เมื่อ E-commerce เติบใหญ่ โอกาสลงทุนอยู่ไหนบ้าง?

23 พฤศจิกายน 2563Stock Analysis

คุณรู้ไหมว่า ‘วันคนโสด’ หรือเทศกาล 11.11 ที่ผ่านมา บริษัทอีคอมเมิร์ซต่างๆ กอบโกยรายได้กันไปเท่าไหร่?

ในขณะที่ไวรัส ‘Covid-19’ ยังระบาดไม่หยุด การปิดเมืองล็อกดาวน์กลับมาอีกครั้งในยุโรปและสหรัฐฯ และเศรษฐกิจประเทศไทยยังไม่ฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวที่หดหาย…

Alibaba กลับได้ยอดขายสินค้า (Gross Merchandise Volume – GMV) แคมเปญ 11.11 ไปร่วม 498,200 ล้านหยวน หรือ 74,100 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

แถมในช่วง 11 วันที่มีแคมเปญ ระบบอีคอมเมิร์ซของ Alibaba ต้องรองรับกว่า 583,000 คำสั่งซื้อต่อวินาทีในช่วงพีค และ Cainiao Network ที่เป็นระบบโลจิสติกส์ของ Alibaba เอง ต้องส่งสินค้ากว่า 2,320 ล้านคำสั่งซื้อ (1)

ฝั่งสหรัฐอเมริกาก็ไม่น้อยหน้า อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ อย่าง Amazon ก็มีแคมเปญ Prime Day ช่วงวันที่ 13-14 ตุลาคมที่ผ่านมา ทุ่มงบกว่า 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนผู้ค้ารายกลางและรายเล็กให้สามารถขายสินค้าได้ 

ซึ่ง Amazon บอกว่า ร้านค้าบนแพลตฟอร์ม Amazon รวมทั้งผู้ค้ารายกลางและรายเล็ก สร้างยอดขายในช่วง 2 วันในแคมเปญ Prime Day กว่า 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ขนาด Amazon บอกว่าช่วยสมาชิก Prime ทั่วโลกประหยัดเงินไปตั้ง 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว ก็ยังทำยอดขายได้เยอะขนาดนี้ (2)

ต้องบอกว่า ความต้องการช็อปปิ้งของคนเรา แม้แต่ ‘Covid-19’ ก็หยุดไม่ได้จริงๆ

นั่นก็เพราะพื้นฐานพฤติกรรมมนุษย์อย่างหนึ่งคือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนนั่นเอง

และตั้งแต่คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ บทบาทของ ‘อีคอมเมิร์ซ’ ก็มีเพิ่มมากขึ้นด้วย

โดยเฉพาะปี 2563 ที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับโรคระบาดครั้งใหญ่ ‘Covid-19’ ทำให้เกือบทุกประเทศต้องประกาศล็อกดาวน์ เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาด ทุกคนตกอยู่ในสภาวะออกจากบ้านไม่ได้ และต้องเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)

แต่ความต้องการซื้อสินค้าต่างๆ ยังมีอยู่ ผลักดันให้อีคอมเมิร์ซ ‘แจ้งเกิด’ อย่างจริงจัง  

เพราะ Covid-19 เร่งให้คนหันมาช็อปปิ้งออนไลน์กันมากขึ้น ในประเทศไทยเอง ความสนใจอีคอมเมิร์ซในเดือนพฤษภาคม 2563 ก็เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าถึง 63% (3) การวิจัยของ Google ร่วมกับ Temasek และ Bain & Company อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเติบโตขึ้นถึง 81% ปีนี้ ช่วยชดเชยการหดตัวของภาคการท่องเที่ยวได้ระดับหนึ่ง ทั้งยังคาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทะลุ 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568 (4)

ยิ่งมีกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อกระตุ้นการช็อปปิ้งจากจีนแผ่นดินใหญ่อย่าง 11.11 ที่ขยายมาเป็น 12.12 1.1 2.2 ฯลฯ โปรโมชันลดแลกแจกแถมครั้งยิ่งใหญ่ประจำทุกเดือน จนขาช็อปถึงกับเฝ้ารอหน้าจอโทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ เพื่อรีบกดสั่งซื้อสินค้าราคาพิเศษ ทำให้อีคอมเมิร์ซแทบจะฝังอยู่ในวิถีชีวิตผู้คนยุคนี้แทบแยกออกจากกันไม่ได้

รู้จักกับ ‘อีคอมเมิร์ซ’

‘อีคอมเมิร์ซ’ ชื่อเต็มว่า Electronic Commerce หรือ ในภาษาไทยบัญญัติศัพท์ว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เริ่มมีการพูดถึงมาตั้งแต่ปี 2514 ในยุคที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตกำลังถูกพัฒนาในหมู่ทหารสหรัฐฯ และเริ่มกระจายเข้าสู่หลายๆ ประเทศในยุโรป มีการให้คำจำกัดความรูปแบบการซื้อขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น B2B (Business-to-Business) B2C (Business-to-Customer) หรือ C2C (Customer-to-Customer)

เมื่อถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นโอกาสของอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ ทั้ง Amazon หรือ eBay นั้น ในปี 2538 ขณะที่ Alibaba จากฝั่งจีนนั้น ให้บริการในปี 2542 (5)

วงจรอีคอมเมิร์ซไม่ได้จำกัดอยู่แค่ยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์อย่างที่เราได้กล่าวถึงเท่านั้น เพราะการซื้อขายผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เจ้าของแบรนด์และร้านค้าให้บริการกับผู้ซื้อโดยตรง หรือผู้ค้ารายเล็กๆ เปิดร้านขายออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย ก็นับว่าเป็นรูปแบบของอีคอมเมิร์ซได้เหมือนกัน

คำกล่าวของ Jean-Paul Agon (ฌอง-พอล แอกง) ซีอีโอของแบรนด์เครื่องสำอางระดับโลกอย่าง L’Oréal (ลอรีอัล) พูดเมื่อปี 2559 หลังจากที่ลอรีอัลลงทุนกำลังคนและพัฒนาระบบดิจิทัลอย่างจริงจัง ว่า “E-commerce isn’t the cherry on the cake, it’s the new cake” เราขยายความจากมุมมองของผู้บริหารว่า อีคอมเมิร์ซไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่งของธุรกิจค้าขายแบบเดิม แต่เป็นธุรกิจใหม่ ที่มีส่วนจะสร้างยอดขายและกำไรให้เติบโตได้ในอนาคต

แอกงมองว่า อีคอมเมิร์ซไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้เสริมอีกต่อไป แต่จะเป็นเครื่องยนต์ชิ้นใหม่ที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจค้าขาย Consumer Product อย่างลอรีอัลมีรายได้เติบโตในระยะยาว (6)

เราเชื่อว่า ในยุคที่ทุกอย่างอยู่บนดิจิทัลแบบนี้ ไม่มีซีอีโอคนไหนจะปฎิเสธโอกาสทางธุรกิจอย่าง ‘อีคอมเมิร์ซ’ แน่นอน

เม็ดเงินมหาศาลจาก ‘อีคอมเมิร์ซ’

เราได้รวบรวมข้อมูลจาก Statista บอกว่า ปี 2562 ผู้คนกว่า 1,920 ล้านคนทั่วโลก ใช้บริการซื้อสินค้าออนไลน์ หรือ ‘อีคอมเมิร์ซ’ ส่งผลให้ในปีเดียวกันยอดขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์สูงกว่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (7)

ข้อมูลไทม์ไลน์ใน Wikipedia บอกว่า ปี 2542 มูลค่าการขายสินค้าออนไลน์อยู่ที่ 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นั่นหมายความว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ‘อีคอมเมิร์ซ’ โตอย่างก้าวกระโดดมากกว่า 23 เท่าเลยทีเดียว

ไม่เพียงเท่านั้น ตลาดซื้อขายออนไลน์ หรือ E-marketplace อย่าง Amazon eBay และ Alibaba กินส่วนแบ่งของคำสั่งซื้อออนไลน์ไปเกือบ 50% ทั่วโลก (8) 

e-commerce_theme-05.png

สำหรับปี 2563 Statista บอกว่า ยอดขายสินค้าออนไลน์ทั่วโลกอยู่ที่ 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.4% จากปีที่ผ่านมา และ 2.45 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐมาจากโซนเอเชียแปซิฟิก โดยมีจีนเป็นตลาด ‘อีคอมเมิร์ซ’ ใหญ่ในภูมิภาคนี้ ส่วนโซนอเมริกาเหนือมีมูลค่า 749,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (9)

ในปีเดียวกัน ผู้คน 2,050 ล้านคนทั่วโลกจะใช้ระบบ ‘อีคอมเมิร์ซ’ ในการซื้อสินค้า เพิ่มขึ้น 6.8% จากปี 2562

ส่วนในปี 2564 คาดการณ์ว่า ผู้ซื้อ 2,140 ล้านคนทั่วโลกจะเลือกใช้บริการซื้อออนไลน์ เพิ่มขึ้นอีก 4.4% จากปีก่อน และอัตราการเข้าถึง ‘อีคอมเมิร์ซ’ ของผู้ซื้อทั่วโลกในปีหน้า คาดว่า จะสูงกว่า 65% เพิ่มจาก 63% ในปี 2562 (10)

Statista อธิบายว่า การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์กลายเป็นพฤติกรรมปกติของผู้คนทั่วโลก บางคนเลือกที่จะซื้อสินค้าออนไลน์ เพราะสะดวกสบายกว่าและประหยัดเวลา ขณะที่บางคนก็เลือกซื้อผ่าน ‘อีคอมเมิร์ซ’ เพราะมีราคาที่ดีกว่าหรือถูกกว่าซื้อช่องทางอื่น

นอกจากนี้ผู้ซื้อยังสามารถถูกชักจูงให้ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านข้อมูลต่างๆ ในโลกดิจิตอลด้วยเช่นกัน ผ่านอีเมล์หรือการรีวิวสินค้า (11)

สำหรับผู้ซื้อไทยก็ตอบสนองต่อการซื้อขายออนไลน์ไม่แพ้ชาติอื่นๆ โดยคาดว่า ปี 2563 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 220,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.7% จากปี 2562 ที่มูลค่า 163,300 ล้านบาท (12)

แม้ว่า การแพร่ระบาดของ Covid-19 จะเป็นตัวเร่งสำคัญให้เกิดการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพราะผู้คนออกไปไหนไม่ได้ในช่วงล็อกดาวน์ และไม่อยากออกจากบ้านให้เสี่ยงติดเชื้อ เมื่อคลายล็อกดาวน์แล้ว ผู้ซื้อก็ยังคงพึ่งพาช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้าต่างๆ

ไม่เพียงเท่านั้น โลกของ ‘อีคอมเมิร์ซ’ ยังสร้างผลบวกแก่ธุรกิจโลจิสติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า และการขนส่งในรูปแบบต่างๆ จะเห็นได้จากจำนวนผู้ให้บริการขนส่งพัสดุในไทยที่มีหน้าใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ที่จะแข่งขันกันด้วยราคาค่าขนส่ง ความรวดเร็วในการส่งถึงมือผู้รับ และบริการชำระเงินปลายทาง (Cash on Delivery – COD) เรียกได้ว่า ‘อีคอมเมิร์ซ’ สร้างสมรภูมิเดือดให้แก่ธุรกิจโลจิสติกส์ ผลดีก็ตกไปอยู่กับผู้บริโภค เพราะมีทางเลือกหลากหลายมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่ได้แรงส่งจาก ‘อีคอมเมิร์ซ’ คือ กลุ่มผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษและพลาสติกสำหรับขนส่ง และกลุ่มระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-payment เรียกได้ว่า การซื้อขายสินค้าออนไลน์ได้สร้างซัพพลายเชนกลุ่มใหญ่ๆ และยังมีช่องว่างในการเติบโตไปทั่วโลก

ดูๆ แล้ว ‘อีคอมเมิร์ซ’ มีการแข่งขันกันสูง แต่ยังมีโอกาสเติบโตอีกในอนาคต เป็นเมกะเทรนด์ที่น่าจับตา จากทั้งฝั่งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ในเมื่อทุกอย่างอยู่บนโลกดิจิทัล ทุกธุรกิจหันมาพึ่งพาระบบออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ ที่สำคัญคือ พฤติกรรมของผู้ซื้อทั่วโลกยุคนี้ ต่างผูกติดการซื้อสินค้าออนไลน์ไปแล้ว

โอกาสลงทุนของ ‘อีคอมเมิร์ซ’

หากคุณไม่อยากตกขบวนเมกะเทรนด์อย่าง ‘อีคอมเมิร์ซ’ และมองว่า มีโอกาสเติบโตในอนาคต ปัจจุบันมีทั้งการลงทุนในหุ้นรายตัวอย่าง Alibaba บนกระดาน NYSE และ Amazon กับ eBay บนกระดาน Nasdaq ซึ่งทั้ง 2 ตัวยังอยู่ในดัชนี Nasdaq-100 และ S&P 500 ด้วย แค่ลงทุนใน 3 บริษัทนี้ ก็กินส่วนแบ่งคำสั่งซื้อออนไลน์เกือบ 50% ทั่วโลกแล้ว

แต่ถ้าคุณอยากคว้าโอกาสการเติบโตของหุ้นบริษัทด้าน ‘อีคอมเมิร์ซ’ ทั่วโลก เราอยากให้คุณลงทุนในกองทุน ETF (Exchange Traded Fund) ที่มีการจัดพอร์ตลงทุนในบริษัทที่ทำธุรกิจค้าขายออนไลน์และอีมาร์เก็ตเพลสที่หลากหลาย ผ่านกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth Thematic ที่ให้คุณเลือกลงทุนธีม ‘อีคอมเมิร์ซ’ ลงทุนในกองทุน ProShares Online Retail ETF (ONLN)

พอร์ตลงทุนของ ONLN มีทั้ง Alibaba Amazon และ eBay แต่ยังลงทุนในธุรกิจอีคอมเมิร์ซในสหรัฐอเมริกาที่เป็นสินค้าเฉพาะด้านอย่าง Overstock (เฟอร์นิเจอร์) Wayfair (เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน) Chewy (สินค้าสัตว์เลี้ยง) Etsy (สินค้าวินเทจและงาน Craft) Stamps.com (แสตมป์ออนไลน์) และ GrubHub (บริการส่งอาหาร)

นอกจากนี้ ONLN ยังมีลงทุนในอีคอมเมิร์ซรายอื่นๆ ในจีนอย่าง JD.com และ Pinduoduo รวมทั้งผู้ให้บริการคลังภาพถ่ายอย่าง Shutterstock รวมแล้วในพอร์ตลงทุนของ ONLN มีอยู่ 26 บริษัททั่วโลก อยู่ในสหรัฐฯ 74.21% ของมูลค่า NAV และอยู่ในจีน 20.99%

ONLN จะลงทุนให้ผลตอบแทนเป็นไปตามดัชนีอ้างอิง ProShares Online Retail Index® โดยที่ผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนอยู่ที่ 89.87% และ Year-to-Date อยู่ที่ 74.02% (13)

สิ่งที่ทำให้การลงทุนใน ‘อีคอมเมิร์ซ’ ผ่าน Jitta Wealth Thematic เหนือกว่าการลงทุนโดยตรงในกองทุน ETF ซื้อหุ้นรายตัวด้วยตนเอง หรือลงทุนผ่านกองทุนรวมทั่วไป คือ เริ่มต้นด้วยเงินลงทุนเพียง 100,000 บาท คุณสามารถจับคู่ลงทุนกับธีมการลงทุนอื่นๆ ได้สูงสุดถึง 5 ธีม ในพอร์ตลงทุนเดียวกัน เช่น เทคโนโลยี สุขภาพ ระบบคลาวด์ หรือฟินเทค เพื่อกระจายความเสี่ยง เพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนจากหลายๆ อุตสาหกรรมเมกะเทรนด์ และลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนด้วย

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth Thematic ศึกษา หรือติดต่อสอบถามได้ที่เว็บไซต์ https://jittawealth.com/thematic

อ้างอิง

  1. Alibaba Generates RMB498.2 billion (US$74.1 billion) in GMV during the 2020 11.11 Global Shopping Festival https://www.alibabagroup.com/en/news/article?news=p201112
  2. Amazon Prime Day 2020 Marked the Two Biggest Days Ever for Small & Medium Businesses in Amazon’s Stores Worldwide https://press.aboutamazon.com/news-releases/news-release-details/amazon-prime-day-2020-marked-two-biggest-days-ever-small-medium
  3. How 5-year-old startup Shopee is leading e-commerce growth in Southeast Asia https://www.businessinsider.com/shopees-digital-inclusion-strategy-e-commerce-growth-in-southeast-asia-2020-11
  4. L’Oreal CEO – ‘E-commerce isn’t the cherry on the cake, it’s the new cake’ https://diginomica.com/loreal-ceo-e-commerce-isnt-the-cherry-on-the-cake-its-the-new-cake
  5. E-commerce worldwide – statistics & facts https://www.statista.com/topics/871/online-shopping
  6. Distribution of online purchases worldwide as of July 2019, by channel https://www.statista.com/statistics/861336/share-online-shopping-customers-vs-sales-by-platform
  7. Digital buyer penetration worldwide from 2016 to 2021 https://www.statista.com/statistics/261676/digital-buyer-penetration-worldwide
  8. Number of digital buyers worldwide from 2014 to 2021(in billions) https://www.statista.com/statistics/251666/number-of-digital-buyers-worldwide
  9. จับจ่ายพุ่ง จัดส่งเพิ่ม สรุปสถิติ E-Commerce ไทยปี 2020 และแนวโน้มปี 2021 https://creativetalklive.com/thailand-e-commerce-statistics-2020
  10. ProShares Online Retail ETF

อ่าน Blog ที่เกี่ยวข้อง

ตระเวนหาโอกาสลงทุนกับหุ้นจีน (ตอนที่ 5)

‘ตลาดหุ้นสหรัฐ’ โตไม่หยุด ฉุดไม่อยู่

บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด