Buffett ผ่านหุ้นจีน A-share จากตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น

อ่านต่อ


Jitta Wealth

Investyle ตอนที่ 2 กับเชียร์ ฑิฆัมพร

Investyle ซีรีส์ Ep. 2 เราพาคุณไปนั่งจับเข่าคุยกับนักแสดง และนักธุรกิจชื่อดัง คุณเชียร์ ฑิฆัมพร ฤทธิ์ธาอภินันท์ มาดูกันว่า อะไรคือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอสนใจเรื่องลงทุน และสินทรัพย์แบบไหนที่เธอเลือกลงทุน

ดูวิดีโอ Investyle ตอนที่ 2


วิกฤต Covid-19 ทางออกอยู่ที่ไหน

ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Upheaval ในที่นี้ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงและกะทันหัน ในทางที่เลวร้ายก่อให้เกิดปัญหา และสร้างความยากลำบาก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน 

สำหรับช่วงเวลานี้ คือ การแพร่ระบาดของ Covid-19 ก็ถือว่าเป็น Upheaval เพราะทั้งโลกกำลังต่อสู้และเอาชนะโรคระบาดเข้าสู่ขวบปีที่ 2 และยังคาดการณ์ไม่ได้ว่า จะสิ้นสุดหรือเอาชนะ Covid-19 ได้หรือไม่

ดร. นิเวศน์ มองว่า ไทยในตอนนี้อาจจะเข้าข่ายเป็น Upheaval ไปแล้ว ภาพใหญ่และปัญหาของประเทศที่เกิดขึ้นดำเนินต่อเนื่องมานานหลายปีแล้ว ส่วน Covid-19 เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เข้ามาซ้ำและน่าจะรุนแรงที่สุด 

ดร. นิเวศน์ ได้ลิสต์ 12 ข้อ ทางออกของไทยไว้ ดังนี้ 

1) คนในชาติจะต้องมีความเห็นพ้องร่วมกันว่าประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต 

2) ต้องยอมรับว่า เป็นภาระรับผิดชอบของประเทศที่ต้องลงมือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

3) ล้อมรั้ว กำหนดขอบเขตปัญหาของประเทศที่จำเป็นต้องแก้ไข เช่น แก้ปัญหาทางสังคม หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย

4) หาความช่วยเหลือทางวัตถุและทางการเงินจากต่างประเทศ เช่น วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ

5) ถือประเทศอื่นเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหา การเลียนแบบมาจากคนอื่นทำได้ดีกว่า ไม่มีอะไรน่าอาย

6) อัตลักษณ์แห่งชาติ ต้องดูว่าคนไทยมีนิสัยหรือคุณสมบัติแบบใด การแก้ปัญหาก็ควรจะคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ด้วย

7) ประเมินจุดอ่อนจุดแข็งประเทศของตนอย่างซื่อตรง

8) ประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับวิกฤตชาติครั้งก่อนหน้านั้น เราต้องศึกษาเป็นบทเรียน

9) แก้ปัญหาความล้มเหลวของประเทศ

10) ความยืดหยุ่นในสถานการณ์เฉพาะของประเทศ

11) ค่านิยมหลักของประเทศ

12) การเป็นอิสระจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์

โดยดร. นิเวศน์ มองว่า ความพยายามที่จะปรองดอง ไม่ให้สถานการณ์เลวร้ายจนเกิดต้นทุนมหาศาลจนประเทศรับไม่ไหว เป็นทางเลือกที่จะออกจากวิกฤต และจะเกิดผลดีต่อการก้าวต่อไปอย่างแข็งแกร่งในอนาคต 

มุมมองนี้ หมายความถึง โอกาสการเติบโตของไทยในระยะยาวด้วย เพราะเรามีปัญหาสะสมมายาวนาน ถ้าหากยังไม่ได้รับการแก้ไข เราอาจจะเสียโอกาสดีๆ ได้ อย่างบทความล่าสุด บอกว่า ไทยกำลังได้รับความสนใจลดลง

KKP Research ของเกียรตินาคินภัทร บอกว่า นักลงทุนต่างชาติมีสัญญาณขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง ขณะที่นักลงทุนในไทยก็เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น 

นอกจากนี้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค ในขณะที่บริษัทไทยก็เริ่มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน 

อีกด้านคือ ไทยกำลังสูญเสียความสามารถด้านการส่งออก และฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในโลก เนื่องจากไทยมีสัดส่วนของสินค้าส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง 


ลงทุนรับมือ Covid-19 กลายพันธุ์ระบาดระลอกใหม่

เป็นแนวคิดและคำแนะนำจากคุณตราวุทธิ์ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการให้พอร์ตฝ่าวิกฤตการแพร่ระบาด Covid-19 ระลอกใหม่ไปได้ ตระหนัก…แต่ไม่ตระหนก ปี 2563 เรายังผ่านกันมาได้ ปี 2564 พอร์ตของเราต้องผ่านไปได้อย่างแข็งแกร่งเช่นกัน

อ่านต่อ


Siam One Heart รวมใจเป็นหนึ่งใจ พร้อมฝ่าวิกฤต Covid-19

วันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา คุณตราวุทธิ์ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยผ่าน Facebook Live ของ One Siam เน้นในเรื่องของการวางแผนทางการเงิน เพื่อรับมือกับวิกฤตที่ลากยาวอย่าง Covid-19 ซึ่งไม่ยาก…สำคัญที่ ‘วินัย’

ดู Live ย้อนหลัง


Jitta Wealth

หุ้น ​Covid-19 ตัวไหนปัง พร้อมชี้เป้า ETF ลงทุนรับดีมานด์ทั่วโลก

เมื่อไวรัสตัวร้ายมาพร้อมกันหลายสายพันธุ์ วัคซีน Covid-19 ประสิทธิภาพดีๆ กำลังเป็นที่ต้องการ มาส่องหุ้นวัคซีนที่ปังกับหุ้นชุดตรวจ Covid-19 ที่น่าสนใจ พร้อมชี้เป้า ETF ที่เป็นโอกาสลงทุนของคุณ

อ่านต่อ


สรุปสถานการณ์จากทุกมุมโลก

📌 เวียดนามกำลังเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 ประเภท mRNA โดยจะเริ่มผลิตภายในไตรมาสแรกของปี 2565 มีข้อตกลงว่า จะมีกำลังการผลิต 100-200 ล้านโดสต่อปี

อย่างไรก็ตามกระทรวงต่างประเทศของเวียดนามไม่ได้เปิดเผยว่า กำลังเจรจากับบริษัทใดในสหรัฐฯ ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า กำลังพิจารณาข้อเสนอของบริษัทเวียดนามในการเป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีน mRNA

นอกจากนี้ บริษัทยาของเวียดนาม Vabiotech และกองทุน RDIF จากรัสเซีย ที่ให้การสนับสนุนการผลิตวัคซีน Sputnik V รายงานว่า เวียดนามสามารถผลิตวัคซีน Sputnik V รุ่นทดลองได้แล้ว และวางแผนกำลังการผลิต 5 ล้านโดสต่อเดือน

📌 บริษัท Meissa รายงานว่า วัคซีน Covid-19 ชนิดพ่นจมูก (Intranasal) ในสัตว์ทดลอง พบประสิทธิภาพดี จามก็ไม่แพร่เชื้อ ผลการทดลองทางคลินิกป้องกันสายพันธุ์อัลฟาและเบตาได้ 

วัคซีนนี้เป็นแบบโดสเดียว สามารถสร้างแอนติบอดีในทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่างในลิงเขียวแอฟริกันได้ และพบว่า ป้องกัน Covid-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมได้ดี

บริษัทคาดหวังว่า ผลลัพธ์ที่ออกมาดีแบบนี้จะเกิดขึ้นเช่นกันในการทดลองระยะที่ 1 ในมนุษย์ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ ปัจจุบันจีนกำลังทดลองวัคซีนชนิดพ่นจมูกโดยความร่วมมือมหาวิทยาลัยฮ่องกงและมหาวิทยาลัยเซี่ยเหมินด้วย

📌 สำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาดแห่งรัฐ (SAMR) สั่ง Tencent เลิกผูกขาดลิขสิทธิ์เพลง และปรับ 77,141 ดอลลาร์สหรัฐ จากเข้าซื้อกิจการ China Music ในปี 2559 

หลังจากการเข้าซื้อกิจการ ทำให้ Tencent เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงแต่เพียงผู้เดียวมากกว่า 80% และมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อตกลงพิเศษกับผู้ถือลิขสิทธิ์เพลงได้มากขึ้น

SAMR ได้สั่งให้ Tencent และบริษัทในเครือยกเลิกการครอบครองลิขสิทธิ์เพลงแต่เพียงผู้เดียวภายใน 30 วัน และยกเลิกข้อกำหนดให้ผู้ถือลิขสิทธิ์ดูแล Tencent ให้ดีกว่าคู่แข่ง

📌 สำนักวิจัย IHS Markit ระบุว่า เศรษฐกิจยูโรโซน เดือน ก.ค. ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบกว่า 2 ทศวรรษ หลังหลายประเทศประกาศผ่อนคลายล็อกดาวน์ ทำให้ภาคบริการฟื้นตัวดีขึ้น 

โดยวัดจากดัชนี Purchasing Managers Index (PMI) ชี้วัดเศรษฐกิจยูโรโซน เพิ่มขึ้นเป็น 60.6 ในเดือน ก.ค. เปรียบเทียบกับ 59.5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด นับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2543 

แต่การแพร่ระบาดของ Covid-19 สายพันธุ์เดลตา กำลังส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกทำให้ราคาวัตถุดิบที่โรงงานต้องการต้องพุ่งสูงขึ้น  

📌 Hyundai จากเกาหลี Great Wall จากจีน ลุยตลาดอาเซียนด้วยรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เตรียมท้าชนเจ้าตลาดจากญี่ปุ่น 

Great Wall ลงทุนซื้อโรงงานจาก General Motors ที่ระยอง วางแผนผลิตช่วงเริ่มต้น 80,000 คัน โดยเน้นที่รถไฮบริดก่อนที่จะเริ่มผลิต EV ภายในปี 2566

สำหรับ Hyundai เตรียมเปลี่ยนโรงงานผลิตมูลค่า 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอินโดนีเซีย จากผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานน้ำมันมาเป็น EV ภายในปี 2565


โลกของเราเผชิญวิกฤต Covid-19 นานกว่า 1 ปีครึ่งแล้วนะ หลายประเทศเจอการระบาดหลายระลอก จากหลายสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา 

การลงทุนในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง อาจจะไม่ใช้คำตอบของการสร้างพอร์ตให้เติบโตระยะยาวได้อีกต่อไป

การกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเมื่อเจอวิกฤตในประเทศนั้น หรือในธุรกิจนั้น หากพอร์ตของคุณมีการลงทุนในสินทรัพย์จากหลายๆ แหล่ง พอร์ตจะไม่ผันผวนมาก แม้ว่าจะเผชิญวิกฤตที่ลากยาวอย่าง Covid-19

แล้วพบกันสัปดาห์หน้า


อ่าน Jitta Wealth Journal ย้อนหลัง

Jitta Wealth Journal – บิ๊กเทคจีนจับมือเอาตัวรอด

Jitta Wealth Journal – รับมืออย่างไร เมื่อหุ้นเทคจีนถูกเพ่งเล็ง

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด