สรุปคำถาม-ตอบ Exclusive Q&A with CEO จาก Jitta Wealth เดือนเมษายน 2564

26 เมษายน 2564EventsExclusive Q&A with CEOJitta Wealth

Exclusive Q&A with CEO เป็น Webinar ที่ทีมงาน Jitta Wealth จัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับบริการการลงทุนของ Jitta Wealth และตอบข้อสงสัยของนักลงทุนที่สนใจ คุณสามารถรับชม Webinar ย้อนหลังได้ทาง Facebook หรือ Youtube หรืออ่านสรุปคำถาม-ตอบ จากนักลงทุนทางบ้านได้ในบทความนี้

รับชม Webinar ย้อนหลัง

สรุปคำถาม-ตอบจาก Webinar

ข่าวสารจากทั่วโลก ล้วนมีผลกระทบต่อทิศทางการลงทุน เป็นสิ่งที่เราในฐานะนักลงทุนควบคุมไม่ได้ แต่ปัจจัยที่ Jitta Wealth ควบคุมได้ คือ แนวทางการลงทุนที่จะเป็น Winning Strategy นั่นก็คือ 

  • ลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี มีโอกาสเติบโตในระยะยาว
  • กระจายความเสี่ยงในพอร์ตลงทุนอย่างเหมาะสม
  • ลงทุนหรือเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ

ตั้งแต่ต้นปี 2564 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีความผันผวนอยู่ตลอด โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยี และหุ้นกลุ่มเมกะเทรนด์ ผลตอบแทนในกลุ่มกองทุนส่วนบุคคล Thematic หลายธีมบวกได้เพียงเล็กน้อย (ข้อมูลถึงวันที่ 25 เม.ย.) มีเพียงธุรกิจคลาวด์ที่ติดลบ 3.21% 

ส่วนธีมที่มีการเติบโตสูง คือ ธีมกัญชา ที่มาจากกระแสข่าวปลดล็อกให้ใช้กัญชาถูกกฎหมาย และธีมเทคโนโลยีท่องเที่ยว ที่มีทิศทางฟื้นตัวจากวัคซีน Covid-19

ส่วนผลตอบแทนของกองทุนส่วนบุคคล Jitta Ranking ก็เติบโตได้ดี ที่โดดเด่นคือ หุ้นไทยที่กำลังฟื้นตัวจากราคาที่ลงหนักช่วง Covid-19 ระบาดรอบแรก ตามมาด้วยหุ้นสหรัฐฯ และหุ้นเวียดนาม

สิ่งที่ Jitta Wealth ยึดถือมาตลอดคือ แนวทางการลงทุนที่ถูกต้อง ตามแนวคิดของ Warren Buffett ที่บอกว่า “Predicting rain doesn’t count, Building arks does.” การจะไปพยากรณ์ว่าฝนจะตกหรือไม่ ไม่สำคัญเท่าการสร้างเรือที่แข็งแกร่งเพื่อให้ฝ่าฟันลมฝนได้

นอกจากนี้ นักลงทุนควรประเมินความเสี่ยงและจุดขาดทุนที่ยอมรับได้ หากลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง การขาดทุนสูงมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอ นักลงทุนควรทำความเข้าใจความผันผวนด้านราคาของสินทรัพย์นั้นๆ 

อย่างกองทุนส่วนบุคคล Global ETF กราฟพอร์ตลงทุนจะไม่ผันผวนเท่าการลงทุนใน Thematic และ Jitta Ranking

Jitta Wealth

การลงทุนกองทุนส่วนบุคคล Global ETF

Q: Global ETF เป็นการลงทุนแนว VI หรือไม่

Global ETF เป็นการลงทุนแบบ Passive ที่เน้นสร้างผลตอบแทนล้อไปกับดัชนีตลาด หรือดัชนีกลุ่มหุ้นที่คุณเลือก ในขณะที่การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (VI) หรือ Technical หรืออื่นๆ จะมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ลงทุนได้ชนะผลตอบแทนตลาด

ข้อดีของ Passive คือค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า เพราะไม่ต้องมีนักวิเคราะห์ หรือผู้จัดการกองทุนมาคอยเลือกหุ้น และเนื่องจาก ตามสถิติแล้ว กองทุนแทบทั้งหมดที่เป็นแบบ Active ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนหลังหักค่าธรรมเนียมชนะตลาดได้ทุกปี ทำให้เงินที่ลงทุนแบบ Passive มีโอกาสเติบโตได้มากกว่าในระยะยาว ตราบใดที่เศรษฐกิจของประเทศที่ลงทุนเติบโต

ซึ่งการลงทุนแบบ Passive นี้เป็นรูปแบบการลงทุนที่ Warren Buffett แนะนำให้คนทั่วไปลงทุน เพราะสร้างผลตอบแทนดีกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของนักลงทุนทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์


การลงทุนกองทุนส่วนบุคคล Jitta Ranking เวียดนาม

Q: ควรลงทุนหุ้นเวียดนาม จะเลือกแบบไหนระหว่าง Thematic หรือ Jitta Ranking

มีความแตกต่างการในหุ้นที่เข้าลงทุน สำหรับ Thematic เป็น ETF ที่ชื่อ VNM เลือกลงทุนหุ้นเวียดนามที่มีศักยภาพเติบโต มีรายได้มั่นคง ETF เน้นให้ผลตอบแทนไปตามดัชนีอ้างอิง จัดพอร์ตลงทุน Thematic มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนธีมได้ ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 100,000 บาท

ส่วน Jitta Ranking จะเป็นการลงทุนหุ้นรายตัวในตลาดหุ้นเวียดนามโดยตรง เงินลงทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท ซื้อหุ้นได้ 6-7 ตัว โดยเลือก ‘หุ้นดี ราคาถูก’ ผลตอบแทนระยะยาวดีกว่าดัชนีตลาด  

Q: ลงทุนหุ้นเวียดนามติด Foreign Ownership Limit (FOL) หรือเปล่า ต้องซื้อราคาพรีเมียมหรือไม่

Jitta Wealth จะเลือกหุ้นที่ไม่ติด FOL ซึ่งจะเป็นหุ้นที่ไม่ใช่พิมพ์นิยมเหมือนหุ้นติด FOL ซึ่งมีมาร์เก็ตแคปใหญ่ และกองทุนขนาดใหญ่มักเลือกลงทุนหุ้นติด FOL จ่ายราคาพรีเมียม (ราคาที่แพงกว่าราคาตลาด) 

หุ้นไม่ติด FOL บางตัวเป็นหุ้นที่นักลงทุนรายย่อยเวียดนามลงทุน เพราะมองโอกาสการเติบโตในระยะยาว ส่วน Jitta Wealth จะมีระบบปรับพอร์ตลงทุนทุก 3 เดือน มีการลงทุนหุ้นหลายตัว เพื่อกระจายความเสี่ยง 

Q: วิกฤต Covid-19 มีผลกระทบการลงทุนหุ้นเวียดนามมากไหม

ตลาดหุ้นเวียดนามมีโอกาสและศักยภาพในการเติบโต จากเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ปัจจุบันตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็นตลาดหุ้นชายขอบ (Frontier Market) จำเป็นต้องมีการปรับเกณฑ์เรื่อง FOL เพราะดึงดูดเม็ดเงินจากทั่วโลก ถึงจะได้อัปเกรดเป็นตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Market) ได้  

ในช่วง 3-5 ปีนี้ เศรษฐกิจเวียดนามมีศักยภาพไปได้อีก จากการที่บริษัทระดับโลกย้ายฐานการผลิต เพื่อหนีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน เม็ดเงินลงทุนมหาศาล ส่วนวิกฤต Covid-19 ไม่มีผลกระทบมาก เพราะควบคุมการระบาดได้ดี 

Q: เวียดนามมีความเสี่ยงในเรื่องรัฐบาล ทาง Jitta Wealth มองอย่างไร

ทางเรามองว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพราะเวียดนามยังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา แต่เนื่องจากมีการลงทุนของต่างประเทศเข้ามามาก ระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของเวียดนามก็จะค่อยๆ พัฒนาอีกในอนาคต

Q: ถ้าเวียดนามในอีก 5-10 ปี ไม่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ตลาดหุ้นอาจจะไม่เติบโตอย่างในปัจจุบัน หากหุ้นเทคโนโลยีในตลาดหุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนที่ดีกว่า Jitta Wealth จะมีการเตือนนักลงทุน เพื่อเปลี่ยนพอร์ตลงทุนหรือไม่

Jitta Wealth เขียนบทความ และจัดทำไลฟ์ เพื่ออัปเดตสถานการณ์การลงทุนทั่วโลก และให้ลูกค้าได้รู้เท่าทันเหตุการณ์อยู่เสมอ 

Jitta Wealth เป็นบลจ. ที่ใช้ระบบดิจิทัลและคอมพิวเตอร์ มาช่วยดำเนินการดูแลพอร์ตลงทุนของลูกค้า ทางเราจะไม่ได้ติดต่อลูกค้ารายคนเป็นพิเศษ เช่น ทางโทรศัพท์ ทั้งนี้ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามมาทาง Customer Service ได้ หากมีความกังวลใจในต่อสถานการณ์ลงทุนทั้งในปัจจุบันและอนาคต


การลงทุน Jitta Ranking สหรัฐอเมริกา

Q: สหรัฐฯ มีแผนการขึ้นภาษี Capital Gain จากนักลงทุน นโยบายนี้มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นหรือไม่

การขึ้นภาษี Capital Gain นโยบายของประธานาธิบดี Joe Biden จะทำเฉพาะผู้ที่มีรายได้ประจำปีตั้งแต่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป นักลงทุนส่วนมากยังมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์นั้น ก็เสียภาษีปกติ 

ส่วนพวกมีรายได้ถึงเกณฑ์สูงกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้น ปกติจะไม่ลงทุนหุ้นแบบเก็งกำไร พวกเขาจะจัดตั้งบริษัทหรือสร้างทรัสต์ส่วนตัว มีเงินจ้างที่ปรึกษามาวางแผนจัดการภาษ๊ ดังนั้นมองว่า ไม่น่าจะเกิดผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถ้าเป็นนโยบายมาเก็บภาษีจากนักลงทุนทุกฐานรายได้ จะมีผลกระทบเป็นวงกว้าง

Buffett บอกว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงจากนโยบายของรัฐบาลที่มีมาตลอดหลายทศวรรษ ดัชนี S&P500 ยังทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ 6-8% ต่อปี ดังนั้นขอให้มั่นใจและเข้าใจในสินทรัพย์ที่เลือกลงทุน 

Q: หลักการลงทุนแบบ VI สามารถใช้ได้ระยะยาวหรือไม่

แนวทางของ Buffett ใช้หลักการวิเคราะห์สินทรัพย์ด้านงบการเงิน รายได้ กำไร กระแสเงินสด เลือกหุ้นที่มีราคาถูกและและคุณภาพดี ซึ่งเป็นหลักการใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ซึ่งแพลตฟอร์มของ Jitta หลักการนั้นมีพัฒนาอัลกอริทึม เพื่อให้วิเคราะห์หุ้นได้ง่ายยิ่งขึ้น

ส่วนหุ้นเทคโนโลยีจำเป็นต้องปรับอัลกอริทึมให้วิเคราะห์งบการเงินอีกแบบ เพราะวิธีการคิดทางบัญชีไม่เหมือนกัน มีขาดทุนทางบัญชี แต่กระแสเงินสดสูง ดังนั้นถ้าหลักการวิเคราะห์ดี ผลลัพธ์ก็จะดี นักลงทุนเข้าใจหลักการและวิธีการเลือกหุ้น ก็จะลงทุนสบายใจ

Q: การเลือกหุ้นในระหว่าง Jitta Ranking U.S. และ U.S. Tech ต่างกันมากไหม

มีความแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าทั้ง 2 นโยบายจะใช้ Jitta Ranking คัดกรองหุ้นเหมือนกัน แต่ Jitta Ranking U.S. Tech จะจำกัดวงให้อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีเท่านั้น  โดยพิจารณาพื้นฐานธุรกิจย้อนหลัง 10 ปี การเติบโต และราคาที่เหมาะสม จากนั้นจึงเลือกหุ้นเทคโนโลยีที่น่าลงทุนที่สุดจากการจัดอันดับของ Jitta Ranking 

ข้อแตกต่างของ Jitta Ranking แผน U.S. และ U.S. Tech มีดังนี้

Jitta Ranking – U.S. จะลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่จำกัดเฉพาะหุ้นเทคโนโลยี และเน้นคัดเลือกหุ้น Value ที่พื้นฐานดี ราคาเหมาะสม มีแนวโน้มเติบโต แต่อาจจะไม่ได้สูงขนาด 20% หรือ 50%

ในขณะที่  Jitta Ranking – U.S. Tech มีนโยบายลงทุนในหุ้นเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในตลาด Nasdaq และ NYSE ของสหรัฐฯ ที่มีลักษณะเป็นหุ้น Growth หรือหุ้นเติบโตสูง เพราะรายได้เติบโตประมาณ 20% เฉลี่ยต่อปี บางบริษัทก็สูงถึง 50%-60% ต่อปี และธุรกิจยังคงขยายตัวเรื่อยๆ

ธุรกิจในกลุ่มนี้ ก็เป็นเทคโนโลยีเมกะเทรนด์ขับเคลื่อนโลกหลากหลายประเภท เช่น ผู้ให้บริการ cloud solutions อย่าง Amazon ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบ cloud (SaaS หรือ software as a service) อย่าง Zoom ผู้ให้บริการเทคโนโลยีทางการเงิน (fintech) อย่าง PayPal และผู้ให้บริการ e-commerce อย่าง Shopify เป็นต้น


การลงทุน Jitta Ranking อื่นๆ

Q: จะเพิ่ม Jitta Ranking จีนและอินเดียหรือไม่

Jitta Wealth ได้รับข้อเสนอแนะนี้มาบ้าง และได้วิเคราะห์ว่า ยังมีข้อจำกัด เพราะจะใช้เงินลงทุนสูง ถึง 3 ล้านบาท แต่อนาคตมีความเป็นไปได้ เพราะเป็นตลาดหุ้นที่น่าสนใจ คงต้องรอเวลาที่เหมาะสม ที่จะเพิ่มบริการในตลาดหุ้นประเทศอื่นๆ

ปัจจุบันตลาดหุ้นจีนกับอินเดียยังสามารถลงทุนได้ในบริการกองทุนส่วนบุคคล Thematic

Q: อนาคตจะทำกองทุนส่วนบุคคลที่ลงทุนในหุ้นทั่วโลกเป็น Global Ranking ได้หรือไม่

ทำได้ยากมาก เพราะจะมีปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน แต่ละตลาดหุ้นใช้สกุลเงินแตกต่างกัน รวมทั้งเงื่อนไขจากโบรกเกอร์และผู้ดูแลทรัพย์สิน ทำให้มีความยุ่งยากที่จะต้องซื้อหุ้นทั่วโลก ดังนั้นหากเลือกไปลงทุน Thematic จะง่ายกว่า ลงทุนได้ทั่วโลกผ่าน ETF ที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เพียงที่เดียว ไม่มีปัญหาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน

Q: Jitta Ranking มีการคำนวณตัวเลขอนาคตหรือไม่

การใช้ตัวเลขงบการเงินในอดีตในโลกการลงทุน เป็นการใช้กระจกมองหลัง ซึ่งจะชัดกว่ากระจกมองหน้าเสมอ เพราะผลการดำเนินงานในอดีตดี ย่อมมีโอกาสเติบโตในอนาคต เหมือนเป็นการเลือกนักเรียนห้องคิง ต่อให้เลือกสุ่มมา ค่าเฉลี่ยผลการเรียนก็ยังสูง 

เราคำนวณจากงบการเงินในอดีต ถ้าหุ้นตัวนั้นเติบโตดี ก็มีแนวโน้มเติบโตต่อไป การเลือกหุ้นดี เป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่คาดฝัน มีการกระจายความเสี่ยงในหุ้นหลายตัว โอกาสที่ติดลบทั้งพอร์ตลงทุนจะยาก

ปัจจุบันตลาดหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ธุรกิจถูกกระทบหรือ Disruption ตลอดเวลา แพลตฟอร์มของ Jitta ปรับอัลกอริทึมวิเคราะห์งบการเงินย้อนหลัง 4-8 ไตรมาส ถ้ารายได้ กำไร กระแสเงินสดลดลง Jitta Ranking Top 30 ของแต่ละประเทศเปลี่ยนได้ตลอดเวลา อาจจะหุ้นจากอันดับไปก็ได้

Q: Jitta Ranking ระหว่างเวียดนาม ไทย สหรัฐฯ และ U.S. Tech เลือกอะไรดี

เลือก U.S. Tech เพราะธุรกิจเทคโนโลยีไม่ได้มีจุดขายที่สินค้าหรือบริการที่ออกมา แต่อยู่ที่ Ecosystem ที่แต่ละบริษัทพัฒนาขึ้นมา หรือไปเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมกับบริษัทรายอื่นๆ ยิ่งถ้าสามารถรักษาฐานลูกค้าใน Ecosystem ได้ตลอดรอดฝั่ง โอกาสที่จะรายได้มีตลอดเวลา เหมือนเป็นอุตสาหกรรมที่โตแบบ S-curve

ส่วนเวียดนาม แม้เศรษฐกิจและตลาดหุ้นยังมีศักยภาพในการเติบโต แต่ถ้าไม่พัฒนาไปอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก ในอนาคตก็จะมีแต่ธุรกิจดั้งเดิมมีใหญ่เต็มประเทศแบบหุ้นไทย ธุรกิจพัฒนาเต็มศักยภาพไปแล้ว อาจจะอยู่ในภาวะอิ่มตัว 

Q: เข้าซื้อหุ้นตอนรายงานงบไตรมาสดีหรือไม่ 

มีการทดสอบภายใน Jitta Wealth เอง แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้แตกต่างจากลงทุนก่อนงบการเงินออก เพราะแต่ละบริษัทออกรายงานผลการดำเนินงานไม่พร้อมกัน โอกาสที่จะมีวิกฤตหรือความเสี่ยงหลังจากที่งบการเงินออกก็ยังมี มันเหมือนการไปจับจังหวะลงทุน 

แต่ถ้าลงทุนเป็นรายเดือนและทำสม่ำเสมอ ก็มีบทพิสูจน์มาแล้วว่า พอร์ตลงทุนไม่ผันผวน เพราะได้กระจายการลงทุนในทุกช่วงเวลา โอกาสที่หุ้นขึ้น 70% จะมากกว่าหุ้นลง 30% อยู่แล้ว 

Q: เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ Jitta Wealth วางแผนปรับพอร์ตลงทุนอย่างไร อัลกอริทึมการปรับพอร์ตลงทุนจะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือไม่

อัลกอริทึมของ Jitta จะดูผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงล่าสุด เปรียบเทียบกับมูลค่าของกิจการนั้นๆ และลงทุนในหุ้นที่มีข้อดีโดยรวมดีที่สุด ดังนั้นอัลกอริทึมปรับเปลี่ยนหุ้นที่จะลงทุนตามสถานการณ์อยู่แล้ว แต่เนื่องจากต้องใช้งบการเงินของบริษัทในการคำนวน จึงไม่ได้ปรับการลงทุนทันทีเมื่อเกิดสถานการณ์ต่างๆ ขึ้น

หลักการของ Jitta Ranking คือ ลงทุนในกิจการที่ดีและราคาถูกที่สุดอยู่เสมอ ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดวิกฤตใดขึ้นมาก็ตาม Jitta Wealth ก็จะปรับพอร์ตลงทุน และเข้าถือหุ้นที่กิจการแข็งแกร่งที่สุด ซึ่งจะทำให้มูลค่าพอร์ตลงทุนค่อยๆ เติบโตขึ้นเรื่อยๆ

ยกตัวอย่างปี 2563 ในช่วง Covid-19 ระบาดระลอกแรก Jitta Wealth ก็ได้ปรับพอร์ตและเลือกลงทุนในหุ้นที่รายได้ กำไร และกระแสเงินสดของกิจการยังคงเติบโต ในราคาที่ไม่แพงมาก ทำให้มูลค่าพอร์ตลงทุนหลังวิกฤตเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

Q: Jitta Ranking และ Themetic มีการใช้สินทรัพย์อื่น เป็น Buffer เช่น พันธบัตรระยะสั้น หรือเงินสดหรือไม่

ไม่มี เงินลงทุนทั้งหมดของ Jitta Ranking กับ Thematic จะลงทุนในสินทรัพย์ที่ลูกค้าเลือกทั้งหมด จะมีการกันเงินสดไว้ประมาณ 1% เท่านั้น

โดยทั้งนี้ ถ้าหากเรามั่นใจว่า หลักการลงทุนของ Jitta Ranking และ Thematic นั้น จะให้ผลตอบแทนที่ดีระยะยาว ดังนั้นการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า การพยายามจับจังหวะตลาดและเปลี่ยนสินทรัพย์ไปมาระหว่างหุ้น พันธบัตร หรือเงินสด แต่ก็จะทำให้มีความผันผวนที่มากกว่า

ถ้าต้องการลงทุนที่มีความผันผวนน้อยลง เพราะมีการปรับสัดส่วนระหว่างหุ้นและพันธบัตรนั้น แนะนำให้ลงทุนกับกองทุนส่วนบุคคล Global ETF จะตรงกับความต้องการมากกว่า

Q: เปรียบเทียบความเสี่ยงและผลตอบแทนระหว่าง Jitta Ranking กับ Thematic เป็นอย่างไร

Thematic แต่ละธีมก็มีผลตอบแทนและความเสี่ยงต่างกัน ขึ้นกับเทรนด์แต่ละธุรกิจ บางปีธีมนี้อาจจะไม่ดีมาก แต่บางปีก็ทำผลงานได้ดี ดังนั้น Thematic เหมาะกับนักลงทุนที่อยากเพิ่มโอกาสลงทุนในกลุ่มหุ้นที่สนใจมากเป็นพิเศษ และเชื่อว่าจะเติบโตในอนาคต

ในขณะที่ Jitta Ranking และ Global ETF ลงทุนในทรัพย์สินที่ไม่ได้เจาะจงกลุ่มอุตสาหกรรม โดย Jitta Ranking ลงทุนในหุ้นรายตัว ที่มีคุณภาพดี แต่มีความผันผวนตามสถานการณ์ตลาดหุ้น ส่วน Global ETF มีการกระจายเงินลงทุนใน ETF ทั้งหุ้นทั่วโลกและพันธบัตรชั้นดี

Q: NAV ของพอร์ตลงทุนกับ Jitta wealth ผันผวนค่อนข้างสูงกว่า SET ลงก็ลงหนักมากกว่า เวลาขึ้น บางช่วงก็ขึ้นมากกว่า SET บางช่วงก็ไม่ เนื่องจากสาเหตุใด


เนื่องจากการคำนวนดัชนี SET ใช้สัดส่วนตามมูลค่ามาร์เก็ตแคปของหุ้น แต่ตลาดหุ้นไทยมีหุ้น มาร์เก็ตแคปใหญ่ๆ ไม่มากนัก หากถือหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ๆ ไม่เยอะ ผลตอบแทนก็จะแตกต่างจาก SET พอสมควร ซึ่งหลักการลงทุนของ Jitta Ranking ก็ไม่เน้นถือหุ้นมาร์เก็ตแคปใหญ่ๆ อยู่แล้ว แต่จะถือหุ้นที่คุณภาพดีราคาถูก

นอกจากนี้ ในพอร์ตลงทุน Jitta Ranking ถือหุ้นประมาณ 30 ตัว จึงเป็นเรื่องปกติที่จะผันผวนมากกว่า SET ที่มีหุ้นจำนวนมากกว่า

ดังนั้น การเปรียบเทียบผลตอบแทนกับดัชนี SET ควรเปรียบเทียบผลตอบแทนระยะยาวอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป ซึ่งที่ผ่านมาผลตอบแทนของ Jitta Ranking ก็ยังทำผลงานได้ดีกว่า โดยเฉพาะช่วงหลังวิกฤต Covid-19 ในปี 2563


การลงทุนกองทุนส่วนบุคคล Thematic

Q: การเลือก ETF ของกองทุนส่วนบุคคล Thematic

Jitta Wealth เลือก ETF ที่เป็น Passive Fund เพราะมีโอกาสชนะตลาดมากกว่าในระยะยาว Active Fund สามารถทำผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้น แต่โอกาสชนะ Passive Fund มีแค่ 1 ใน 10 เท่านั้น

นอกจากนี้ จะเลือกดูความน่าเชื่อถือของ ETF โดยดูจากมูลค่าของ AUM ค่าธรรมเนียมต่ำ และ Tracking Error ต่ำ เพราะจะเกิด Economy of Scale ในการบริหาร ETF   

นักลงทุนส่วนใหญ่จะเลือกกองทุนที่ผลตอบแทนย้อนหลังดีมากๆ แต่อนาคตจะไม่ค่อยดี มีข้อจำกัดในการเติบโต บางคนใส่เงินลงทุนไปเยอะ โดยเฉพาะ Active Fund ที่ผู้จัดการกองทุนไม่ได้บริหารไม่ตลอด ดังนั้นผลตอบแทนไม่ใช่สิ่งที่แน่นอน ถ้าเลือกค่าธรรมเนียมต่ำ ระยะยาวผลตอบแทนเฉลี่ย เพราะไม่ต้องบริการกองทุนให้ชนะดัชนีตลาด 

Q: ปัจจัยที่ Thematic จะเปลี่ยน ETF

ขึ้นอยู่กับค่าธรรมเนียม โดย Jitta Wealth จะรีวิวดูทุกๆ ไตรมาส ถ้าอะไรที่เปลี่ยนแปลง จะมีการแจ้งลูกค้า ในทางปฏิบัติแล้ว เมื่อเลือก ETF ที่มีมูลค่า AUM สูง ค่าธรรมเนียมต่ำ อนาคต ETF มีโอกาสจะลดค่าธรรมเนียมมากกว่า 

Q: แนะนำจัดพอร์ตลงทุน Thematic อย่างไร

แต่ละธีมมีความเสี่ยงไม่เหมือนกัน ถ้าเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ธีมนี้อนาคตจะเป็นอย่างไร โอกาสเลือกธีมถูกยากมาก ควรจัดพอร์ตลงทุนแบบ 4 ธีมก่อน เพื่อช่วยให้กระจายความเสี่ยงได้ดี แม้ว่าผลตอบแทนรวมอาจจะสูงมาก แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย 

จัดพอร์ตลงทุนง่ายๆ 4 ธีมตลาดหุ้น ได้แก่ สหรัฐฯ จีน อินเดีย และเวียดนาม หรือ 5 ธีมธุรกิจเมกะเทรนด์ ได้แก่ คลาวด์ ฟินเทค อีคอมเมิร์ซ AI และหุ่นยนต์ เกมและอีสปอร์ต เพราะธุรกิจกลุ่มนี้ยังมีโอกาสเติบโตในระยะยาว

สิ่งสำคัญ คือ หมั่นลงทุนและเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ เพราะแต่ละธีมยังมีความผันผวนระยะสั้น การ DCA จะลดโอกาสขาดทุนในพอร์ตลงทุน     

Q: หากกองทุน ETF ของ Thematic มีผลประกอบการไม่ดี มีโอกาสที่จะกองทุน ETF จะปิดกองทุนหรือไม่ และ Jitta Wealth จะทำอย่างไร

มีโอกาสที่กองทุน ETF จะปิดตัวลง เนื่องจากสร้างผลตอบแทนได้ไม่ดี จนทำให้นักลงทุนทยอยขายหน่วยลงทุน แต่เงินของลูกค้าไม่ได้หายไปไหน กองทุน ETF จะขายหุ้นที่ถืออยู่ออก ประกาศซื้อหน่วยลงทุนจากนักลงทุน และคืนกลับมาเป็นเงินสดในพอร์ตของลูกค้า 

ทั้งนี้ ทางทีมงาน Jitta Wealth จะรีวิวและตรวจสอบสถานการณ์ของกองทุน ETF ในแต่ละธีมอย่างสม่ำเสมอ หากมีเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงมากๆ เกิดขึ้น ทีมงานจะตัดสินใจในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่นักลงทุนมากที่สุด

Q: Thematic ใช้อัลกอริทึม AI เช่นเดียวกับ Jitta Ranking หรือไม่

Thematic และ Global ETF ไม่ได้ใช้อัลกอริทึม AI แบบเดียวกับ Jitta Ranking แต่เป็นการลงทุนแบบ Passive โดย Thematic มีเกณฑ์และขั้นตอนการคัดเลือก ETF ในแต่ละธีมตามเงื่อนไข ดังนี้

  1. จัดอันดับ ETF ที่มี AUM สูงสุด 5 อันดับแรกของธีมนั้นๆ
  2. เลือก ETF ที่มี AUM สูงที่สุดลำดับแรก โดยมีค่า Expense Ratio ต่ำที่สุดด้วย
  3. ในกรณีที่ราคาซื้อขายของ ETF ที่ถูกเลือกสูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วย จะพิจารณา 5 อันดับถัดไปแทน และเลือกตามข้อ 2 ต่อไป
  4. ETF ที่ได้มาจะนำไปพิจารณาความเหมาะสมในเรื่องความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ก่อนจะนำมาลงทุนจริง โดยในปีแรกที่เสนอขายกองทุน จะตั้งไว้ที่สภาพคล่องเฉลี่ย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

Jitta Wealth จะบริหารกองทุนด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะปรับสัดส่วนการลงทุนให้กลับมาอยู่ในสัดส่วนที่ตั้งไว้ เมื่อมูลค่าของธีมปรับเปลี่ยนอย่างน้อย 5% ของสัดส่วนที่ตั้งไว้ หรือเมื่อครบกำหนดการปรับสัดส่วน 1 ปี นับจากวันที่มีการปรับสัดส่วนครั้งล่าสุด

Q: หากลงทุนใน Thematic ได้ผลตอบแทนมากพอแล้ว ควรย้ายไป Jitta Ranking หรือไม่

ถ้าลงทุนใน Thematic แล้วได้ผลตอบแทนดี แนะนำให้แบ่งเงินไปลงทุนใน Global ETF เพิ่มขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงให้มากที่สุด ทำให้สินทรัพย์ที่ลงทุนมีความมั่นคง ไม่หวือหวา แต่มีโอกาสเติบโตได้ในระยะยาว

แต่ถ้าหากเน้นการลงทุนระยะยาวและต้องการผลตอบแทนที่มากกว่า Global ETF ก็สามารถเปิดพอร์ต Jitta Ranking ได้ แต่ไม่ควรเป็นเงินลงทุนทั้งหมด หรือเงินลงทุนส่วนใหญ่ที่มี

Q: อยากให้ Jitta Wealth นำเสนอพอร์ต 4 ธีม ที่ผันผวนน้อย ทั้งช่วงก่อนเจอวิกฤตเศรษฐกิจ และช่วงเจอวิกฤตเศรษฐกิจ เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกธีม 

วิกฤตเศรษฐกิจแต่ละครั้งเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน แต่ละครั้งก็กระทบอุตสาหกรรม หรือกลุ่มธุรกิจที่แตกต่างกัน เช่น ช่วงวิกฤต Dot Com หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีก็จะตกกันหมด ในทางกลับกันช่วงวิกฤต Covid-19 ที่ผ่านมาหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเติบโตขึ้นสูงมาก พอร์ตลงทุน 4 ธีมที่ผันผวนน้อยใน 2 วิกฤตนี้ ก็จะเป็นคนละแบบกันโดยสิ้นเชิง หากนำเสนอ ก็อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ว่า 4 ธีมดังกล่าวจะสามารถก้าวผ่านวิกฤตทุกวิกฤตได้แบบไม่ขาดทุน

นอกจากนี้ ทุกธีมที่มีให้เลือกตอนนี้ก็เป็นธีมที่น่าสนใจในอนาคต เลือกมาให้เข้ากับสถานการณ์ และ เทรนด์การลงทุนช่วงนี้อยู่แล้ว เช่น หุ้นคลาวด์ เทคโนโลยี เทคโนโลยีท่องเที่ยว สุขภาพ หรือกัญชา ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาหุ้นเหล่านี้ผันผวนน้อยมาก และเป็นเทรนด์ขาขึ้นยาวๆ แต่ในอนาคตอาจจะสร้างผลตอบแทนอีกแบบ หรือผันผวนมากขึ้นก็ได้ หากเจอวิกฤตที่แตกต่างออกไป

Q: เวลาเพิ่มทุน Jitta Wealth จะซื้อ ETF ตัวที่มีสัดส่วนน้อยในพอร์ตเพื่อให้เกิดความสมดุล ถ้า DCA ทุกเดือน พอร์ตก็แทบจะไม่ได้ปรับเลย แบบนี้จะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร

โดยรวมไม่มีผลเสียอะไร เพราะพอร์ตลงทุนของคุณมีการกระจายความเสี่ยงมากที่สุดตลอดเวลา ในบางเวลาคุณอาจจะรู้สึกขัดใจบ้าง ถ้าหากธีมตัวหนึ่งโตเร็วกว่าธีมอื่นๆ มาก แต่ Jitta Wealth ก็จะเติมเงินในธีมที่สัดส่วนน้อยๆ แทน หรืออาจจะไปเติมในธีมที่ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว หลักการนี้เงินก็จะไม่ไปอยู่ในธีมใดธีมหนึ่งมากเกินไป ลดความเสี่ยงที่พอร์ตลงทุนจะติดลบ กรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาและธีมใดธีมหนึ่งราคาร่วงลงมาอย่างรวดเร็ว


ขั้นตอนการลงทุนและการติดตามพอร์ตลงทุน

Q: ถ้าลงทุนครั้งเดียวก้อนใหญ่ ไม่เพิ่มทุน ผลตอบแทนจะดีหรือแย่กว่า DCA อย่างไร 

ถ้าในระยะยาวเศรษฐกิจโลกยังคงค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างที่เคยเป็นมา การลงทุนแบบไม่ DCA จะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่ในระยะสั้น หรือกลาง คุณไม่รู้ว่าเงินลงทุนเริ่มต้นจะได้ไปลงในจุดที่ราคาหุ้นสูงหรือต่ำ ทำให้ผลตอบแทนระยะสั้นอาจจะไม่เป็นที่น่าพอใจ 

ดังนั้นการ DCA จึงเป็นการกระจายเงินลงทุนของคุณให้ได้ลงในจุดที่ราคาแตกต่างกัน เป็นการเฉลี่ยต้นทุน โอกาสที่พอร์ตลงทุนติดลบก็น้อยลง ช่วงขาขึ้น พอร์ตลงทุนก็ฟื้นตัวได้เร็วกว่า และการ DCA ก็เป็นการสร้างวินัยการลงทุนที่ดีด้วย 

หากมีเงินก้อนใหญ่และไม่ยาก DCA กองทุนส่วนบุคคล Global ETF จะตอบโจทย์ เพราะพอร์ตลงทุนจะค่อยๆ เติบโตในระยะยาว ไม่จำเป็นทยอยแบ่งลงทุนทุกเดือน ไม่ต้องค่อยจับจังหวะลงทุน

หากเป็นการลงทุนในหุ้นและ ETF แบบ Jitta Ranking และ Thematic มีความผันผวนด้านราคาสูง การ DCA เป็นการกระจายการลงทุนในทุกจังหวะตลาด ดีกว่ามาคาดเดาภาวะตลาด หรือคิดว่า ต้องลงทุนก่อนหรือหลังวิกฤต 

Q: มูลค่าพอร์ตลงทุนบนแอปพลิเคชัน Jitta Wealth จะดีเลย์ไปประมาณ 1-2 วัน ในอนาคตจะสามารถพัฒนาให้แสดงผลแบบ Real Time ได้หรือไม่

เนื่องจาก Jitta Wealth ใช้ข้อมูลราคา ณ สิ้นวันมาคำนวณมูลค่าพอร์ตลงทุนของคุณ และคำนวณทางบัญชี ทำให้แสดงผลช้าอย่างน้อย 1 วัน และอาจเป็น 2 วันสำหรับตลาดต่างประเทศ ตามมาตรฐานการรายงาน NAV ตามปกติของกองทุน

โอกาสที่จะแสดงข้อมูลพอร์ตแบบ Real Time อาจมีได้ในอนาคต แต่ไม่น่าจะในอนาคตอันใกล้นี้

Q: เมื่อครบกำหนดระยะเวลาลงทุนที่ตั้งไว้แล้ว ผลตอบแทนของ Jitta Wealth ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง จะมีทางเลือกอะไรบ้าง

ผลตอบแทนที่แสดงบนเว็บไซต์ และสื่อต่างๆ ของ Jitta Wealth เป็นผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้จากการพิจารณาข้อมูลย้อนหลัง ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคตได้ 

นอกจากนี้ การลงทุนกับ Jitta Wealth ไม่ว่าจะนโยบายใดๆ ก็มีหุ้นเป็นส่วนประกอบของพอร์ต จึงไม่สามารถรับรองผลตอบแทนได้ว่าระยะสั้น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี จะเป็นเท่าไร จะเท่ากับผลตอบแทนในอดีตที่ได้แสดงไว้หรือไม่ ในแต่ละปี ผลตอบแทนที่ได้รับจริงอาจจะมากหรือน้อยกว่าที่แสดงไว้ก็เป็นได้ 

ทางที่ดี คุณควรแบ่งเงินลงทุน กระจายความเสี่ยงลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท และเน้นลงทุนระยะยาว ในกรณีที่ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง พอร์ตก็ยังไม่ขาดทุนหนักๆ

Q: Jitta Wealth สามารถลดระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่โอนเงินลงทุน แลกเงิน ฝากตัวกลาง จนซื้อหลักทรัพย์สำเร็จ ให้สั้นลง เหลือภายใน 1 วันทำการ ได้หรือไม่ หรือผู้ลงทุนอาจฝากเงินลงทุนไว้ก่อน Jitta Wealth รอผู้ลงทุนแจ้งว่าจะให้ซื้อวันไหน เวลาใด สามารถทำได้หรือไม่

ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น ด้วยข้อจำกัดปัจจุบัน ที่ต้องดำเนินการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ และ Time Zone ที่ต่างกัน ทำให้การเข้าซื้อ และสรุปยอดทางบัญชีให้ถูกต้องทั้งสองฝ่าย ใช้เวลาพอสมควร เราจึงยังไม่สามารถดำเนินการเร็วได้มากกว่านี้ นอกจากนี้ ทางทีมงานก็ไม่สามารถรับรองได้ว่า หากคุณโอนเงินเข้ามารอล่วงหน้า แล้วเราจะสามารถดำเนินการให้ได้เร็วตรงกับที่คาดหวังหรือไม่

ทั้งนี้ เราจะพยายามปรับปรุงระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง และจะพยายามลดขั้นตอนการซื้อขายลงให้มากที่สุด เพื่อที่จะลดระยะเวลาดำเนินการเหล่านี้ลงในอนาคต


ภาษีและปันผล

Q: ลงทุนต่างประเทศกับ Jitta Wealth ต้องเสียภาษีอย่างไรบ้าง

หากคุณเป็นคนไทย ปัจจุบันไม่ต้องเสียภาษี Capital Gain ในสหรัฐฯ และถ้านำเงินกลับเข้าประเทศคนละปีปฏิทินกับวันที่ขายสินทรัพย์ เช่น ขายวันที่ 31 ธ.ค. และนำเงินเข้าประเทศวันที่ 10 ม.ค. ปีถัดไป) ก็จะไม่เสียภาษีในไทย การวางแผนนำเงินกลับเข้าประเทศไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการลงทุนต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม หากคุณนำเงินเข้าประเทศในปีปฏิทินเดียวกันกับที่ขายสินทรัพย์ จะต้องนำกำไรที่ได้มาคำนวณภาษีร่วมกับรายได้ส่วนอื่นๆ ด้วย

ทั้งนี้ ขอให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีโดยตรง จะให้คำตอบที่เหมาะสมกับสถานะทางการเงินและการเสียภาษีของคุณได้ดีกว่า

Q: ปันผลที่ถูกนำไปลงทุนต่อ (Reinvest) ต้องเอาไปยื่นจ่ายภาษีหรือไม่

หากเป็นการลงทุนในไทย ปันผลที่ได้รับจะถูกหัก ณ ที่จ่าย 10% ไปแล้ว คุณสามารถนำไปยื่นขอเครดิตภาษีหรือไม่ก็ได้ ถ้ายื่นก็ต้องยื่นทั้งหมด รวมปันผลจากการลงทุนหุ้นในพอร์ตส่วนตัวด้วย หรือ ถ้าไม่ยื่นก็ต้องไม่ยื่นทั้งหมด

โดยหลักคิดง่ายๆ คือ ถ้าคุณเสียภาษีในฐานที่ต่ำกว่า 20% ให้ลองคำนวณดูว่า ถ้ายื่นแล้วคุณจะได้เครดิตภาษีคืนไหม ถ้าได้คืนก็ยื่น แต่ถ้าเสียภาษีในฐานที่สูงกว่า 20% ส่วนมากมักจะไม่ได้เครดิตภาษีคืน ก็ไม่ควรยื่น

ทั้งนี้ ขอให้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีโดยตรง จะให้คำตอบที่เหมาะสมกับสถานะทางการเงินและการเสียภาษีของคุณได้ดีกว่า

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีการลงทุนต่างประเทศได้ที่นี่ 


การลงทุนกับสถานการณ์ตลาด

Q: ‘Sell in May and Go Away’ จะกระทบพอร์ตลงทุน Jitta Wealth หรือไม่ แล้ว Jitta Wealth จะปรับตัวอย่างไร

การทำ Window Dressing ช่วงเดือนพ.ค. อาจจะมีอยู่จริง แต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นทุกปี โอกาสอย่างมากก็ 50% และไม่มีผลระยะยาว Jitta Wealth จึงไม่จับจังหวะ หรือพยายามคาดการณ์ตลาด เพราะการจับจังหวะไม่อาจทำได้ถูกต้องเสมอไป แต่จะเน้นทำตาม Winning Strategy นั่นคือ

  • ลงทุนในสินทรัพย์ที่ดี มีโอกาสเติบโตในระยะยาว
  • กระจายความเสี่ยงในพอร์ตลงทุนอย่างเหมาะสม
  • ลงทุนหรือเพิ่มทุนอย่างสม่ำเสมอ 

เพราะโอกาสสร้างผลตอบแทนดีระยะยาวมีสูงกว่า 

Q: ถ้าประเทศไทยบริหารการเงินล้มเหลว เงินที่ลงทุนกับ Jitta Wealth จะปลอดภัยหรือไม่

ปลอดภัย เพราะสินทรัพย์ที่คุณลงทุนจะอยู่ในชื่อกองทุนส่วนบุคคลของคุณ คุณยังคงมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์เหล่านั้น และมี Custodian (ผู้รับฝากทรัพย์สิน) คอยดูแลให้

สำหรับนโยบาย Thematic หรือ Global ETF ที่ลงทุนใน ETF บนกระดานตลาดหุ้นสหรัฐฯ และมีการกระจายลงทุนในหลักทรัพย์ทั่วโลก ยิ่งสบายใจได้ว่า หากไทยบริหารเงินล้มเหลวอย่างไร เงินลงทุนของคุณก็จะไม่ได้รับผลกระทบจนเสียหาย

แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น คุณสามารถถอนเงินหรือปิดบัญชี Jitta Wealth ได้ตลอดเวลา

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด