9 เหตุผลว่าทำไม ‘หุ้นญี่ปุ่น’ ถึงโต 9 เด้ง ไม่ลงทุน ไม่ได้แล้ว

27 กรกฎาคม 2565Jitta Ranking

หากพูดถึงการลงทุน ประเทศแรกที่คุณคิดถึงคือประเทศอะไร 

แน่นอนว่า นักลงทุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือฉมัง ก็คงตอบได้ไม่หนีกันมาก ไม่ว่าจะเป็น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ​ ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วที่ยังกระปรี้กระเปร่าเหมือนคนหนุ่มสาวอยู่เสมอ 

หรือหากถ้าคุณรู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง ตลาดหุ้นกำลังพัฒนาแต่เป็นอีกหนึ่งประเทศมหาอำนาจของโลกอย่างจีนก็ย่อมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคุณ หรือจะเป็นตลาดหุ้นเวียดนามที่กำลังมีเสน่ห์น่าค้นหา ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้าไปได้เรื่อยๆ ก็น่าสนใจ 

หรือหากใครอยากอยู่ใน Safe zone สักหน่อย การลงทุนในตลาดหุ้นไทย ก็ยังเป็นอีกตัวเลือกยอดนิยมอยู่ 

แต่ถ้าใครสักคนพูดถึง ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เชื่อได้เลยว่าหลายคนคงขมวดคิ้วด้วยความสงสัยว่า อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ ‘หุ้นญี่ปุ่น’ น่าสนใจ Jitta Wealth ไปสำรวจค้นคว้าจนเจอกับ ‘9 เหตุผล และสิ่งที่น่าสนใจในตลาดหุ้นญี่ปุ่น’ ที่ดัน Backtest ของเราสู่ ‘กำไร 9 เด้ง’ มาให้คุณแล้วในบทความนี้ 

9 เหตุผล ทำไม ‘หุ้นญี่ปุ่น’ ไม่ควรมองข้าม 

  1. หุ้นดี ราคาน่าคบ  

หากเป้าหมายของคุณคือการมองหา ‘หุ้นดี ราคาน่าคบหา’ หลายคนคงเลือกที่จะมองข้ามตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว (Developed Market) ไป และเริ่มมองหาหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้นกำลังพัฒนา (Emerging Market) แทน แต่นี่ถือเป็น จุดเด่นของหุ้นญี่ปุ่น ที่หลายคนมองข้าม 

รู้หรือไม่ว่า ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเป็นตลาดที่รวมรวบหุ้นดีราคาถูกเอาไว้มากกว่าที่คุณจะจินตนาการ และช่วยลบความเข้าใจผิดที่ว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมักมีแต่หุ้นราคาแพงเท่านั้น 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเป็นตลาดแรร์ไอเทม มีหุ้นอยู่หลายตัวที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร (Price to Earning Ratio หรือ PE) เฉลี่ยต่ำกว่า 10 เท่าอยู่เยอะมาก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นพัฒนาแล้วอื่นๆ

PE ratio เป็นตัวบ่งบอกว่า หากคุณซื้อหุ้นตัวนี้ในราคานี้ คุณจะได้ทุนคืนในอีกกี่ปีหากบริษัทยังทำกำไรเท่าเดิม หรืออีกนัยหนึ่ง การนำ ‘ราคาหุ้นหารด้วยกำไรต่อปี’ แล้วดูว่าราคาเป็นกี่เท่าของกำไร หากตัวเลข PE ยิ่งต่ำ หุ้นก็จะถูกมองว่าถูก ซึ่งเป็นวิธีที่นักลงทุนหลายคนใช้คัดหุ้นราคาถูกมาเก็บไว้ในครอบครอง

  1. กำไรแข็งแกร่งที่สุดในเอเชีย 

ไม่ใช่เพียงเท่านั้น… ในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา บทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนระดับโลกหลายแห่งก็มีมุมมองไปในทิศทางเดียวกันว่า ‘ตลาดหุ้นญี่ปุ่น’ มีแนวโน้มจะทำกำไรเติบโตได้สูงที่สุดในเอเชีย 

  • BlackRock บริษัทจัดการการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปรับน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นเป็น ‘Overweight’ หรือ ‘เพิ่มน้ำหนักการลงทุน’ จากทิศทางเชิงบวกของแนวโน้มเศรษฐกิจ กำไรสุทธิ อัตราการจ่ายปันผล การซื้อหุ้นคืนของบริษัทญี่ปุ่น ที่มีโอกาสทำสถิติสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ 
  • Morgan Stanley เจ้าของดัชนี MSCI แนะนำให้ลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพราะเป็นตลาดหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี สามารถเพิ่มผลตอบแทนเพื่อชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหุ้นอื่นๆ
  • Credit Suisse จัดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่ง เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นพัฒนาแล้วอื่นๆ 

แนวโน้มของกำไรที่แข็งแกร่งและพื้นฐานที่ดีของธุรกิจญี่ปุ่นตอกย้ำจุดเด่น ‘หุ้นดี ราคาน่าคบหา’ ที่หลายคนยังไม่รู้จัก หรือไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก

  1. เปิดพื้นที่ให้ธุรกิจทุกขนาด มีโอกาสเติบโต  

หากคุณเคยดูภาพยนต์แนวสารดีเรื่อง Jiro Dreams of Sushi ที่ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของคนที่หลงใหลการเป็นเชฟซูชิ คนที่อุทิศตนให้กับอาชีพเดียวมายาวนานถึง 70 ปี ถ่ายทอดนิยามของคนญี่ปุ่นที่อุทิศตนในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง

หรือต่อให้ไม่เคยดู ‘ความละเอียดอ่อน และเอาใจใส่’ ย่อมเป็นนิยามที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อพูดถึงคนญี่ปุ่นหรือการบริการต่างๆ ในญี่ปุ่น ซึ่งนิสัยตรงนี้เป็นสาเหตุให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางของประเทศญี่ปุ่นได้รับความนิยม และมีพื้นที่ในการเติบโต 

กว่า 99% ของบริษัทญี่ปุ่นทั้งหมดเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เพราะยิ่งบริษัทเล็กก็ยิ่งผลิตสินค้าและบริการได้ละเอียดลออมากขึ้นตามนิสัยคนญี่ปุ่น ยิ่งมีบริษัทเติบโตมากเท่าไหร่ ตัวเลือกในการลงทุนก็ยิ่งเยอะ แถมยังเพิ่มการแข่งขันให้ดุเดือดในตลาด เป็นผลดีต่อผู้บริโภค รวมไปถึงนักลงทุนด้วย

ใครชื่นชอบญี่ปุ่นก็คงจะเคยเห็นว่า ธุรกิจจำนวนมากของญี่ปุ่นมีขนาดเล็กก็จริง แต่เปิดกิจการได้อย่างยาวนาน ร้านที่เปิดมาเป็น 100 ปีสามารถหาได้ง่ายๆ เลย หากคุณไปเที่ยวญี่ปุ่น

  1. นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจใช้ได้จริง มีประสิทธิภาพ 

หากพูดถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น จะไม่พูดถึงนโยบาย Abenomics ก็คงไม่ได้ 

นโยบาย Abenomics เป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับการผลักดันโดยอดีตนายกรัฐมนตรี Shinzo Abe ผู้ล่วงลับ ประกอบไปด้วยนโยบายการเงิน การคลัง และการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เน้นส่งเสริมการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนของญี่ปุ่น กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ที่ 2% ต่อปี และมาตรการต่างๆ ที่ทำให้เงินเยนอ่อนค่าลง ตั้งอัตราดอกเบี้ยติดลบเพื่อกระตุ้นให้คนญี่ปุ่นเลิกเก็บเงินสด เป็นต้น 

สรุปคือ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายขั้นสุด นโยบายการคลังมุ่งเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการขุดรากถอนโคนขนมธรรมเนียมเดิมๆ ของญี่ปุ่นให้ทันสมัยและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นมากขึ้น

ผลก็คือ ปริมาณเงินมหาศาลในระบบกระตุ้นให้เกิดการลงทุน กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ก่อให้เกิดการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ กระตุ้นประสิทธิภาพของบริษัทญี่ปุ่น ทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง

  1. อัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่น 

ในปี 2564 เงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึง 10% ซึ่งเป็นผลดีต่อนักลงทุนที่ใช้เงินดอลลาร์เพราะได้หุ้นญี่ปุ่นไปในราคาถูก 

อัตราเงินเฟ้อเดือนล่าสุด (มิถุนายน 2564 – มิถุนายน 2565) ของญี่ปุ่นอยู่ที่ 2.2% ถือว่าอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาอาหารสดและค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ทำให้สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้น ขณะที่ธนาคารกลางของญี่ปุ่น (BOJ) ก็ยืนยันที่จะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป ทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงมากที่สุดในรอบกว่า 20 ปี เป็นผลดีกับบริษัทญี่ปุ่นที่เน้นการผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก 

  1. Digital Transformation ปุ๋ยเร่งโตให้บริษัทญี่ปุ่น 

อะไรคือ Digital Transformation?

Digital Transformation คือกระบวนการอย่างหนึ่ง ในการนำเทคโนโลยีมาสร้างสิ่งใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งเก่าให้เหมาะสมกับยุคดิจิทัล ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ประกอบไปด้วย

  • มิติทางกระบวนการธุรกิจขององค์กร 
  • มิติทางวัฒนธรรมองค์กร 
  • มิติด้านประสบการณ์ของลูกค้า 

T. Rowe Price บริษัทจัดการการลงทุนระดับโลกของอเมริกามองว่า บริษัทญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงการทำ Digital Transformation จากการสนับสนุนของรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเทคโนโลยี ‘AI’ ‘Internet of Things’ ในภาคการผลิตและ ‘Digital Technology’ ขั้นพื้นฐาน ทำให้ในอนาคตบริษัทญี่ปุ่นมีโอกาสที่จะทำกำไรได้สูงขึ้นด้วย 

ถึงแม้ในปัจจุบันข้อมูลจะระบุว่า บริษัทญี่ปุ่นมีสัดส่วนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพียง 28% เทียบกับสหรัฐฯ ที่สูงถึง 55% เนื่องจากวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมีความอนุรักษ์นิยมสูง แต่รัฐบาลญี่ปุ่นมีความมุ่งมั่นและสนับสนุนมาหลายปีกับการนำประเทศไปสู่ยุคสังคม 5.0 

การระบาดใหญ่ของ Covid-19 เป็นแรงผลักดันให้ทั้งภาครัฐและเอกชนเร่งตัวสู่การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัลด้วยแผนที่ชัดเจน เช่น การสร้างพื้นที่ไร้การแข่งขันทางธุรกิจ เปลี่ยนเป็นความร่วมมือกันของทุกขนาดธุรกิจ การปฎิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ สร้างความเข้าใจและมุมมองอันดีในการใช้เทคโนโลยีแทนมนุษย์

  1. ส่งออกยืนหนึ่ง กำไรโตตามเศรษฐกิจโลก

หากพูดถึงญี่ปุ่น เชื่อได้เลยว่านอกจากอาหารญี่ปุ่นจะเป็นที่โปรดปรานของใครหลายคน ในบ้านของทุกคนอย่างน้อยต้องมีสินค้า 1 ชิ้นที่เป็นของบริษัทญี่ปุ่น รวมไปถึงอุตสาหกรรมระดับโลกอย่างยานยนต์ด้วยเช่นกัน

หลายคนอาจจะมองว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศเล็ก การขายสินค้าต่างๆ คงทำได้ไม่เยอะมาก แต่ลืมนึกไปว่าคนทั่วโลกใช้สินค้าญี่ปุ่น บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากมีฐานการผลิตสินค้าในต่างประเทศเพื่อส่งออกสินค้าไปทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะสินค้าหมวดยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ

การแพร่ระบาดของ Covid-19 กระทบกับการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจริง แต่บริษัทญี่ปุ่นยังคงทำกำไรเติบโตได้ โดยกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นเปิดเผยตัวเลขมูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 สูงขึ้นกว่า 15.3% จากปีที่แล้ว ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้ จากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวและปัญหาห่วงโซอุปทานโลกที่เริ่มคลี่คลาย

  1. ประเทศมีศักยภาพ ชื่อเสียงด้านบวก

คุณรู้หรือไม่ว่า พาสปอร์ตของประเทศอะไรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก

ตามดัชนี Henley Passport Index ปี 2565 ระบุว่าพาสปอร์ตที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก คือ ญี่ปุ่น และ สิงคโปร์ ซึ่งสามารถเดินทางเข้าประเทศอื่นโดยไม่ต้องขอวีซ่าได้มากถึง 192 ประเทศทั่วโลก

แน่นอนว่า สิ่งนี้เป็นหนึ่งตัวชี้วัดถึงชื่อเสียงด้านบวกและความน่าเชื่อถือของคนญี่ปุ่นต่อนานาประเทศได้เป็นอย่างดี ยังไม่นับรวมเรื่องนิสัยหรือวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อในเรื่องความซื่อสัตย์ มีระเบียบวินัย และมุ่งมั่น ที่เมื่อพูดถึงญี่ปุ่นย่อมเป็นหนึ่งสิ่งที่ทุกคนนึกถึง 

แน่นอนว่าชื่อเสียงที่ดีนำมาซึ่งความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่สร้างขึ้นกันได้ง่ายๆ แต่ญี่ปุ่นแทบไม่ต้องพยายามอะไรเลย เพราะธรรมชาติของพวกเขามีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในตัวอยู่แล้วและจะคงอยู่แบบนี้ไปอีกนานแสนนาน 

  1. ‘Made in Japan’ ของดีที่ใครๆ ก็เชื่อมั่น  

หากมีสินค้าเหมือนกันมองกองรวมกันตรงหน้า แต่มีป้าย Made in … ไม่เหมือนกัน แน่นอนว่าป้าย Made in Japan ต้องเป็นชิ้นเนื้อหอมที่ใครๆ ก็อยากได้ แถมบางทีราคาสูงกว่าสินค้าที่เหมือนกันที่ Made in ประเทศอื่นๆ อีกด้วย

เพราะใจลึกๆ แล้ว หลายคนเชื่อในแบรนด์ของญี่ปุ่น ที่ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน 

สินค้าอย่างหนึ่งที่สามารถอธิบายได้ชัดเจนคือ Converse รุ่น Made in Japan ที่มีราคาสูงกว่ารุ่นที่ผลิตจากที่อื่นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีเหตุผลดังนี้ 

  • ความคุ้มค่า เพราะลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะและภูเขาสูง คนญี่ปุ่นจึงต้องการใช้ทรัพยากรของประเทศตัวเองอย่างรู้คุณค่าและคุ้มค่าที่สุด
  • คุณภาพแรงงานสูง คนญี่ปุ่นมีความละเอียดอ่อน ใส่ใจ รับผิดชอบ ทุกอย่างที่ใช้แรงงานการผลิตจากชาวญี่ปุ่นเอง จะส่งผลดีเรื่องคุณภาพสินค้า 
  • ข้อจำกัดมาก ผลิตได้น้อย สินค้าที่ผลิตจากโรงงานในญี่ปุ่นมีข้อจำกัด เนื่องจากพื้นที่ของประเทศมีน้อย การผลิตจึงต้องใช้วัสดุที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น และทำให้ผลิตได้น้อย ส่งผลให้สินค้ามีราคาสูงกว่าการผลิตจากที่อื่น

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ทำให้สินค้าญี่ปุ่นได้รับความวางใจจากทั่วโลก เรื่องคุณภาพที่ไม่เคยแพ้ใคร ความใส่ใจที่สร้างความประทับใจเสมอ


นี่คือ 9 เหตุผลที่ว่าทำไม ‘หุ้นญี่ปุ่น’ ถึงโต 9 เด้งได้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ไม่ค่อยมีใครนึกถึงหรือสนใจ แต่นี่แหละคืออีกหนึ่งแหล่งสมบัติที่ Jitta Wealth ไปค้นมาจนเจอ 

หากใครสนใจอยากลงทุนใน ‘ตลาดหุ้นญี่ปุ่น’ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร หรือจะไปค้นหุ้นดีในตลาดหุ้นนี้เจอได้อย่างไร Jitta Ranking ญี่ปุ่น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้คุณเป็นเจ้าของขุมสมบัติลึกลับนี้ได้ 

คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ Jitta Ranking ญี่ปุ่นได้ ที่นี่  หรือถ้าพร้อมแล้ว เริ่มต้นลงทุนได้ที่นี่ เปิดบัญชี


อ้างอิง 

  1. PE คือ อะไร? เลือกหุ้นอย่างไร ให้กำไร https://www.finnomena.com/bottomliner/how-to-use-pe/
  2. BlackRock ปรับเพิ่มมุมมอง “หุ้นญี่ปุ่น” น่าสนใจ แม้จะเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์ Covid-19 จากการจัดแข่งขันกีฬา Olympics https://www.mtsgold.co.th/th/research/detail.php?ID=24855&SECTION_ID=22
  3. BlackRock upgrade puts Japan top for bulls of 2022 recovery https://citywire.com/investment-trust-insider/news/blackrock-upgrade-puts-japan-top-for-bulls-of-2022-recovery/a1596573
  4. The S&P 500 could drop 6% next year and investors will find better returns in European and Japanese stocks, Morgan Stanley says https://markets.businessinsider.com/news/stocks/stock-market-outlook-2022-sp500-6-percent-drop-europe-japan-2021-11 
  5. Credit Suisse explains why Japan is its favorite developed market https://www.cnbc.com/2021/11/15/credit-suisse-explains-why-japan-is-its-favorite-developed-market.html
  6. SME Support Japan : Message from Chairman / CEO https://www.smrj.go.jp/english/about/
  7. Digital Transformation คืออะไร สำคัญอย่างไร https://teachme-biz.com/blog/digital-transformation/
  8. Digital Transformation in Japan https://www.eu-japan.eu/sites/default/files/publications/docs/Digital-Transformation-Japan-Assessing-opportunities-forEU-SMEs.pdf
  9. ญี่ปุ่น 5.0 การทลายกำแพง 5 ชั้น ของญี่ปุ่นเพื่อเข้าสู่ยุคของสังคม 5.0 https://www.salika.co/2018/08/28/japan-5-0-society-5-0/
  10. “หุ้นญี่ปุ่น” น่าสนใจอย่างไร แล้วทำไมถึงควรลงทุน? https://www.moneybuffalo.in.th/stock/how-interesting-are-japanese-stocks-so-why-should-you-invest
  11. ญี่ปุ่นเผย ส่งออกเดือน ธ.ค.โต 17.5% หลังปัญหาห่วงโว่อุปทานคลี่คลาย https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=WXgybkFoQkZ3RjA9
  12. “พาสปอร์ต” ทรงอิทธิพลที่สุด ทำไมต้องญี่ปุ่นและสิงคโปร์ https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/997140
  13. ทำไม สินค้า “Made in Japan” ถึงดูน่าเชื่อถือ          https://www.longtunman.com/38446 
  14. ญี่ปุ่นเผยเงินเฟ้อ มิ.ย.พุ่ง 2.2% หลังราคาสินค้า-พลังงานดีดตัว https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=RkZib3BGWXYvMmc9
  15. Japan Export – June 2022 Data – 1963 – 2021 Historical – July Forecast https://tradingeconomics.com/japan/exports
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
1111/9-10 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด
เนื้อหาทั้งหมดบนเว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด (“Jitta Wealth”) ผู้บริหารจัดการบัญชีกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth ที่ได้รับใบอนุญาตบริหารจัดการกองทุนประเภท ค เลขที่ ลค-0105-01 และดำเนินการภายใต้การกำกับ ดูแลของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) Jitta Wealth ให้บริการกองทุนส่วนบุคคลสำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ต้องการนำเงินมาลงทุนในตลาดทุน โดยใช้เทคโนโลยี AI วิเคราะห์หุ้นและกลยุทธ์การลงทุนที่จัดทำโดยบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด (“Jitta.com”) บริหารจัดการให้แบบอัตโนมัติ เพื่อผลตอบแทนระยะยาวที่สูงกว่าดัชนีตลาด การลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียกำไรหรือเงินต้น กลยุทธ์การลงทุนของ Jitta Wealth ใช้ข้อมูลวิเคราะห์หุ้นของ Jitta.com ซึ่งคิดคำนวณจากข้อมูลในอดีต อัตราผลตอบแทน การเปรียบเทียบหรือการจัดอันดับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนบนเว็บไซต์นี้เป็นสมมุติฐานทางสถิติจากข้อมูลที่มี เพื่อใช้ประกอบการอธิบายรายละเอียดบริการเท่านั้น ไม่สามารถใช้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตได้ สถานการณ์ในโลกที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะแง่บวกหรือแง่ลบ สามารถส่งผลกระทบ ต่อทั้งอุตสาหกรรมหรือกลุ่มธุรกิจ และอาจทำให้พอร์ตหุ้นที่มีการกระจายความเสี่ยงค่อนข้างมากแล้ว ประสบความผันผวนด้านราคาได้ Jitta Wealth ได้รับอนุญาตให้บริหารจัดการกองทุนเพื่อช่วยผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายด้านการเงินผ่านการ ลงทุนในสินทรัพย์ประเภท หุ้นโดยไม่มีเจตนาแนะนำความเหมาะสมของกลยุทธ์การลงทุนใดๆ แก่ผู้ลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงเป้าหมายการลงทุนส่วนตัว และค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ Jitta Wealth ก่อนลงทุน
“Jitta Wealth” เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจิตตะ เวลธ์ จำกัด