Jitta Ranking ตอนที่ 1 - นานาเหตุผลที่ ‘ตลาดหุ้นเวียดนาม’ น่าลงทุน

22 เมษายน 2564Jitta Ranking

ตามคาด...ดัชนี VNI ของตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ โตไม่หยุด...ฉุดไม่อยู่ ทำสถิติใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา

นับเป็นการเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 อย่างสวยงาม ส่งผลให้นักลงทุนต้องหันสปอตไลต์ไปดูว่า อะไรทำให้ดัชนี ‘ตลาดหุ้นเวียดนาม’ พุ่งแรงได้แบบนี้

แต่ความแรงของดัชนี VNI ยังเคลื่อนไหวอยู่เหนือ 1,200 จุดต่อเนื่องในช่วงเดือนเม.ย. จุดสูงสุดใหม่อยู่ที่ 1,268.28 จุด วันที่ 20 เม.ย. แม้ดัชนีจะย่อตัวไปบ้าง ต้องรอลุ้นกันว่า ยืนเหนือ 1,200 จุดได้อีกนานแค่ไหน

สถิติเดิมของดัชนี VNI ที่เคยทำไว้ อยู่ที่ 1,204.33 จุด เมื่อ 9 เม.ย. 2561 และนิวไฮใหม่ล่าสุด ใช้เวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น

นักลงทุนหลายคนที่กำลังสนใจตลาดหุ้นเวียดนาม อาจจะคิดว่า ดัชนีหลักอย่าง VNI ทำสถิติใหม่ขนาดนี้ มันร้อนแรงไปแล้วหรือยัง ราคาหุ้นเวียดนามแพงไปหรือยัง 

หากลังเลว่า ควรจะเข้าลงทุนตลาดหุ้นเวียดนามตอนนี้หรือยัง ลองมาเช็กลิสต์กันว่า คุณสมบัติของตลาดหุ้นและเศรษฐกิจเวียดนามปัจจุบันนี้ ตอบโจทย์การลงทุนของคุณหรือไม่

3 เหตุผลที่ ‘ตลาดหุ้นเวียดนาม’ ยังทำนิวไฮได้อีก 

เวียดนามมีตลาดหุ้น 2 แห่ง ตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ (Ho Chi Minh Stock Exchange - HOSE) มีดัชนีหลักคือ VNI และ VN30 กับตลาดหลักทรัพย์ฮานอย (Hanoi Stock Exchange - HNX) มีดัชนีหลักคือ HNX และ HNX30  

นักลงทุนส่วนใหญ่ดูความเคลื่อนไหวของดัชนี VNI เป็นหลัก เพราะเป็นตลาดหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ มาดูกันว่า ปี 2564 นี้ ดัชนี VNI นิวไฮ...ยังน่าสนใจหรือไม่ มี 3 เหตุผลเด่นๆ ดังนี้

  1. กำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตอย่างเด่นชัด

นักวิเคราะห์คาดว่า บริษัทในตลาดหุ้นเวียดนามจะมีกำไรเติบโต 23% ปี 2564 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ที่กำไรลดลง 17% เพราะได้รับกระทบจาก Covid-19  

  1. ราคาหุ้นยังถูกกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค 

วัดกันที่ค่า Price to Earnings Ratio (ค่า P/E) ของดัชนี VNI ปี 2564 คาดว่า จะอยู่ที่ 18 เท่า เพิ่มขึ้นจากในอดีต แต่นับว่ายังน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เทียบกับปี 2563 ค่า P/E อยู่ที่ 16.03 เท่า 

ค่า P/E เฉลี่ยช่วงปี 2561-2563 ของดัชนี VNI อยู่ที่ 16.4 เท่า 

ค่า P/E จะเป็นตัวสะท้อนระยะเวลาคืนทุน เมื่อนักลงทุนต้องใส่เงินลงทุนไปในหุ้นตัวนั้นในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับ ค่า P/E ประเทศอื่นๆ ที่อยู่ราวๆ 20-30 เท่า ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม ใช้เวลาคืนทุนน้อยกว่า

  1. มูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจากกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นและผลประกอบการดี

นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี VNI จะเพิ่มขึ้นอีก 12.3% ในปี 2564 กลุ่มนักลงทุนที่จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดหุ้นเวียดนาม คือ นักลงทุนรายย่อย โดยเฉพาะเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนหน้าใหม่ที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง 

จนถึงสิ้นเดือนมี.ค. 2564 ตลาดหุ้นเวียดนามมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์มากกว่า 3 ล้านบัญชี บัญชีนักลงทุนรายย่อยมีสูงถึง 2.98 ล้านบัญชี บัญชีนักลงทุนสถาบันมีเพียง 11,630 บัญชี

นอกจากนี้มี 2 อุตสาหกรรมใหญ่ในตลาดหุ้นเวียดนาม คือ ธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ มีสัดส่วนในดัชนี VNI ที่ 27% และ 26% ตามลำดับ

ทั้งธุรกิจธนาคารและอสังหาริมทรัพย์จะได้รับปัจจัยเชิงบวกในช่วงที่เวียดนามกำลังฟื้นตัวจาก Covid-19 จากอัตราดอกเบี้ยขาลง ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) เพิ่มขึ้น และราคาที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ๆ สูงขึ้น 

ดังนั้นเมื่อผลประกอบการอุตสาหกรรมหลักในตลาดหุ้นเวียดนามดี จะส่งผลให้ดัชนี VNI และ HNX สูงขึ้น และมูลค่าหุ้น (Valuation) เพิ่มขึ้น นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนีและมูลค่าหุ้นยังมีโอกาสที่จะทำนิวไฮได้อีก

6 เหตุผลที่ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ ยังโตแรงได้อีก

คุณสมบัติทางเศรษฐกิจของเวียดนามในอดีตจนถึงปัจจุบัน จะสะท้อนภาพว่า ในอนาคตอีก 10-20 ปี ข้างหน้า เวียดนามมีโอกาสเติบโตหรือไม่ เครื่องยนต์กลไกด้านไหนจะมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ลองดู 6 เหตุผลที่เป็นปัจจัยพื้นฐานเชิงบวกต่อเศรษฐกิจเวียดนาม  

  1. เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตในอัตราที่สูงต่อเนื่องมานานกว่า 20 ปี

เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตในอัตรา 5-8% ต่อปี อ้างอิงจาก World Economic Forum ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 

วิกฤต Covid-19 ยังทำอะไรเศรษฐกิจเวียดนามไม่ได้ ขณะที่เกือบทั้งโลกมีเศรษฐกิจติดลบในปี 2563 แต่เวียดนามยังมี GDP เติบโตได้ 2.9%

สำหรับปี 2564 เศรษฐกิจเวียดนามคาดว่า จะฟื้นตัวจาก Covid-19 โต 6.5% จบไตรมาสแรกที่ผ่านมา สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม บอกว่า GDP ขยายตัว 4.48%

  1. การเมืองมีเสถียรภาพภายใต้พรรคการเมืองเดียว

เวียดนามมีระบบพรรคการเมืองเดียว นั่นก็คือ พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ส่งผลให้นโยบายบริหารประเทศมีความต่อเนื่อง มีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แม้ว่าตำแหน่งผู้นำประเทศจะเปลี่ยนมือไปกี่คน ก็ยังอยู่ภายใต้การบริหารประเทศพรรคเดียวกัน

นอกจากนี้เวียดนามได้ริเริ่มนโยบายปฎิรูปเศรษฐกิจ เปิดประเทศสู่ตลาดโลกทั้งด้านการค้าและการลงทุน ดอย เหม่ย (Doi Moi) ในปี 2529 ประกอบกับมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่องมาจนถึงแผนที่ 11 (2564-2568) ส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมามีการเติบโตมาโดยตลอด

  1. ประชากรขนาดใหญ่และมีแรงงานมากพอในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

เวียดนามมีประชากร 97.34 ล้านคน ณ สิ้นปี 2563 อัตราการเกิดอยู่ที่ 2.1 คนต่อผู้หญิง 1 คน สัดส่วนของประชากรอายุ 15-64 ปี อยู่ที่ 69% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนวัยทำงาน

  1. เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง

ปี 2563 เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment - FDI) อยู่ที่ โดย 28,530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 25% จากปีก่อน จากผลกระทบ Covid-19 

แต่ General Statistics Office (GSO) รายงานว่า ยอด FDI ของเวียดนามในปี 2562 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี อยู่ที่ 38,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.2%

บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ดิจิทัลระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Samsung Mcnex หรือ Foxconn มาตั้งฐานการผลิตขนาดใหญ่ที่เวียดนาม และวางแผนจะส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตจากเวียดนามไปฐานผลิตอื่นๆ ทั่วโลก

ล่าสุดไตรมาสแรกของปี 2564  ยอด FDI 2564 มีมูลค่ารวม 10,130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากบริษัทจากสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

เมื่อเวียดนามเป็นจุดหมายสำคัญของการลงทุนจากต่างชาติ ย่อมส่งผลให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น จากการส่งออกและการจ้างงานก็เติบโตขึ้น

  1. มูลค่าการส่งออกสูงจากการเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม

ผลพวงจากมูลค่า FDI ที่หลั่งไหลเข้ามา ทำให้ภาคการผลิตของเวียดนามเติบโตขึ้น เมื่อผลิตสินค้ามากขึ้น ก็สามารถส่งออกไปได้ทั่วโลก 

GSO รายงานว่า ไตรมาสแรกปี 2564 มูลค่าการส่งออกเวียดนามโต 22% อยู่ที่ 77,344 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนมูลค่าการนำเข้าเติบโต 26.3% อยู่ที่ 75,308 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลการค้า 2,306 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

GSO บอกอีกว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปี 2564 ก็เติบโต 5.7%

สำหรับปี 2563 ท่ามกลางวิกฤต Covid-19 มูลค่าการส่งออกเวียดนามโต 6.5% อยู่ที่ 281,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนมูลค่าการนำเข้าเติบโต 3.6% อยู่ที่ 262,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อีกข้อดีที่ทำให้เวียดนามสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกได้มาก เพราะรัฐบาลเวียดนามมีการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับประเทศอื่นๆ ไว้มากมาย ข้อตกลงเด่นๆ คือ CPTPP (ภาคพื้นแปซิฟิก) และ EVFTA (สหภาพยุโรป) ที่ทำให้สินค้าจากเวียดนามเข้าประเทศกลุ่มนี้ได้ โดยไม่มีภาษีนำเข้า

  1. ประชากรมีกำลังซื้อมากขึ้น เป็นประเทศรายได้ปานกลาง 

เวียดนามมีเป้าหมายการเป็นประเทศอุตสาหกรรมและประชากรมีรายได้ปานกลางระดับสูง ในปี 2578 ซึ่งตามเกณฑ์ของธนาคารโลกตั้งเกณฑ์ไว้สำหรับประเทศ Upper-middle Income ที่ 4,046 - 12,535 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี วัดตาม Gross National Income (GNI) ตามสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 

ในปี 2562 ประชากรเวียดนามมีรายได้ 2,540 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ยังจัดเป็นประเทศ Lower-middle Income แต่เมื่อการจ้างงานมากขึ้น ประชากรวัยทำงานเป็นกลุ่มใหญ่ รายได้ประชากรเวียดนามยังมีโอกาสเพิ่มได้อีกในอนาคต

นี่คือ 3 เหตุผลที่สะท้อนภาพความน่าสนใจของ ‘ตลาดหุ้นเวียดนาม’ และ 6 เหตุผลที่บอกว่า ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ อดีตและปัจจุบัน และมีศักยภาพเติบโตได้อนาคตหรือไม่ ทุกเหตุผลล้วนมีแรงส่งกันและกันเป็นลูกโซ่ 

เศรษฐกิจเวียดนามเปรียบเหมือนภาพใหญ่ ที่จะบอกเป็นนัยยะว่า เศรษฐกิจเติบโตได้ดี มีการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน ประชาชนมีกำลังซื้อ มูลค่าการส่งออกสูง ย่อมส่งผลให้ภาพย่อยอย่างตลาดหุ้นเวียดนามมีทิศทางเติบโตได้ดี จากเม็ดเงินจากนักลงทุนและผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งส่งภาพสะท้อนมาให้ดัชนี VNI ทำนิวไฮ และมูลค่าหุ้นสูงขึ้นตามมา

อ่านมาถึงตรงนี้ หากคุณเช็คลิสต์แล้วว่า ‘ตลาดหุ้นเวียดนาม’ มีศักยภาพมากพอ และเป็นโอกาสลงทุนของคุณ ให้กองทุนส่วนบุคคล Jitta Ranking พาคุณไปพบกับ ‘หุ้นคุณภาพดี ราคาถูก’ ในเวียดนาม ตามหลักการลงทุนของ Warren Buffett

อ่านข้อมูลได้ที่ https://jittawealth.com/jitta-ranking


กองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth บริหารจัดการโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ซึ่งเป็น WealthTech แห่งแรกของไทยที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 

ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน


อ้างอิง

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด